เปิดใจทีมแพทย์ ผู้ใช้ "นิ้วเท้าซ่อมมือ" ให้เด็กวัย 7 ขวบ

สังคม
7 ก.ย. 62
09:40
10,420
Logo Thai PBS
เปิดใจทีมแพทย์ ผู้ใช้ "นิ้วเท้าซ่อมมือ" ให้เด็กวัย 7 ขวบ
ไทยพีบีเอสออนไลน์ เปิดใจ นพ.วิชิต ศิริทัตธำรง ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ผู้สร้างองค์ความรู้ในการผ่าตัดใช้ "นิ้วเท้าสร้างนิ้วแม่มือ" ได้สำเร็จให้กับเด็กวัย 7 ขวบที่ถูกสุนัขกัดนิ้วขาด แต่เกิดปัญหานิ้วติดเชื้อจนต้องมองหานิ้วใหม่

กรณีผู้ใช้เฟชบุ๊ก "Dr.Wichit - Chularat3 Hospital" โพสต์ข้อความและภาพผลการผ่าตัดการย้ายนิ้วเท้ามาสร้างนิ้วหัวแม่มือให้เด็ก อายุ 7 ขวบได้สำเร็จ หลังจากมีการต่อจากนิ้วที่ขาดแล้วเกิดปัญหา เกิดการอุดตันของเส้นเลือด จนไม่สามารถจะฟื้นกลับมาได้ จึงใช้การนำนิ้วเท้าที่ 2 ขึ้นมาต่อให้ โดยไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ นพ.วิชิต ศิริทัตธำรง ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ (กระดูกและข้อ) โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 3 อินเตอร์ ผู้สร้างความตะลึงในวงการแพทย์ด้วยการการผ่าตัด ใช้นิ้วเท้าสร้างนิ้วมือ ได้สำเร็จ

ความยากง่ายของการผ่าตัดครั้งนี้

กรณีการผ่าตัดเด็ก 7 ขวบถูกสุนัขกัดจนนิ้วหัวแม่มือขาด และเข้าไปรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง แต่เนื่องจากบาดแผลที่ถูกตัด โอกาสที่จะเสี่ยงติดเชื้ออักเสบสูงมาก และหมอส่วนใหญ่มักจะไม่ต่อเพราะเสี่ยงล้มเหลว แต่อาจารย์หมอท่านแรกก็ตัดสินใจต่อนิ้วให้เด็ก ปรากฎหลังต่อนิ้วเสร็จ นิ้วเริ่มลอก ปรากฎว่า 2-3 วันต่อมาและมีอาการเส้นเลือดอุดตัน ซึ่งเกิดจากการอักเสบของแผล เพราะเส้นเลือดเด็กจะมีขนาดเล็กมากไม่ถึง 0.7-0.8 มิลลิเมตร เวลาเกิดอักเสบก็จะเกิดการอุดตัน

เพราะการต่อนิ้ว จะต่อจากเส้นเลือด เส้นเอ็น เส้นประสาท เพราะเส้นเลือดเพราะทำให้นิ้วมีชีวิตจากการมีเลือดไปหล่อเลี้ยง พอเส้นเลือดตันนิ้วก็ขาดเนื้อเยื่อ ขาดออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อก็ตาย

การพูดคุยอาจารย์หมอสงสารเด็ก อยากให้เข้าไปช่วย แมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้ปกครองของเด็กว่าต้องสร้างนิ้วมือจากที่ไม่มี และขั้นตอนการผ่าตัด แม่เด็กสนใจหรือไม่ จากนั้นจึงวางแผนและไปช่วยผ่าตัดที่โรงพยาบาล


วิธีการผ่าตัดย้ายนิ้วเท้าสู่นิ้วโป้ง

การผ่าตัดย้ายนิ้วเท้ามายังมีความเสี่ยงมาก ไม่ใช่แค่ไปตัดนิ้วเท้าแล้วนำมาต่อ แต่ต้องเลาะเส้นเลือด เส้นเอ็น เส้นประสาท ของนิ้วเท้า และเตรียมเส้นเลือดและนำมาต่อกับเส้นเอ็น เส้นเลือด และเส้นประสาทของนิ้วที่ขาดซึ่งการผ่าตัดทำภายใต้กล้องจุลทรรศน์ และต้องมีเครื่องมือที่ออกมาเพื่อใช้พิเศษสำหรับจัลกล้อง ต้องมีไหมเย็บเส้นไหมที่เล็กกว่าขน

ความยากคือการต่อเส้นเลือดที่มีขนาดเล็กกว่ารูเข็ม ต้องไม่ให้เกิดการอุดตัน เพราะจะทำให้นิ้วเสีย เป็นเดิมพันค่อนข้างสูง เพราะเด็กเสียนิ้วหัวแม่โป้งแล้ว ถ้าตัดย้ายนิ้วเท้าและเกิดความสูญเสียอีกครั้ง เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ 

นพ.วิชิต บอกว่า คนไข้มาหาเราครั้งที่ 2 เขาเหลือ 19 นิ้ว ถ้าพลาดและล้มเหลวคือเหลือแค่ 18 เป็นสิ่งที่รับไม่ได้ ทั้งรับไม่ได้ รวมทั้งตัวญาติ และหมอที่ผ่าตัด ในรายนี้ต้องเตรียมการเป็นอย่างดี ทีมห้องผ่าตัด เครื่องมือการแพทย์ และการดูแลภายหลังการผ่าตัดเพื่อให้เด็กใช้นิ้วได้หลังการผ่าตัด

เหตุผลที่เลือกนิ้วเท้าที่ 2 มาต่อนิ้วโป้ง


เลือกนิ้วเท้าที่ 2 ด้านซ้ายเพราะมีขนาดใกล้เคียงกับนิ้วหัวแม่มือ และถ้าเราไปเอานิ้วเท้าจะต้องไม่ทำให้เท้า มีปัญหาทั้งรูปร่าง และการใช้งาน ต้องมีผลกระทบน้อยที่สุด เพราะนิ้วหัวแม่เท้าสำหรับเด็กเป็นสิ่งจำเป็น เพราะเวลาเดิน วิ่งต้องใช้เป็นจุดสปริงเวลาวิ่งเร็วๆ ถ้าวิ่งเร็วจะมีอาการกะเผลก เดินลำบาก และเท้าคนเราธรรมชาติเอาไว้เดิน ถ้านำนิ้วมาแล้วไม่กระทบการเดิน จึงเลือกนิ้วที่ 2 แต่ต้องตัดแต่งง่ามนิ้วให้แคบและใกล้เคียงธรรมชาติ

เด็กคนนี้จะมีขนาดเท้าอีกข้างที่เล็กกว่าอีกข้างหนึ่งประมาณ 1 เซนติเมตร ถ้าซื้อรองเท้ามาเบอร์เดียวกันจะหลวมนิดหน่อยเท่านั้น แต่ไม่ส่งผลกรtทบในการใช้ชีวิต
ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

ผลผ่าตัด-การใช้งาน

โดยการผ่าตัดครั้งนี้ใช้เวลานาน 5 ชั่วโมง และเป็นเคสที่ทำมาแล้ว 2 ปี แต่ที่นำมาเผยแพร่ เพื่อให้หมอและประชาชนที่สนใจว่าถ้าเจอลักษณะนี้จะจัดการอย่างไร ซึ่งปกติแล้วเด็กผ่านการผ่าตัดแล้วเด็กจะพักฟื้นประมาณ 1 สัปดาห์


ขณะนี้ผ่านการประเมินมาแล้วพบว่าการใช้งานดีมาก โดยพบว่ามีการเคลื่อนไหวของข้อได้ดี   การหยิบจับมีกำลัง และความรู้สึกสัมผัส ซึ่งผ่านการประเมินทั้งหมด

ปัจจุบันถึงแม้จะยังไม่ได้ติดตามด้วยตัวเอง แต่ทางทีมแพทย์ จากโรงพยาบาลเดิม เขายังประเมินอยู่ 

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

คำแนะนำถ้าเจอนิ้วขาด ต้องส่งถึงหมอกี่ชม.

ทั้งนี้แพททย์ แนะนำว่าเบื้องต้นสำหรับผู้ที่นิ้วขาด โดยระบุว่า เนื่องจากนิ้วเป็นส่วนที่ไม่มีกล้ามเนื้อ ถ้าเก็บนิ้วที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และนำนิ้วที่ขาดใส่ในถุงพลาสติกที่แห้ง และแช่ในน้ำที่มีน้ำแข็งผสมอยู่ การเก็บแบบนี้จะเก็บได้นานถึง 24 ชั่วโมง และส่วนตอนิ้วที่ขาด ต้องห้ามเลือดไม่ให้เลือดไหลออกมาก หลังจากนั้นถ้าดูแลนิ้วส่วนที่ขาด ห้ามเลือดแล้วให้รีบติดต่อโรงพยาบาลใกล้บ้าน และขอคำแนะนำว่ามีแพทย์ที่เชี่ยวชาญหรือมีศักยภาพในการรักษาทางด้านนี้ เพราะแพทย์การผ่าตัดกระดูกไม่ได้มีประจำในทุกโรงพยาบาล

หลังจากนิ้วถูกตัดออกจากกัน ภายใน 24 ชั่วโมงต้องรีบต่อทันที เพราะนิ้วต้องมีเลือดไปเลี้ยงให้กัน ไม่เช่นนั้นเนื้อเยื่อจะตาย

การต่อนิ้วเท้าเรามองเรื่องประโยชน์การใช้สอยเป็นหลัก เพราะไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ ยกเว้นนิ้วหัวแม้เท้า ที่จะมีผลต่อการเดิน เพราะนิ้วเท้าต่อยากกว่านิ้วมือ

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

ภาพ :Dr.Wichit - Chularat3 Hospital

คนมักถามว่าใช้นิ้วคนอื่นมาต่อได้หรือไม่

นพ.วิชิต กล่าวว่า มีคนถามมาบ่อยๆว่าการที่จะย้ายเนื้อเยื่อของอื่นมาหาเราได้หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่คนมักจะรับรู้ว่ากรณีเปลี่ยนถ่าย ไต หัวใจ เป็นการเปลี่ยนเพื่อรักษาชีวิตจำเป็น แต่เนื้อเยื่อจะต้องเข้ากันใกล้เคียงกันมากที่สุด ที่สำคัญคือคนไข้ที่เปลี่ยนไต หัวใจ จะต้องกินยากดภูมิคุ้มกันตลอดชีวิต ซึ่งถือว่าคุ้มกับการต่อชีวิต แต่ถ้าเป็นนิ้วมือ ที่ไม่ใช่ของตัวเราเอง ร่างกายจะปฏิเสธเนื้อเยื่อ ที่สุดเนื้อจะเน่าและตาย แพทย์ไม่ควรทำอย่างยิ่ง 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สุดทึ่ง! หมอกระดูกใช้ “นิ้วเท้า” สร้าง “นิ้วมือ”สำเร็จ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง