ฮ่องกง ค่าเช่าสำนักงานแพงที่สุดในเอเชีย ออฟฟิศใน"กรุงเทพ" จัดอยู่ในกลุ่มค่าเช่าถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

เศรษฐกิจ
25 พ.ค. 54
12:07
19
Logo Thai PBS
ฮ่องกง ค่าเช่าสำนักงานแพงที่สุดในเอเชีย ออฟฟิศใน"กรุงเทพ" จัดอยู่ในกลุ่มค่าเช่าถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชีย

ฮ่องกง ติดอันดับค่าเช่าพื้นที่สำนักงานแพงสุด กรุงเทพฯ อยู่ในกลุ่มค่าเช่าถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชีย ส่วนกรุงมะนิลาและกรุงจาการ์ต้า ค่าเช่าต่ำกว่า


            จากรายงานการสำรวจค่าเช่าพื้นที่สำนักงานทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคฉบับล่าสุด โดยแผนกวิจัยของซีบี ริชาร์ด เอลลิส บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก พบว่า ฮ่องกงมีอัตราค่าเช่าพื้นที่สำนักงานแพงที่สุด
 
          สำหรับค่าเช่าในย่านใจกลางเมือง หรือ ซีบีดี ในฮ่องอยู่ที่ระดับ 5.000บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน เปรียบเทียบกับค่าเช่าในกรุงเทพมหานครที่อยู่ที่ 680 บาท ต่อตารางเมตร ต่อเดือน   ขณะที่กรุงโตเกียวอยู่ในลำดับที่ 2 ด้วยค่าเช่า 3,329 บาทต่อตารางเมตรต่อเดือน และเขตนาริมาน พ้อยท์ ในมุมไบ รั้งอันดับ 3 โดยมีค่าเช่าอยู่ที่ 2,900 บาทต่อตารางเมตร ต่อเดือน
 
            จากการสำรวจยังเห็นถึงปริมาณความต้องการพื้นที่สำนักงานเพิ่มขึ้นในเมืองส่วนใหญ่ของเอเชีย พร้อมๆกันอัตราพื้นที่ว่างที่ลดลงและค่าเช่าที่ปรับตัวสูงขึ้น   ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในกรุงปักกิ่งพุ่งสูงขึ้นเกิน 40%เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปี 2553 ส่วนใจกลางย่านเซ็ฯทรัลของฮ่องกงและสิงคโปร์สูงเกือบ 40% และ 28.4% ต่อปี 
  
          ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่ เวียดนามเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่ค่าเช่าปรับตัวลดลง โดยโฮจิมินห์ ซิตี้ปรับตัวลดลง 12% และฮานอยลดลง 8.5%  
 
          ทั้งนี้ ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯ อยู่ในกลุ่มที่มีค่าเช่าถูกที่สุดในภูมิภาคเอเชีย โดยมีเพียงกรุงมะนิลาและกรุงจาการ์ต้าเท่านั้นที่มีค่าเช่าต่ำกว่า ปัจจุบัน กรุงเทพฯมีพื้นที่สำนักงานทั้งสิ้นเกือบ 8 ล้านตารางเมตร และจะมีพื้นที่สำนักงานใหม่เพิ่มขึ้นอีกเพียง 270,000 ตารางเมตรภายในปี 2557
 
            นายเจมส์ พิทชอน กรรมการบริหาร ซีบี ริชาร์ด เอลลิ ประเทศไทย กล่าว จะเห็นได้ว่า ความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานเพิ่มมากขึ้น เป็นผลมาจากความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจไทยโดยรวม ช่วงปี 2549 จนถึงปี 2552 ปริมาณความต้องการพื้นที่สำนักงานใหม่ลดลง และเพิ่งปรับตัวดีขึ้นในปี 2553 แต่ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าความต้องการที่พบในช่วงปี 2543-2548


ข่าวที่เกี่ยวข้อง