คนโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตช่วง COVID ทะลุ 600 สาย

สังคม
22 เม.ย. 63
14:10
3,835
Logo Thai PBS
คนโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตช่วง COVID ทะลุ 600 สาย
รมช.สาธารณสุข เผยเดือน มี.ค.มีผู้ใช้บริการสายด่วนสุขภาพจิตมากถึง 600 สาย ส่วนใหญ่มีความเครียดและวิตกกังวลสถานการณ์ COVID-19 พร้อมเปิดคู่สายรับฟังบุคลากรการแพทย์โดยเฉพาะ ขณะที่อธิบดีกรมสุขภาพจิตขอประชาชนอย่าตีตราผู้ป่วย เพราะเป็นการสร้างความเครียดมากขึ้น

วันนี้ (22 เม.ย.2563) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แถลงสถานการณ์ COVID-19 เรื่องสุขภาพจิตประชาชนและบุคลากรสาธารณสุข โดยนายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 พบว่า มีผู้โทรศัพท์เข้าใช้บริการสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพิ่มขึ้นกว่าปกติ จากเดือน ม.ค.-ก.พ.มีเพียง 20-40 สาย แต่เดือน มี.ค.มีมากถึง 600 สาย และในเดือน เม.ย.ซึ่งยังไม่ถึงสิ้นเดือน มีคนโทรเข้ามาปรึกษาแล้ว 315 สาย

สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข

สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข

สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข

 

เมื่อแยกสาเหตุการโทรเข้ามาปรึกษา พบว่า มีความเครียด-วิตกกังวล มากที่สุด 51.85% รองลงมาคือผู้ป่วยจิตเวชเดิม 37.99% และโทรเข้ามาถามข้อมูลทั่วไป 6.57% ซึ่งผู้โทรเข้ามาปรึกษาเป็นผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเพียงเล็กน้อย

นอกจากนี้ กรมสุขภาพจิตยังได้เปิดคู่สายเพื่อรับฟังบุคลากรทางการแพทย์โดยเฉพาะ 43 หมายเลข และมีการดำเนินการในเชิงรุกคือ โทรหากลุ่มเป้าหมายเพื่อสอบถามอาการแทนการรอให้กลุ่มเสี่ยงโทรเข้ามา อีกทั้งยังจัดทำคู่มือดูแลสังคมและจิตใจในภาวะ COVID-19 คือ "4 สร้าง 2 ใช้" ได้แก่ สร้างความปลอดภัย สร้างความสงบ ส้รางความหวัง สร้างความเห็นใจ ใช้พลังให้เต็มศักยภาพ และใช้สายสัมพันธ์สร้างความเข้มแข็ง

กรมสุขภาพจิตชี้ "การตีตรา" ทำให้เครียด

ขระที่ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ระบุว่า ปัญหาทางสุขภาพจิต เกิดขึ้นหลังจากการแพร่รระบาด ช่วง 1-2 เดือนจะเกิดปรากฏการด้านสุขภาพจิต ทั้งปัญหาด้านจิตใจ ปัญหาโรคจิตเวช รวมถึงความเครียดจากปัญหาเศรษฐกิจ และสุดท้ายคือภาวะหมดไฟ คือความเหนื่อยล้าจากการต่อสู้กับความกดดันมาอย่างยาวนาน แม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยจะสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้จากมาตรการต่างๆ ได้บ้างแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กำลังทำให้ประชาชนมีความเครียดเพิ่มขึ้นจากภาวะปกติมาก

ซึ่งกรมสุขภาพจิตสำรวจความเครียดคนไทย 3 ครั้ง พบว่า เฉลี่ยแล้วมีคนเครียดมากและเครียดรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ แต่การสำรวจครั้งที่ 3 พบว่ามีคนเครียดน้อยเพิ่มขึ้น แสดงให้เห็นว่าคนไทยเริ่มปรับตัวได้บ้างแล้ว

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต

 

แต่สิ่งที่ทำให้คนเครียดมากในช่วงนี้คือ "การตีตรา" ซึ่งถือเป็นประเด็นที่สำคัญ เช่น ผู้ป่วยหายแล้วเมื่อกลับบ้านกลับมีการตีตรา กลัวว่าจะแพร่เชื้อ รวมไปถึงบุคลากรการแพทย์ที่ใส่ชุดวิชาชีพไปตลาด แต่ถูกรังเกียจ สิ่งเหล่านี้กรมสุขภาพจิตจะต้องดูแลและกระตุ้นสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น เพราะการตีตราจะทำให้เกิดความเครียดมาก

ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตพัฒนาแอปพลิเคชัน Mental Health Check Up เพื่อประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น และเมื่อประเมินแล้วจะมีคำแนะนำเบื้องต้นให้ปฏิบัติตาม แต่หากพบว่ามีเกณฑ์ความเสี่ยงสูง ก็สามารถปรึกษาสายด่วน 1323 ได้ทันที

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศบค.เผยหมอ-ประชาชนเครียดหนักจากโรคร้อยละ 5-6

WHO เปิดใจ "พยาบาล" รับผู้ป่วย COVID-19 คนแรกของไทย

ข่าวดี! ไทยมีผู้ติด COVID-19 เหลือ 15 คนในรอบ 1 เดือน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง