เช็กอาการ "โควิดเดลตา" คล้ายหวัด-ไม่สูญเสียการรับรส

สังคม
23 มิ.ย. 64
11:48
100,604
Logo Thai PBS
เช็กอาการ "โควิดเดลตา" คล้ายหวัด-ไม่สูญเสียการรับรส
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานไทยพบ COVID-19 สายพันธุ์เดลตาสะสม 661 คน และมีแนวโน้มมากขึ้น ขณะที่สสส.ระบุอาการของเดลตา ผู้รับเชื้อจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด และไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส

วันนี้ (23 มิ.ย.2564) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก Social Marketing Thaihealth by สสส.เผยแพร่ข้อมูลว่าหลังจากสถานการณ์ COVID-19 ที่พบเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย) มีแนวโน้มการระบาดมากขึ้นในไทย   

โดยระบุข้อความว่า เชื้อโควิดสายพันธุ์ต่างๆ อาจแสดงอาการป่วยคล้ายกัน เพียงแต่อาการเด่นที่ผู้ป่วยจะแสดงออกมาอาจต่างกัน อย่างโควิดสายพันธุ์เดลตา (เจอครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย) ผู้รับเชื้อจะมีอาการคล้ายเป็นหวัด คือ ปวดหัว เจ็บคอ มีน้ำมูก ไม่ค่อยพบการสูญเสียการรับรส คล้ายหวัดธรรมดา ดังนั้นหากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด ควรสังเกตตัวเอง หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์"

ขณะที่อาการของผู้ติดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) (B 1.1.7) ในช่วง 14 วันแรก คือ มีไข้ หนาวสั่น ไอ หายใจถี่หายใจลำบาก ปวดศีรษะ สูญเสียการได้กลิ่น เจ็บคอ มีน้ำมูก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย อาเจียน หรือท้องเสีย

พบสายพันธุ์เดลตาสะสม 661 คน 

ข้อมูลจากการแถลงข่าวของ นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า รายงานผลการเฝ้าระวังสายพันธุ์ COVID-19 กลายพันธุ์ตั้งแต่ เม.ย.-20 มิ.ย.นี้ พบสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ) จำนวน 5,641 ตัวอย่าง สายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย) จำนวน 661 ตัวอย่าง และสายพันธุ์เบตา (สายพันธุ์แอฟริกาใต้) จำนวน 38 ตัวอย่าง

พบสายพันธุ์เดลตา มีการพบเพิ่มในเขตสุขภาพที่ 4 จากเดิมจำนวน 40 คน เป็น 65  คน รวม 105 คน ส่วนเขตสุขภาพที่ 13 จากเดิม 404 คน เพิ่มอีก 87 คน รวมเป็น 491 คน

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ส่วนสายพันธุ์เบตา (สายพันธุ์แอฟริกาใต้) จากข้อมูลการเฝ้าระวังของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขณะนี้ยังพบในภาคใต้ จำนวน 38 คน โดยพบในเขตสุขภาพที่ 11 จำนวน 2 คน และเขตสุขภาพที่ 12 จากเดิม 28 คน เพิ่มอีก 5 คน รวม 33 คน

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

นพ.ยง ประเมิน 4-5 เดือนโควิด "เดลตา" แทนที่อัลฟา เหตุแพร่เร็ว 1.4 เท่า

เสียชีวิตสูงสุด 51 คน ติดโควิดเพิ่ม 3,174 คน

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง