ตะลึง! สารเคมีอันตรายเกลื่อนป่าต้นน้ำภูผาเหล็ก

สิ่งแวดล้อม
22 ต.ค. 62
13:59
1,243
Logo Thai PBS
ตะลึง! สารเคมีอันตรายเกลื่อนป่าต้นน้ำภูผาเหล็ก
กรมอุทยานฯ เจอสารเคมีอันตรายรุกถึงป่าต้นน้ำชั้น 1,2 เขตภูผาเหล็ก จ.สกลนคร พบทิ้งเกลื่อนป่าสวนยางพารา แถมขุดบ่อซีเมนต์ผสมยาฉีดพ่น ไหลลงลำธารกองรวมในแหล่งน้ำ เตือนห้ามนำเข้าสารเคมีเข้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ผิดกฎหมาย ตามมาตรา 16

วันนี้ (22 ต.ค.2562) ไทยพีบีเอสออนไลน์สัมภาษณ์ นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (สบอ.) จ.อุดรธานี กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เผยแพร่คลิปความยาวเกือบ 3 นาที ที่ชี้ให้เห็นถึงปัญหาสารเคมีอันตรายที่ตรวจพบในพื้นที่บุกรุก 

โดยระบุว่า จากการปฎิบัติการทวงคืนผืนป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ที่อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก จ.สกลนคร เจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบการใช้สารเคมีอันตรายคือ ไกลโฟเซต สารกำจัดวัชพืช 1 ใน 3 สารเคมีอันตรายที่มีส่วนกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง  

พื้นที่สวนยางพาราที่ตรวจยึดประมาณ 3 แปลงพื้นที่ 40 ไร่ในเขตป่าลุ่มน้ำต้นน้ำชั้น 1 และ 2 เป็นของนายทุนที่จ้างคนงานมาเฝ้า และฉีดยาฆ่าหญ้า จุดหนึ่งที่ทิ้งถังสารเคมีขนาด 5 ลิตร กระจาย 3-4 จุดๆล 10 แกลลอน
ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

 

นายชัยวัฒน์ กล่าวอีกว่า สิ่งที่น่าตกใจกว่า คือทั้งหมดทุกแปลงตามร่องห้วยขนาดเล็กๆ ที่มีน้ำซับในแปลงสวนยางจะไหลไปรวมตามแก่ง และไหลลงแหล่งน้ำด้านล่าง พบว่ามีการขุดบ่อซีเมนต์ 3 รองละ 40 เซนติเมตร ประมาณ 1.20 เมตร เพื่อดักรองน้ำที่ไหลเข้าในบ่อซึม จากนั้นจะเอาสารเคมีเทลงในถังปูนนี้ ไม่ต้องเติมน้ำ และใช้เครื่องสูบฉีดยาฆ่าหญ้าไปในแปลงสวนยาง

สิ่งที่แย่กว่าน้ำที่ล้นออกจากบ่อซีเมนต์ที่ล้นออกมาจะไหลเอ่อลงมาตามลำธารเล็กๆที่ไหลลงสู่ด้านล่างชุมชนเป็นน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี ซึมไปใต้ดิน และพบว่าแหล่งน้ำแทบจะไม่มีปลา 
ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

ห้ามนำเข้าสารเคมีเข้าป่าอนุรักษ์

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาทาง สบอ.10 ได้ลงพื้นที่ทำความเข้าใจชาวบ้าน และแกนนำในชุมชน เพื่อให้รู้ถึงผลกระทบจ่ากการใช้สารเคมีอันตราย ซึ่งได้รับข้อมูลว่าส่วนใหญ่เจ้าของพื้นที่ จะจ้างคนมาดูแลแปลงยางแบบเหมาเป็นรายปี และคนที่มารับจ้างก็มักจะใช้สารไกลโฟเซต เพราะฉีดครัังหนึ่งจะอยู่ได้ 3-4 เดือน

เบื้องต้นได้มีการติดป้ายห้ามนำสารเคมีกำจัดวัชพืช และแมลงทุกชนิด ที่เป็นอันตรายต่อพืช และสัตว์เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ นำร่องแถวอุดรธานี อุบลราชธานี และสกลนคร

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่แปลงถือครองตามมติ ครม.30 มิ.ย.2541 หรือพื้นที่แปลงควบคุมที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ เพื่อป้องกันอันตราย และปนเปื้อนในแหล่งน้ำธรรมชาติ หากตรวจเจอจะมีความผิดตามมาตรา 16 มีโทษเปรียบเทียบปรับ 

ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

ภาพ: สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10

 

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการนำสารเคมีการเกษตรมาใช้ในเขตป่าอนุรักษ์อยู่แล้ว โดยเฉพาะป่าต้นน้ำ และลุ่มน้ำชั้น 1-2 มีความสำคัญต่อคนกลางน้ำ และปลายน้ำถ้าป่าที่เก็บกักเก็บ น้ำฝนถ้าสะอาดก้ปลอดภัย

เราไม่เห็นด้วยที่จะให้นำสารเคมีทางเกษตรกรทุกชนิดเข้าไปใช้ในพื้นที่ เพราะไม่ใช่แค่สัตว์บนดิน แต่สัตว์ใต้ดิน และไม้พื้นล้าง ไม้คลุมดินมันจะหมด ถ้ามีสารตกค้าง

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เช็กเสียง! โค้งสุดท้ายคณะกรรมการวัตถุอันตราย "ไม่แตกแถว"

ไทม์ไลน์สู่เส้นทางแบน 3 สารเคมีเกษตร

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง