25 เม.ย.2402 วันแรกเริ่มต้นขุด "คลองสุเอซ" ทางเชื่อมยุโรป-เอเชีย

ไลฟ์สไตล์
25 เม.ย. 67
12:22
175
Logo Thai PBS
25 เม.ย.2402 วันแรกเริ่มต้นขุด "คลองสุเอซ" ทางเชื่อมยุโรป-เอเชีย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
คลองฝีมือมนุษย์ขุดขึ้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์ เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง คั่นระหว่างทวีปแอฟริกาและทวีปเอเซีย คลองสุเอซก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2402-2412 ทำให้ย่นระยะการเดินเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮปไปได้ 6,400 กม. หรือ 8-10 วัน

คลองสุเอซ (The Suez Canal) อยู่ในประเทศอียิปต์ เชื่อมต่อระหว่างเมืองพอร์ตเซด ฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียนกับเมืองสุเอซ ฝั่งทะเลแดง มีความยาว 162 กม. กว้างประมาณ 60-300 ม. ใช้เวลาขุด 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 25 เม.ย.2502-2512 เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 17 พ.ย.2412 คลองสุเอซถูกออกแบบโดย แฟร์ดินานด์ เดอ เลซเซปส์ (Ferdinand de Lesseps) นักการทูตชาวฝรั่งเศส ได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลอียิปต์ในการดำเนินงาน และต่อมารัฐบาลอังกฤษเข้าซื้อหุ้นกรรมสิทธิ์ส่วนใหญ่ หลังจากที่อังกฤษได้อียิปต์เป็นดินแดนในอารักขาของตน ตอนปี พ.ศ.2425

จนกระทั่งวันที่ 26 ก.ค.2499 รัฐบาลอียิปต์ได้ประกาศให้คลองนี้ตกเป็นของรัฐ ทำให้รัฐบาลอังกฤษและฝรั่งเศส ประท้วงและเข้าแทรกแซงการดำเนินงานของคลอง ส่งผลให้มีการปิดคลองจนถึง พ.ศ.2500 ต่อมาเมื่อเกิดสงครามระหว่างอาหรับกับอิสราเอล อียิปต์ได้ปิดคลองสุเอซอีกครั้งหนึ่ง ระหว่าง พ.ศ.2510-2518

คลองสุเอซช่วยย่นระยะทางการเดินเรือระหว่างยุโรปกับเอเชียให้สั้นลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากไม่ต้องแล่นเรืออ้อมแหลมกู๊ดโฮป ทวีปแอฟริกาได้ถึง 6,400 กม. ใช้เวลาเดินเรือผ่านคลองประมาณ 13 ชั่วโมง

แหลมกู๊ดโฮป ใต้สุดของทวีปแอฟริกา

แหลมกู๊ดโฮป ใต้สุดของทวีปแอฟริกา

แหลมกู๊ดโฮป ใต้สุดของทวีปแอฟริกา

คลองสุเอซแบ่งเป็นส่วนเหนือและใต้ โดยมีทะเลสาบเกรตบิตเทอร์ (Great Bitter) อยู่ตรงกลาง ในช่วงแรกต้องมีที่กั้นน้ำ เพื่อให้เรือแล่นผ่านเข้าไปที่ละช่วง เนื่องจากน้ำทะเลทั้ง 2 ฝั่งมีระดับไม่เท่ากัน แต่ปัจจุบันที่กั้นน้ำถูกถอดออกไปแล้ว เพราะระดับน้ำทะเลทั้ง 2 ฝั่งใกล้เคียงกัน ปัจจุบันคลองสุเอซได้รับการปรับปรุง และเปิดให้เรือนานาชาติแล่นผ่านได้ตามปกติแล้ว นับเป็นคลองที่มีความสำคัญ ทางด้านการค้าและทางยุทธศาสตร์มาก แห่งหนึ่งของโลก

5 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "คลองสุเอซ"

แผนการขุดคลองมีมาตั้งแต่ยุคอียิปต์โบราณ แม้การขุดคลองสุเอซจะเสร็จสิ้นไปเมื่อ 155 ปีที่แล้ว แต่มีบันทึกทางประวัติศาสตร์ คาดว่าคลองสุเอซอาจถูกสร้างเสร็จในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราชในสมัยราชวงศ์ปโตเลมี และบุคคลในประวัติศาสตร์จำนวนมากรวมทั้ง "คลีโอพัตรา" ก็อาจเคยเดินทางด้วย แต่ในยุคสร้างคลองแรกๆ ขุดเพื่อเชื่อมระหว่างทะเลแดงและแม่น้ำไนล์

นโปเลียน โบนาปาร์ต เจ้าของไอเดียขุดคลองสุเอซ หลังพิชิตอียิปต์ได้ในปี พ.ศ.2341 ผู้บัญชาการทหารฝรั่งเศส "นโปเลียน โบนาปาร์ต" ได้ส่งทีมสำรวจเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ในการตัดคอคอดสุเอซ และสร้างคลองจากทะเลแดงไปจนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน แต่ต้องใช้การสำรวจพื้นที่ถึง 4 ครั้ง ถึงสามารถเริ่มแผนขุดคลองสุเอซได้ 

เทพีเสรีภาพเกือบได้อยู่ที่ปากคลองสุเอซ พ.ศ.2412 เมื่อคลองใกล้ขุดเสร็จ ประติมากรชาวฝรั่งเศส "เฟรเดอริก-โอกุสต์ บาร์โธลดี" พยายามโน้มน้าวให้บริษัทผู้ขุดคลองสุเอซ ยอมให้เขาสร้างประติมากรรมชื่อ "อียิปต์นำแสงสว่างสู่เอเชีย" ที่ทางเข้าเมดิเตอร์เรเนียน บาร์โธลดีจินตนาการถึงรูปปั้นหญิงสูง 90 ฟุต สวมชุดชาวนาอียิปต์ ถือคบเพลิงขนาดใหญ่ เปรียบเสมือนประภาคารสำหรับนำทางเรือเข้าไปในคลอง แต่โครงการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจริง แต่ บาร์โธลดี เก็บไอเดียนี้ไปทำให้เกิดขึ้นจริง ในปี 2429 แต่เป็นที่ท่าเรือนิวยอร์ก อนุสาวรีย์นี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า "เสรีภาพให้ความกระจ่างแก่โลก" หรือที่รู้จักในนาม "เทพีเสรีภาพ"

เทพีเสรีภาพที่นครนิวยอร์ก

เทพีเสรีภาพที่นครนิวยอร์ก

เทพีเสรีภาพที่นครนิวยอร์ก

วิกฤตการณ์สุเอซ อังกฤษที่รุกรานอียิปต์ได้อ้างถึงกรรมสิทธิ์ในคลองสุเอซมาอย่างยาวนาน จนในปี 2465 อียิปต์ได้รับเอกราช ชาวอียิปต์เริ่มไม่พอใจที่ทหารอังกฤษยังคงปักหลักอยู่บริเวณคลองสุเอซเพื่ออ้างกรรมสิทธิ์ผลประโยชน์ ในที่สุดความตึงเครียดก็ปะทุขึ้นในปี 2499 เมื่อ ปธน.กามาล อับเดล นัสเซอร์ แห่งอียิปต์ โอนสัญชาติ คลองสุเอซ มาเป็นของอียิปต์ อังกฤษ อิสราเอล และฝรั่งเศส ไม่พอใจ เปิดฉากโจมตีอียิปต์ แต่ต่อมาต้องถอนตัวด้วยความอับอาย เพราะถูกประณามจากสหรัฐฯ และ ภัยคุกคามจากนิวเคลียร์จากสหภาพโซเวียต

ยกเครื่องคลองครั้งใหญ่ การจราจรที่หนาแน่นขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ความกว้างของตคลองสุเอซเริ่มไม่ตอบโจทย์บริษัทเดินเรือสินค้า ในปี 2558 มีการขยายคลองเพื่อให้สามารถเดินเรือ 2 ทางได้ แต่การปรับปรุงดังกล่าวถือว่ายังไม่ประสบความสำเร็จ เมื่อในปี 2564 มีเหตุการณ์เรือบรรทุกสินค้า EVERGREEN ขนาด 1,300 ฟุตเข้าไปปิดกั้นเส้นทางในคลองเกือบ 1 สัปดาห์ ทำให้การค้าโลกหยุดชะงักครั้งใหญ่ 

ภาพสามมิติเมื่อเรือบรรทุกสินค้า EVERGREEN ติดขวางคลองสุเอซเมื่อปี 2564

ภาพสามมิติเมื่อเรือบรรทุกสินค้า EVERGREEN ติดขวางคลองสุเอซเมื่อปี 2564

ภาพสามมิติเมื่อเรือบรรทุกสินค้า EVERGREEN ติดขวางคลองสุเอซเมื่อปี 2564

การขุดคลองเดินเรือสมุทรในพื้นที่อื่นๆ 

การขุดคลองใหญ่ๆ นั้น เป็นการเชื่อมคลองโดยอาศัยโครงสร้างของคลองเดิมที่มีการขุดในแต่ละยุคสมัย ซึ่งคลองเหล่านี้สร้างรายได้ให้กับประเทศจากการเก็บค่าธรรมเนียมการผ่านทาง ผลประโยชน์จากการทำธุรกรรม การขนส่งสินค้าและคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งของคลองปานามา ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศปานามา ปัจจุบันมีการขุดคลองเดินเรือสมุทรแล้วรวมทั้งสิ้น 14 แห่งทั่วโลก ได้แก่

  1. ประเทศปานามา "คลองปานามา" เชื่อมระหว่าง มหาสมุทรแปซิฟิกกับทะเลแคริบเบียน
  2. ประเทศอียิปต์ "คลองสุเอซ" เชื่อมระหว่าง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดง
  3. ประเทศเยอรมนี "คลองคีล" เชื่อมระหว่าง ทะเลเหนือกับทะเลบอลติก
  4. ประเทศรัสเซีย "คลองระหว่างทะเลขาวกับทะเลบอลติค" เชื่อมระหว่าง ทะเลขาวกับทะเลบอลติก
  5. ประเทศโรมาเนีย "คลองระหว่างแม่น้ำดานูบและทะเลดำ" เชื่อมระหว่าง แม่น้ำดานูบกับทะเลดำ
  6. ประเทศเยอรมนี "คลองไรน์-ไมน์-ดานูบ" เชื่อมระหว่าง แม่น้ำไมน์กับแม่น้ำดานูบ
  7. ประเทศรัสเซีย "คลองวอลกา-ดอน" เชื่อมระหว่าง แม่น้ำวอลกากับแม่น้ำดอน
    เรือบรรทุกสินค้าในคลองปานามา

    เรือบรรทุกสินค้าในคลองปานามา

    เรือบรรทุกสินค้าในคลองปานามา

  8. ประเทศสหรัฐอเมริกา "คลองเดินเรือฮิวตัน" เชื่อมระหว่าง แผ่นดินฮิวสตันถึงอ่าวเม็กซิโก
  9. ประเทศสหราชอาณาจักร "คลองเดินเรือแมนเชสเตอร์" เชื่อมระหว่าง แผ่นดินแมนเชสเตอร์ถึงทะเลไอริช
  10. ประเทศแคนาดา "คลองเวลแลนด์" เชื่อมระหว่าง ทะเลสาบออนแทรีโอกับทะเลสาบอิรี
  11. ประเทศสหรัฐอเมริกา-แคนาดา "คลองเซนต์ลอว์เรนซ์ซีเวย์" เชื่อมระหว่าง เกรตเลกส์กับมหาสมุทรแอตแลนติก
  12. ประเทศจีน "คลองใหญ่" เชื่อมต่อแม่น้ำไห่เหอ แม่น้ำฮวงโห แม่น้ำหวยเหอ แม่น้ำแยงซี และแม่น้ำเฉียนถังเจียง
  13. สหราชอาณาจักร "คลองแคเลโดเนียน" เชื่อมระหว่าง ชายฝั่งทิศตะวันออกของอินเวอร์เนสส์กับชายฝั่งทิศตะวันตกของคอร์แพช
  14. ประเทศกรีซ "คลองคอรินท์" เชื่อมระหว่าง อ่าวคอรินท์กับอ่าวซาโรนิก
    เรือบรรทุกเครื่องบิน John F.Kennedy ขณะผ่านคลองสุเอซหลังเสร็จสิ้นภารกิจรบในตะวันออกกลาง

    เรือบรรทุกเครื่องบิน John F.Kennedy ขณะผ่านคลองสุเอซหลังเสร็จสิ้นภารกิจรบในตะวันออกกลาง

    เรือบรรทุกเครื่องบิน John F.Kennedy ขณะผ่านคลองสุเอซหลังเสร็จสิ้นภารกิจรบในตะวันออกกลาง

 ที่มา : History.com, มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน, สถาบันปรีดี พนมยงค์

อ่านข่าวอื่น :

อุกอาจ! ผู้ต้องหาคดียาเสพติดหนีระหว่างพาขึ้นศาล

ทองสวิงต่อเนื่อง เปิดตลาดบวก 200 บาท ลุ้นจีดีพีสหรัฐฯ Q1คืนนี้

ทส.ไฟเขียวตั้ง "ท้องถิ่น" จับลิงลพบุรี-ช่วยดับไฟป่า 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง