ปลุกหัวใจอนุรักษ์ ลด “ขยะ”

สิ่งแวดล้อม
1 ม.ค. 63
10:54
1,671
Logo Thai PBS
ปลุกหัวใจอนุรักษ์ ลด “ขยะ”
วันนี้ (1 ม.ค.2563) เป็นวันแรกที่คนไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ก็ว่าได้ หลังห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ งดแจกถุงพลาสติกตามนโยบายของภาครัฐที่ต้องการเลิกใช้ถุงพลาสติก

45,000 ล้านใบต่อปี คือ ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วในไทย 40 % จากตลาดสด เทศบาล เอกชน และแผงลอย คิดเป็นจำนวน 18,000 ล้านใบต่อปี, 30 % มาจากร้านขายของชํา จำนวน 13,500 ล้านใบต่อปี และอีก 30% มาจากห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ จำนวน 13,500 ล้านใบต่อปี เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ มีการใช้ถุงพลาสติกเฉลี่ย คนละ 8 ใบต่อวัน ทำให้มีขยะพลาสติกมากถึง 80 ล้านใบต่อวัน

อ่านข่าว : 10 ปี ขยะมูลฝอยไทย เพิ่มขึ้น 4 ล้านตัน

“ขยะมูลฝอย” แยกเป็น ขยะย่อยสลาย, ขยะรีไซเคิล, ขยะอันตราย, ขยะทั่วไป ใน 4 ประเภทนี้ รวมกันแล้ว ปี 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 27.82 ล้านตัน เป็นพลาสติกในขยะชุมชนกว่า 2 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.64 เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่มีปริมาณ 27.37 ล้านตัน


เฉลี่ยคนหนึ่งคนสร้างขยะมากถึงวันละ 1.15 กิโลกรัม สาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ขยะเพิ่มนั้นเนื่องจากจำนวนคนที่เพิ่มมากขึ้น ชุมชนเมืองขยายตัว การท่องเที่ยว และการบริโภคที่มากขึ้น

โดยในแต่ละปี มีปริมาณขยะตกค้างสะสมจำนวนมาก นั้นมาจากการลักลอบทิ้งในที่สาธารณะ ตามแม่น้ำคลอง บางส่วนไหลลงทะเล สร้างผลกระทบต่อเนื่องต่อสิ่งแวดล้อม


ปี 2561 มีขยะที่กำจัดไม่ถูกต้องถึง 7.36 ล้านตัน และหากยังไม่กำจัดขยะตกค้างสะสมให้หมดได้ 100% อย่างที่หน่วยงานรัฐตั้งเป้าไว้ ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะมีปริมาณขยะตกค้างประมาณ 8.86 ล้านตัน

Roadmap จัดการขยะ ใน 12 ปี

ขยะพลาสติกที่เริ่มสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม หรือ แม้แต่มนุษย์เอง จึงเป็นที่มาของโรดแมป 12 ปี การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 เริ่มในปี 2561 ประเดิมปรับลดการใช้พลาสติก คือ แคปซีล (Cap Seal) พลาสติกหุ้มขวดน้ำดื่ม ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภท อ๊อกโซ่ (Oxo) และพลาสติกผสมสาร ไมโครบีท (Microbead) ตั้งเป้าภายในปี 2565 จะเลิกใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ไม่ว่าจะเป็น ถุงพลาสติกหูหิ้ว กล่องโฟมบรรจุอาหาร แก้วพลาสติก และหลอดพลาสติก โดยหันมาใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์ ร้อยละ 100 ภายในปี 2570

ผลที่คาดว่า จะได้รับจากโรดแมปนี้ คือ จะลดปริมาณขยะพลาสติกได้ประมาณ 0.78 ล้านตันต่อปี และจะประหยัดงบประมาณในการกำจัดขยะมูลฝอยได้ประมาณ 3,900 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้ยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.2 ล้านตันหรือเทียบเท่า


ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการรณรงค์จัดกิจกรรมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เริ่มจากแคมเปญ “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดภัยสิ่งแวดล้อม” ที่กระทรวงทรัพยากรฯ จับมือกับกับภาคธุรกิจ เอกชน ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และตลาดสดทั่วประเทศ การลด ละ เลิก ใช้พลาสติกเกินความจำเป็น ตั้งแต่ 21 ก.ค.2561 - 31 ส.ค.2562 สามารถลดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว ได้กว่า 2,000 ล้านใบ หรือประมาณ 5,755 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 400 ล้านบาท และสามารถรวบรวมถุงผ้าบริจาคให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ แล้ว กว่า 8,000 ใบ


และเริ่มการรณรงค์ที่เข้มข้นขึ้น ในการงดให้บริการถุงพลาสติกหูหิ้ว ในวันสิ่งแวดล้อมไทย และวันที่ 4 ของทุกเดือน จนมาถึงการทำแคมเปญ Everyday Say No to Plastic Bags ซึ่งเริ่มขึ้นใน 1 ม.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้มีห้างสรรพสินค้า ร้านค้าปลีก ร้านค้าส่ง และร้านสะดวกซื้อ เข้าร่วมแล้วอย่างน้อย 80 แห่ง ตั้งเป้าหมายต่อไป 1 ม.ค. 2564 จะสามารถคลอดกฎหมายงดใช้พลาสติกในประเทศให้ได้

อ่านข่าว : ดีเดย์ 1 ม.ค.64 ไทยเลิกแจก "ถุงพลาสติก" ทั่วประเทศ

ไทยพีบีเอสออนไลน์ ได้รวบรวมว่าในช่วง 1 ปี 2562 มีโครงการจัดการขยะน่าสนใจ อะไรเกิดขึ้นบ้าง ?

อ่านข่าว : ขยับลดปัญหาพลาสติกก่อนปี 65
อ่านข่าว : ชวนห้าง-ร้านร่วมงดแจกถุงลดขยะพลาสติก
อ่านข่าว : กรมป่าไม้ชูโมเดล "สายตรวจขยะ" ตั้งเป้าลดขยะพลาสติกเป็นศูนย์

เริ่มจากหน่วยงานราชการ ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด ลดให้ถุงพลาสติก และรณรงค์ให้ลูกค้านำถุงผ้ามาใส่ ลดการใช้ถุงพลาสติก ได้ถึง 1,524 ล้านใบ หรือ 4,385 ตัน วางกติกาหากลูกค้าจำเป็นใช้ ต้องบริจาคเงิน 1 บาทต่อถุงพลาสติก 1 ใบ เพื่อสนับสนุนการทำงานขององค์กรเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แทน

ผู้ประกอบการต้องปรับตัว

เช่นเดียวกับ “ตลาดเดลิเวอรี่” หรือ อาหารออนไลน์ ตลาดอาหารสำคัญที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้างปริมาณขยะเพิ่มขึ้นมหาศาลเป็นเงาตามตัว โดยมีการประเมินตัวเลขได้ว่าธุรกิจเดลิเวอรี่ สร้างขยะอย่างน้อยปีละ 560 ล้านชิ้น

หากคำนวณการสั่งอาหาร 1 ครั้ง สร้างขยะได้อย่างน้อย 4 ชิ้น คือ ขยะภาชนะบรรจุภัณฑ์ 1 ชิ้น ถุงน้ำจิ้ม 1 ชิ้น ถุงพลาสติก 1 ชิ้น และช้อนส้อมอีก 1 ชิ้น


นี่เป็นสิ่งที่ทำให้ภาครัฐ และเอกชน ร่วมกันพลิกโฉมตลาดเดลิเวอรี่ทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้ผลิตถุงพลาสติก ภาชนะ และบริษัทเดลิเวอรี่ เพื่อให้เข้ากับเทรนด์รักษ์โลก และเป็นส่วนหนึ่งในการลดขยะตั้งแต่ต้นทาง หวังลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งจากอาหารเดลิเวอรี่

อ่านข่าว : พลิกโฉม "ตลาดเดลิเวอรี่" ลดขยะพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง
อ่านข่าว : สั่งอาหารถึงบ้าน แถมขยะเดลิเวอรี่

 

ปลุกพลังชุมชนร่วมจัดการ “ขยะ” ต้นทาง

ไม่ว่าจะเป็นชุมชนเมืองหรือชนบท ต่างเผชิญปัญหาการจัดการขยะไม่มีประสิทธิภาพและมีขยะสะสมจำนวนมาก คนในชุมชนส่วนหนึ่งของต้นทาง “ขยะ” จะช่วยกันจัดการเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง เพราะหากปล่อยไว้ระยะยาว ผลกระทบทั้งสิ่งแวดล้อมและผู้คน คงหนีไม่พ้น นำไปสู่แนวคิดจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจากที่บ้านของทุกคนในชุมชน หวังช่วยลดปริมาณขยะและนำกลับมาใช้โยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อ่านข่าว : เปลี่ยนเมือง ! แฟลตคลองเตย ลดขยะกว่า 30% ใน 3 เดือน

อ่านข่าว : หักดิบ “ปลดถังขยะ 100%” จุดเริ่มแก้ขยะชุมชน

อ่านข่าว : 11 ชุมชน ตั้งกฎลดขยะ ตั้งเป้าปิดบ่อขยะ

อ่านข่าว : “พายเรือเพื่อเจ้าพระยา” ปี 2 มั่นใจ 5 ปี ไทยขยะเป็นศูนย์


ไม่เพียงชุมชน ในโรงเรียนก็ยังมีการปลูกฝังเยาวชน ตั้งแต่ระดับอนุบาล ด้วยการสร้างจิตสำนึกเรื่องรักษ์โลกและห่วงใยสิ่งแวดล้อม พร้อมปลูกฝังเยาวชนให้มีหัวใจนักอนุรักษ์

อ่านข่าว : "ผู้พิทักษ์ตัวน้อย" หนูไม่อยากเห็นพลาสติกในท้องวาฬ-เต่าทะเล

ร้านหนังสือ ก็ร่วมด้วยการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งเป้าลดปริมาณการใช้พลาสติกในธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ในประเทศไทยให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปีนี้ ด้วยการลดการห่อปกพลาสติกและการใช้ถุงพลาสติกในร้านหนังสือให้ได้ ร้อยละ 50 ของปริมาณที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

อ่านข่าว : ลดแจกถุง - ห่อปกพลาสติก ตั้งเป้าลดขยะ 50%

นอกจากนี้ยังมีไอเดียรักษ์โลกนำขวดพลาสติกเหลือใช้แปรรูปกลับกลับมาเป็นจีวรจากพลาสติกให้กับพระสงฆ์ กลายเป็นหนึ่งในช่องทางลดขยะ ปลุกกระแสนิยมทำบุญลดโลกร้อน

อ่านข่าว : สุดทึ่ง! จีวรขวดพลาสติก ช่วยลดขยะ

การจัดการกับปัญหาขยะ คงไม่จบลงง่าย ๆ แต่หากทุกคนร่วมมือกัน เริ่มจากการคัดแยกด้วยวิธีง่าย ๆ ให้ได้ทุกวัน แยกขยะก่อนทิ้งลงถัง เพื่อให้การจัดการต่อไปง่ายขึ้น และเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นด้วย

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง