ย้อนรอย 38 ปี มรดกหายนะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ "เชอร์โนบิล"

ไลฟ์สไตล์
26 เม.ย. 67
13:25
261
Logo Thai PBS
ย้อนรอย 38 ปี มรดกหายนะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ "เชอร์โนบิล"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อุบัติภัย "เชอร์โนบิล" เมื่อ 26 เม.ย.2529 แสดงถึงผลพวงอันร้ายแรงที่ตามมา ความเสียหายระยะยาวต่อสุขภาพของคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม บาดแผลที่ยังมีอยู่และยังคงอยู่อีกยาวนานในอนาคต ผลกระทบที่มีมากกว่าการตายของคนหลายหมื่นคนและสุขภาพของคนอีกหลายแสนคน

การระเบิดเมื่อ 38 ปีก่อน

26 เม.ย.2529 โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ "เชอร์โนบิล" ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (ปัจจุบันคือพื้นที่ของประเทศยูเครน) เกิดระเบิดขึ้นที่เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์หมายเลข 4 สาเหตุเกิดจากพนักงานเดินเครื่อง ฝ่าฝืนกฎระเบียบด้านความปลอดภัย ไปปิดระบบหล่อเย็นของเครื่อง ทำให้ไม่สามารถควบคุมกำลังความร้อนของเครื่องได้

พนักงานเดินเครื่องที่ขาดความรู้และประสบการณ์ที่เพียงพอ รวมถึงการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ที่ผิดพลาด จึงนำไปสู่อุบัติเหตุเตาปฏิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดที่เลวร้ายที่สุดในโลก

ที่ตั้งของเชอร์โนบิล

ที่ตั้งของเชอร์โนบิล

ที่ตั้งของเชอร์โนบิล

การระเบิดทำให้เกิดผลกระทบร้ายแรงในหลายประเทศ เช่น เบลารุส รัสเซีย ยูเครน ฯลฯ จากปี 2529-2543 มีฝุ่นกัมมันตรังสีตกลงมาสู่พื้นที่ของเบลารุสถึงร้อยละ 60 ประชากรในเบลารุส รัสเซีย ยูเครนรวมกัน 350,400 คน ต้องอพยพออกมาจากพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสี มีประชาชน สิ่งแวดล้อมทั่วเชอร์โนบิลจำนวนมากได้รับรังสี โดยที่รัฐบาลไม่มีการแจ้งเตือนประชาชน และปฏิบัติตามแผนการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในทันที

ปริมาณสารกัมมันตรังสีที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากเชอร์โนบิลมีจำนวนมากหลายร้อยเท่า เมื่อเทียบกับการระเบิดนิวเคลียร์ที่ฮิโรชิมะและนางาซากิรวมกันเมื่อปี 2488 ถือเป็นอุบัติเหตุของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ร้ายแรงในประวัติศาสตร์ 

ปิดข่าว ปิดหูปิดตาประชาชน

หลังเกิดการระเบิด เมือง Pripyat ที่สร้างเป็นแหล่งที่พักคนงานที่ทำงานในเชอร์โนบิล ไม่ได้สั่งอพยพชาวเมืองในทันที พวกเขายังใช้ชีวิตปกติ ไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้นแม้แต่น้อย แต่ภายในไม่กี่ชั่วโมงของการระเบิด หลายสิบคนเริ่มล้มป่วยลง ด้วยอาการปวดหัวอย่างรุนแรงและรู้สึกถึงรสชาติของโลหะในปาก พร้อมกับการไอและอาเจียนไม่หยุด 

บางคนก็เฉลิมฉลองงานแต่งงาน บางคนทำสวน ส่วนคนอื่นๆ ก็ไปตกปลาในแม่น้ำ

ถ้อยคำสุดท้ายของ Vasyl Durdynets รมว.กิจการภายในของยูเครนที่บอกต่อ Valentyna Shevchenko ประธานคณะกรรมการบริหารของสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตในยูเครน 

จนกระทั่งวันที่ 28 เม.ย.2529 มีการเตือนภัยระดับรังสีที่สูงเป็นอันตรายจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Forsmark ในประเทศสวีเดน ซึ่งห่างจากโรงงานเชอร์โนบิลกว่า 1,000 กม. (620 ไมล์) โซเวียตถึงยอมรับกับสาธารณชนว่า เกิดอุบัติเหตุที่เชอร์โนบิลขึ้น

มีการแถลงข่าวเป็นเวลาเพียง 20 วินาทีในรายการข่าวโทรทัศน์รัฐบาลโซเวียต แต่ก็มากพอที่ทำให้คนทั้งโลกได้เห็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนั้น แร่ยูเรเนียมราว 190 ตัน ซึ่งเป็นจำนวนร้อยละ 30 ที่มีอยู่ในโรงไฟฟ้าพลังงานเชอร์โนบิลได้ลอยสู่อากาศ รัฐบาลโซเวียตอพยพคนกว่า 335,000 คน และประกาศให้พื้นที่ 30 กม.รอบเตาปฏิกรณ์ให้เป็นเขตห้ามเข้า

เมือง Pripyat ที่ถูกทิ้งให้ร้าง

เมือง Pripyat ที่ถูกทิ้งให้ร้าง

เมือง Pripyat ที่ถูกทิ้งให้ร้าง

มีผู้เสียชีวิต 30 คน โดยเป็นผู้ที่เสียชีวิตในที่เกิดเหตุจากอาการบาดเจ็บ 2 คน และจากการได้รับรังสีสูง 28 คน นอกจากนี้ยังมีผู้ที่ได้รับรังสีสูง เนื่องจากการปฏิบัติงานขจัดการปนเปื้อนในพื้นที่เป็นจำนวน 237 คน จากผลการสำรวจขององค์กรอนามัยโลก (WHO) พบว่ากลุ่มผู้อพยพมีอัตราการเกิดโรงมะเร็งต่อมไทรอยด์สูงขึ้น แต่ไม่ร้ายแรงและสามารถรักษาอาการให้หายขาดได้

นักวิจัยจากทั่วโลกคาดการณ์ว่า คนราว 4,000 คนได้รับรังสีในระดับสูง อาจเป็นมะเร็ง ในขณะที่อีก 5,000 คนได้รับกัมมันตรังสีต่ำ แต่ก็อาจพบเจอกับชะตากรรมเดียวกัน แต่ผลกระทบต่อจิตใจนั้นรุนแรงกว่าและส่งผ่านสู่คนรุ่นต่อมาจนปัจจุบัน 

นอกจากนี้ ยังพบเอกสารลับแสดงให้เห็นว่ากระทรวงสาธารณสุขโซเวียตสั่งแพทย์ให้วินิจฉัยบิดเบือนกับอาการป่วยที่ผู้ป่วยได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตรังสี โดยบอกกับประชาชนว่าอาการป่วยมาจากโรค Vegetovascular dystonia ที่มีอาการใจสั่น เหงื่อออก ตัวสั่น คลื่นไส้ ความดันโลหิตต่ำหรือความดันโลหิตสูง โรคประสาท เกร็งและชัก ภายหลังจึงพบความจริงว่ามีผู้ป่วยถึง 17,500 คนที่ถูกวินิจฉัยให้ผิดพลาดโดยเจตนา 

หลังจากที่ได้มีการขจัดการปนเปื้อนในพื้นที่แล้ว มีการกลับมาเดินเครื่องใหม่ของเตาปฏิกรณ์เชอร์โนบิลหมายเลข 1-3 เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งปี 2543 ได้หยุดการเดินเครื่องของเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด ถือเป็นการปลดระวางโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลอย่างแท้จริง สิ่งที่หลงเหลือคือโครงสร้างโลหะขนาดใหญ่ในพื้นที่รกร้าง คาดการณ์ว่าจะสามารถกลับเข้าไปใช้พื้นที่ได้ในปี พ.ศ.2608

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล

กัมมันตรังสีกระจาย-สิ่งแวดล้อมกระทบ

สารกัมมันตรังสีที่กระจายจากแรงระเบิดจำนวนมาก ลอยไปยังเทือกเขาแอลป์ เทือกเขาเวลส์และที่ราบสูงสก็อต ทำให้เกิดน้ำฝนกัมมันตรังสี ตกสู่พื้นดิน แหล่งน้ำไหลไปทั่ว ยิ่งทำให้สารอันตรายดังกล่าวกระจายไปทั่วพื้นที่หลายแห่ง ในสวีเดนและนอร์เวย์ก็ได้รับฝุ่นผงอย่างหนักจากอากาศที่ปนเปื้อน เกษตรกรในนอร์เวย์ต้องใช้อาหารที่มั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อนของรังสีเลี้ยงสัตว์กว่า 18,000 ตัว เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์

4 ตร.กม.ของป่าสนรอบเชอร์โนบิลถูกเปลี่ยนให้เป็นสีน้ำตาลแดงและยืนต้นตายในที่สุด จนถูกเรียกว่า "ป่าสีแดง" สัตว์บางชนิดในพื้นที่ตายหรือหยุดการแพร่พันธ์ สัตว์ท้องถิ่นถูกย้ายออกนอกพื้นที่ปนเปื้อน ที่เยอรมนีในปี 2553 หมูป่าจำนวน 440,350 ตัวที่ถูกฆ่าในฤดูล่าสัตว์ มากกว่า 1000 ตัวถูกพบว่ามีการปนเปื้อนของรังสีในระดับเกินขีดมาตรฐาน ซึ่งเป็นกัมมันตภาพรังสีตกค้างจากเชอร์โนบิล 

หมาป่าที่อาศัยอยู่รอบๆ เชอร์โนบิล

หมาป่าที่อาศัยอยู่รอบๆ เชอร์โนบิล

หมาป่าที่อาศัยอยู่รอบๆ เชอร์โนบิล

ผลกระทบจากภัยพิบัติสำหรับผู้คนและสิ่งแวดล้อม ถูกตีพิมพ์เป็นวารสารวิชาการในปี 2552 โดยสถาบันวิทยาศาสตร์นิวยอร์กในงาน สรุปว่าระหว่างปี 2529-2547 (18 ปี) มีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร 985,000 คน เป็นผลมาจากการปล่อยกัมมันตรังสีจากเชอร์โนบิล และยังรวมถึงสูตินารีแพทย์ที่ถูกร้องขอจากหญิงตั้งครรภ์จำนวนมากให้ยุติการตั้งครรภ์ให้พวกเธอ เพราะกังวลว่าจะส่งต่อยีนกลายพันธุ์ให้กับเด็กในท้อง 

ผลกระทบหลังจากเชอร์โนบิลคาดว่าจะได้เห็นไปอีกกว่า 100 ปี
ถึงแม้ว่าความรุนแรงของผลกระทบจะลดลงตลอดเวลา

10 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับ "เชอร์โนบิล"

  1. ฝนกรดจากกัมมันตรังสีแพร่กระจายไปไกลถึงไอร์แลนด์ โดยยูเครน เบลารุส และ รัสเซีย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากหายนะภัยเชอร์โนบิลมากที่สุด คือมีพื้นที่ปนเปื้อนรังสีมากถึงร้อยละ 63
     
  2. สวีเดนเป็นประเทศแรกที่ประกาศต่อชาวโลกถึงหายนะภัยจากการระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล ขณะที่รัฐบาลยูเครนเลือกที่จะปิดปากเงียบในตอนแรก

  3. เมือง Pripyat ถูกทิ้งร้างเนื่องเนื่องจากระดับการแพร่กระจายของรังสีอยู่ในปริมาณสูง กลายเป็นที่อยู่ของสุนัขป่า ม้าป่า บีเวอร์ หมูป่า และสัตว์อื่นๆ

  4. สัตว์ที่หากินอยู่ในละแวก 30 กม. รอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล มีอัตราการตายก่อนอายุขัยสูงมากขึ้น มียีนผิดปกติมากขึ้น และมีอัตราการเกิดลดลง

  5. เชอร์โนบิลไม่ได้ถูกสั่งปิดหลังเกิดเหตุ อีก 13 ปีต่อมา มีการเปิดใช้ ชเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 เครื่อง 
    ความเสียหายจากการระเบิด

    ความเสียหายจากการระเบิด

    ความเสียหายจากการระเบิด

  6. วัตถุดิบกัมมันตรังสียังอยู่ในแท่นซีเมนต์ปรักหักพังที่สร้างครอบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ โดยอาคารขนาดใหญ่หลังใหม่ถูกสร้างขึ้นครอบแท่นซีเมนต์ ซึ่งน่าจะใช้งานได้อีกอย่างน้อย 100 ปี

  7. อุตสาหกรรมนิวเคลียร์และรัฐบาลที่มีนโยบายสนับสนุนนิวเคลียร์ ทั้งในยูเครน รัสเซีย และ เบลารุส ยังเดินหน้าโครงการนิวเคลียร์มูลค่าหลายพันล้าน โดยเพิกเฉยต่อความรับผิดชอบที่ต้องช่วยเหลือผู้รอดชีวิตจากเชอร์โนบิล รัฐบาลประเมินผลกระทบจากหายนะภัยในขั้นต่ำสุด และหลบเลี่ยงความจริงที่เกิดขึ้นในเชอร์โนบิล

  8. มีทัวร์ One day trip เที่ยวชมเขตต้องห้ามในเชอร์โนบิล ดำเนินการโดยบริษัทท่องเที่ยว

  9.  Pripyat อยู่ในสถานะของเมืองที่มีการปนเปื้อนระดับสูง และยังคงถูกทิ้งร้าง เนื่องจากต้องกำจัดพลูโตเนียมที่แพร่กระจายปกคลุมไปทุกหนแห่ง โดยคาดว่าต้องใช้เวลามากกว่า 24,000 ปี

  10. รังสีนิวเคลียร์มีอานุภาพมากพอที่ทำให้ตาของนักดับเพลิงเปลี่ยนจากสีน้ำตาลเป็นสีฟ้า
ระดับรังสีที่ยังเหลืออยู่ในเชอร์โนบิล

ระดับรังสีที่ยังเหลืออยู่ในเชอร์โนบิล

ระดับรังสีที่ยังเหลืออยู่ในเชอร์โนบิล

อ่านข่าวอื่น :

"บิ๊กต่าย" ยืนยันคำสั่งให้ "บิ๊กโจ๊ก" ออกราชการ ยึดตาม พ.ร.บ.ตำรวจ

บุกเผา “โรงไฟฟ้าชีวมวล” ปัตตานี-สงขลา

ปิดป่าเชียงดาวไม่มีกำหนด พบลอบเผาป่าเสี่ยงสูญเสียระบบนิเวศ

ที่มา : Greenpeace Thailand, NGThai, Wikipedia

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง