เสนอเปิด “เวียงแก้ว” เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ "พระราชวังล้านนา"

ภูมิภาค
3 ก.พ. 64
17:06
3,117
Logo Thai PBS
เสนอเปิด “เวียงแก้ว” เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ "พระราชวังล้านนา"
สำนักศิลปากรที่ 7 (เชียงใหม่) เปิดพื้นที่ขุดค้นโบราณคดี ให้เข้าชมการขุดค้น นักวิชาการเสนอเปิดรับฟังความเห็นให้เป็นพื้นที่สาธารณะแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ “พระราชวังล้านนา” และพัฒนาการของเมืองเชียงใหม่แต่ละยุคสมัย

วันนี้ (3 ก.พ.64) สำนักศิลปากรที่ 7 (เชียงใหม่) เปิดพื้นที่ 20 ไร่ บริเวณทัณฑสถานหญิงเก่า ที่ขุดค้นทางโบราณคดีพบโบราณสถานโบราณวัตถุจำนวนมาก เชื่อมโยงไปยังอาณาจักรล้านนายุคต้นสมัยราชวงศ์มังราย (อ่านเพิ่มเติม เปิดหลักฐานพระราชวังล้านนา “คุ้มเวียงแก้ว” เชียงใหม่

การเปิดให้เข้าเยี่ยมชมมีผู้ลงทะเบียน และร่วมเข้าชมจำนวนมากจาก ภาคประชาชน นักวิชาการ และหน่วยงานราชการ เช่น ศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง, ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล , รศ.สมโชติ อ๋องสกุล ฯลฯ

 

ศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง นักรัฐศาสตร์และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์ ตั้งคำถามถึงผลการศึกษาการขุดค้นในครั้งนี้ โดยเล่าย้อนให้ฟังถึงการเรียกร้องของภาคประชาชนในปี 2543-2544 เรียกร้องให้มีการทุบทัณฑสถานหญิงกลางเชียงใหม่ (เก่า) ในตอนนั้นเสนอให้เป็นสวนสาธารณะ แต่เมื่อการขุดค้นพื้นที่แล้วสิ่งที่กรมศิลปากรพบประเด็นที่สำคัญคือ การได้เรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์แผนดินโบราณอายุ 700 ปีที่ขุดค้นพบบรรพชน ตอนนี้ยังไม่รู้นอกขอบรั้วมีอะไร ซึ่งจุดที่พบปัจจุบันเป็นส่วนใต้ที่เป็นโรงครัว จุดที่เป็นจุดสำคัญด้านเหนือ และตะวันออก จุดที่สำคัญซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจราชอาณาจักรล้านนายังไม่มีโอกาสได้รู้

ศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง นักรัฐศาสตร์และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์

ศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง นักรัฐศาสตร์และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์

ศ.ธเนศวร์ เจริญเมือง นักรัฐศาสตร์และนักวิชาการด้านสังคมศาสตร์

 

ศ.ธเนศวร์ เสนอว่า ควรให้ชาวเชียงใหม่ทั้งจังหวัดได้มีโอกาสคุยกันการค้นพบครั้งนี้ และนำเสนอต่อสาธารณะ โดยจังหวัดควรนำเสนอให้เป็นประเด็นสาธารณะพูดคุยกันใหม่ในช่วงที่รณรงค์ให้เมืองเชียงใหม่เป็นมรดกโลก ซึ่งเชื่อว่าเทคโนโลยีสมัยใหม่พื้นที่ขุดค้นอาจเปิดแป็นพื้นที่พิพิธภัณฑ์เปิด หรือพื้นที่การเรียนรู้ 700 ปีที่ผ่านมา เรื่องคุกเก่า และเวียงวังเก่าอย่างไร กลายเป็นสถานที่ที่สนุกมากกว่าเรียนอยู่ในห้องโดยอาศัยเทคโนโลยีสมัยใหม่ และมีผู้รู้หลายสาขามาให้ความรู้ ชึ่งจะเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเป็นประโยชน์กับทุกคนที่ประเมินค่าไม่ได้

รศ.สมโชติ อ๋องสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ ระบุว่าได้ติดตามการขุดค้นมาตั้งแต่ต้น มองว่าหลักฐานที่พบมีมาตั้งแต่ราชวงศ์มังราย ยุคพม่าปกครอง และปัจจุบันมีเอกสารจีนแปลออกมาใหม่อาณาจักรล้านนาในเอกสารจีนเมื่อช่วงราชวงศ์หมิงรองรับทั้งหมด และในยุคพม่าปกครอง ใกล้กับพื้นที่ขุดค้นปัจจุบันก็ยังเป็นที่ตั้งของวัดสำคัญในยุคพม่า ในยุคหลังสมัยกาวิละ พื้นที่การใช้สอบยุคนั้นการสร้างวัง ยังมีแบบแผนยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ที่มีวังหลวง วังกลาง วังหน้า และวังหลัง ลอกเลียนแบบมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์ หลัง พ.ศ.2399 ซึ่งในเวลานั้นหากกระทำความผิดก็จะมีคอก (คุก) ในคุ้ม เช่น คุ้มเจ้าบุรีรัตน์ และยุคสมัยสยามปกครองก็มีคอกอยู่ริมแม่น้ำปิง และคอกใหญ่อยู่ข้างศาลากลางจังหวัด

 

รศ.สมโชติ ยังกล่าวอีกว่า หลักฐานที่สำคัญ คือ ร่องรอยที่ไม่พบตอนนี้ คือ เสาตอม่อพระราชวัง แต่เมื่อพบหลักฐานการขุดค้นของกรมศิลปากร เชื่อว่าเมื่อเทียบกับพระราชวังพระเจ้าบุเรงนอง พบเสาจำนวนมาก การขุดค้นที่ทัณฑสถานหญิงเก่า เชื่อว่าเป็นเสาเรือน หรือทางขึ้นช้างเช่นเดียวกัน อาจเป็นคุ้มก่อนพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ซึ่งหลังจากนั้นอาคารจะเป็นแบบตะวันตกเริ่มมีปูนและอิฐ ซึ่งการขุดค้นได้ประโยชน์อย่างมากกับหลักฐานทางโบราณคดี

ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ล้านนา มองไปถึงการขุดค้นครั้งนี้ ทำอย่างไรให้พระราชวังของเมืองเชียงใหม่ กลับมาให้เห็นอีกครั้ง ในสมัยก่อนมีการใช้พื้นที่อย่างไร เช่น หนองน้ำที่ระบุว่าเป็น ท้องพระคลังมหาสมบัติของเชียงใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับนักโบราณคดีบอกว่าเป็นทางเข้า-ออกลำบากเพราะเป็นส่วนทรัพย์สินของวัง

 

ขณะเดียวกันการศึกษาของระบบน้ำเมืองเชียงใหม่จำเป็นอย่างมาก อาจต้องศึกษาส่วนนี้ ระบบน้ำเข้า-ออกเมืองซึ่งน่าจะมีนักวิชาการศึกษาระบบน้ำของเชียงใหม่ให้รายละเอียดการใช้น้ำของกษัตริย์ ประชาชนในเมืองซึ่งอาจต้องมีการวิจัยร่วมกัน

ศ.สรัสวดี ได้เสนอให้มีการจำลองพระราชวัง เพราะที่ผ่านมาไม่เคยเห็นที่เชียงใหม่ที่บ่งบอกถึงความเก่าแก่ของเมือง สถาบันกษัตริย์ของเมือง ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองแตกต่างจากที่อื่นอย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นในตอนนี้ให้ทุกคนได้ร่วมคิด ได้เห็นความสำคัญร่วมกันเพราะเป็นสมบัติส่วนรวมเป็นสิ่งยืนยันถึงความเก่าแก่ของเมือง

 

ด้านตัวแทนจากจังหวัดเชียงใหม่ ระบุว่าหลังจากการขุดค้นเสร็จจะขุดกลบไว้ก่อน เพื่อให้เป็นพื้นที่โล่ง หลังจากนั้นแบบที่ชนะการประกวดต้องมีการปรับแบบเพื่อให้สอดคล้องกับการขุดค้นโบราณสถาน เพราะก่อนประกวดแบบไม่ได้ประกวดแบบจากพื้นฐานของโบราณสถานที่เพิ่งขุดค้นพบ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"คุ้มเวียงแก้ว" ความสำคัญในอดีต สู่การใช้พื้นที่ขนาดใหญ่กลางเมืองเชียงใหม่

 

เปิดหลักฐานพระราชวังล้านนา “คุ้มเวียงแก้ว” เชียงใหม่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง