ถามจริง ? "โบท็อกซ์รักแร้" ช่วยระงับเหงื่อ-กลิ่นตัวได้ด้วยหรือ

ไลฟ์สไตล์
19 เม.ย. 67
15:28
206
Logo Thai PBS
ถามจริง ?  "โบท็อกซ์รักแร้" ช่วยระงับเหงื่อ-กลิ่นตัวได้ด้วยหรือ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ในช่วงหน้าร้อน ปัญหาเหงื่อออกมากบริเวณรักแร้จนมีกลิ่นตัว สร้างความไม่สบายตัวและใจ ประกอบกับมีกระแสโซเชียลแชร์วิธีระงับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ด้วยการฉีดโบท็อกซ์ เรื่องนี้สถาบันโรคผิวหนังมีคำตอบให้

พญ.ศศธร สิงห์ทอง นายแพทย์ชำนาญการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ระบุว่าการฉีดโบท็อกซ์ลดเหงื่อเพื่อระงับกลิ่นนั้น สามารถช่วยได้จริง เนื่องจากโบท็อกซ์จะเข้าไปออกฤทธิ์ที่ต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ วิธีการฉีดจะแตกต่างจากบริเวณที่ฉีดลดริ้วรอย ถ้าฉีดลดริ้วรอยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อบนใบหน้า แต่การฉีดเพื่อลดเหงื่อ จะฉีดใต้ผิวหนังแทนบริเวณรักแร้ โดยใช้ปริมาณมากกว่าที่ใบหน้า เช่น 50-150 ยูนิตต่อข้าง อยู่ได้นานถึง 6 เดือนจนถึง 1 ปี ส่วนราคานั้นมีหลายระดับตามแต่ละยี่ห้อ

การฉีดโบท็อกซ์จะเป็นอีกทางเลือก สำหรับคนที่มีเหงื่อค่อนข้างมาก เมื่อฉีดไปแล้วใช้เวลาประมาณ 1 เดือนก็จะลดเหงื่อได้ระดับหนึ่ง
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ใครควรฉีดโบท็อกซ์ลดเหงื่อ

การฉีดโบท็อกซ์รักแร้เป็น "วิธีการรักษา" สำหรับคนที่มีเหงื่อออกเยอะมากจริงๆ หรือเป็นภาวะที่เรียกว่า Primary hyperhidrosis ซึ่งโบท็อกซ์เป็นอีกวิธีในการช่วยรักษาภาวะดังกล่าว แต่ในปัจจุบันมีการนำมาใช้ลดเหงื่อ เพราะอากาศร้อน เหงื่อออกเยอะ เมื่อเหงื่อมาก เชื้อแบคทีเรียต่างๆ ก็เจริญเติบโตได้ดี เป็นสาเหตของกลิ่นและหลายโรค ดังนั้น ถ้าเหงื่อลด แบคทีเรียลด ก็จะช่วยลดกลิ่นลงได้ แต่คนบางกลุ่มก็ไม่ควรฉีดโบท็อกซ์ เช่น หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ก่อนตัดสินใจควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังดีที่สุด

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ส่วนการเลเซอร์กำจัดขน ไม่ได้กำจัดต่อมเหงื่อต่างๆ ได้ แต่อาจช่วยลดเรื่องกลิ่นได้บ้าง เพราะแบคทีเรียที่หมักหมมบริเวณขนลดลง และยังสามารถใช้วิธีอื่นๆ ช่วยลดกลิ่นตัวแทนการฉีดโบท็อกซ์ได้อีก เช่น การใช้สารส้ม หรือส่วนประกอบของอะลูมิเนียม ซึ่งมีขายทั่วไป 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

สำหรับผู้ที่แพ้สารในโรลออนระงับกลิ่น จะทำให้ผิวแห้ง คัน เนื่องจากส่วนใหญ่แพ้น้ำหอมในผลิตภัณฑ์ ขอให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อหาสาเหตุและการรักษาที่เหมาะสม เนื่องจากผื่นอาจไม่ใช่แค่ผื่นแพ้ หรือผื่นอักเสบทั่วไป แต่อาจติดเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อยีสต์ เป็นต้น 

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

อ่านข่าวอื่น :

ข่าวที่เกี่ยวข้อง