กทม.เสี่ยงสุดคาดการณ์ติดเชื้อ COVID-19 ทะลุ 2 หมื่นคน

สังคม
19 มี.ค. 63
11:02
31,929
Logo Thai PBS
 กทม.เสี่ยงสุดคาดการณ์ติดเชื้อ COVID-19 ทะลุ 2 หมื่นคน
สมาคมอุรเวชช์ ประเมินความเสี่ยงคนไทยป่วยไวรัสโคโรนา 1 คนแพร่เชื้อได้เฉลี่ย 1.6 คน คาดเดือน เม.ย.63-มี.ค.64 ยอดป่วยทะลุ 2 แสนคน ระบุ กทม.เสี่ยงสุดผู้ป่วยร้อยละ 50 ต้อง คาดเลวร้ายสุดมีผู้ติดเชื้อ COVID-19 ทะลุ 20,000 คน ต้องเตรียมเตียงเบื้องต้น 1,000 เตียง

กรณีพบแนวโน้มพบแนวโน้มผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในประเทศไทยมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข แถลงว่าเมื่อวานนี้ (18 มี.ค.) แลประเทศไทยไทยมีผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 35 คน รวมยอดสะสม 212 คน และมีผู้ป่วยในเกณฑ์เฝ้าระวังอีก 7,546 คน จำนวนนี้กลับบ้านแล้ว 4,789 คน และอยู่โรงพยาบาล 2,757 คน

วันนี้ (19 มี.ค.2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้โพสต์ข้อมูลเรื่องการคาดการ์ผู้ป่วยไวรัสโคโรนา (COVID-19) ในประเทศไทย ด้วยสมมติฐานดังนี้

• ประเทศไทยอยู่ในระยะที่คนติดเชื้อโควิด-19  โดย 1 คน แพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้ 1.6 คน ดังนั้นในช่วงเดือนเม.ย.2563- มี.ค.2564 จะมีผู้ติดเชื้อในไทย 200,000 คน

• สภาพอากาศยอดจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยในเดือนมิ.ย.-ถึงส.ค.นี้ และช่วงเดือนพ.ย.2563 -ม.ค. 2564

• นับจากนี้เมื่อได้รับเชื้อไปแล้วจะมีผู้ที่แข็งแรงดี ไม่แสดงอาการหรือยังไม่แสดงอาการหรือมีอาการน้อย 80% อีก 20% จะเป็นผู้ที่แข็งแรงดีหรือมีปัจจัยเสี่ยงแต่ป่วย

• การป่วยจะรุนแรงน้อย 80% ปานกลาง 15% และรุนแรงมาก 5%

คาดต้องใช้เตียงรองรับ 2 หมื่นเตียง

นับจากนี้ผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยจะอยู่ในกรุงเทพฯ 50% จากมาตรการปิดกรุงเทพฯ ที่เหลือกระจายอยู่ในเขตบริการสุขภาพทั่วประเทศอีก 12 เขต แบ่งระดับโรงพยาบาลที่ใรักษาผู้

ป่วยเป็น 3 ระดับคือ

  • ระดับ 3 มีสถานที่ป้องกันเชื้อและอุปกรณ์ช่วยชีวิตประสิทธิภาพสูง ดูแลผู้ป่วยรุนแรงมาก 5% 
  • ระดับ 2 มีสถานที่ป้องกันเชื้อและอุปกรณ์ช่วยชีวิตประสิทธิภาพปานกลาง ดูแลผู้ป่วยปานกลาง 15%
  • ระดับ 1 มีสถานที่ป้องกันเชื้อและอุปกรณ์ช่วยชีวิตประสิทธิภาพน้อย ดูแลผู้ป่วยรุนแรงน้อย 80%

เมื่อนำการคาดการณ์จำนวนคนติดเชื้อ จำนวนคนป่วย และจำนวนเตียงรับผู้ป่วยได้ในกรุงเทพฯ จะเป็นดังแบบจำลอง โดยมีสมมติฐานว่าการระบาดในช่วง เดือนมี.ค.63-มี.ค.64 ในกทม.จะมีผู้ติดเชื้อราว 20,000 คน จำนวนนี้แบ่งเป็นป่วยน้อย รวม 16,000 คน ป่วยปานกลาง 3,000 คน และป่วยมาก 1,000 คน ดังนั้นหากเทียบการเตรียมเตียง ต้องมีดังนี้ 

ระดับ 1 เดือน มี.ค.-5 เม.ย. 200 เตียงช่วงวันที่  6-13 เม.ย.จำนวน 1,000 เตียง 14-30 เม.ย.จำนวน 1,500 เตียง เดือนพ.ค.จำนวน 3,200 เตียง เดือนมิ.ย.จำนวน 2,800 เตียง เดือนก.ค.จำนวน 1,600 เตียง 

ภาพ:สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภาพ:สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภาพ:สมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

 

ขณะที่เมื่อวานนี้ (18 มี.ค.) นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สถานการณ์การระบาดในไทย กลุ่มผู้ป่วยเฝ้าระวัง จำนวน 7,546 คนนั้น กลับบ้านแล้ว 4,755 คน และอยู่ในโรงพยาบาล 2,027 คน เพราะรอผลแลบออก ทั้งนี้ยอมรับว่า ถึงจะมีการคัดกรองอย่างเข้มข้นจาก แต่พบสัญญาณบางอย่างที่มีความเสี่ยง ที่จะมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รัฐบาลให้ความสำคัญจึงมีมาตรการ 6 ด้านออกมา

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง 

จับตา! หมอชี้ไทยมีสัญญาณเสี่ยงป่วย COVID-19 เพิ่มขึ้นเร็ว

ข่าวดี! นักวิจัยไทยพัฒนาชุดตรวจ COVID-19 รู้ผลภายใน 45 นาที

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง