เปิดข้อถกเถียงโควิด-19 สายพันธุ์ "โอมิครอน" ร้ายแรงจริงหรือ?

ต่างประเทศ
29 พ.ย. 64
19:33
2,489
Logo Thai PBS
เปิดข้อถกเถียงโควิด-19 สายพันธุ์ "โอมิครอน" ร้ายแรงจริงหรือ?
ยังต้องรอความชัดเจนว่าโควิดกลายพันธุ์ "โอมิครอน" จะรุนแรงกว่าสายพันธุ์เดลตาหรือไม่ แต่พบ 90% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแอฟริกา เป็นสายพันธุ์ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นวัยทำงานอายุ 40 ปีหรือต่ำกว่า ไม่แสดงอาการชัด ไม่สูญเสียการรับกลิ่น และการรับรส

หนึ่งในประเด็นที่กำลังได้รับความสนใจไปทั่วโลกในขณะนี้ คือสายพันธุ์โอมิครอน ที่เรากำลังลุ้นอยู่ว่าในที่สุดแล้วจะมีความรุนแรงมากกว่าสายพันธุ์เดลตาหรือไม่ หลังจากผู้เชี่ยวชาญฝั่งแอฟริกาใต้ ที่ชี้ว่าผู้ที่ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่นี้มีอาการไม่รุนแรง อาจทำให้หลายคนรู้สึกคลายความกังวลไปได้บ้างหรือไม่ 

นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องติดตามคือการศึกษาข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนให้มากขึ้นกว่านี้ เนื่องจากข้อมูลอาจเปลี่ยนแปลงได้วันต่อวัน 

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา ผู้ป่วยคนหนึ่งมารักษาด้วยอาการเหนื่อยล้า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและปวดศีรษะ อาการโดยรวมคล้ายๆ กับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป จึงต้องส่งไปตรวจหาเชื้อ COVID-19 เพิ่มเติมและพบว่าผลการตรวจหาเชื้อเป็นบวก 

ข้อแตกต่าง คือ ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ไม่มีรายงานเกี่ยวกับการสูญเสียการรับกลิ่นหรือการรับรสและระดับของออกซิเจนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

 

ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ มีอายุ 40 ปี หรือต่ำกว่านั้น และมักจะมีอาการเหนื่อยล้าประมาณ 1 ถึง 2 วัน ปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

ส่วนเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนจะมีแพร่กระจายได้ง่ายขึ้นและหลบหนีภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้หรือไม่นั้นยังไม่มีใครให้คำตอบได้ในขณะนี้ นพ.ปกรัฐ หังสสูต ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความเห็นเกี่ยวกับประเด็นนี้

บอกได้เบื้องต้นโดยทฤษฎีว่าตรง spike ที่มีการกลายพันธุ์ มันมีการกลายพันธุ์ลักษณะนี้ มันน่าจะหลบจับ และเข้าเซลล์ได้ดีขึ้น แพร่กระจายได้เร็วขึ้นหรือไม่ ต้องรอการทดสอบ และการกระจายได้จริงในธรรมชาติอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ถึงจะเห็น

อ่านข่าวเพิ่ม หมอยง" เฉลย 10 ข้อต้องรู้จักไวรัสกลายพันธุ์ "โอมิครอน"

พบ 90% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่เป็นสายพันธุ์ "โอมิครอน"

พญ.แองเจลีก คูตเซีย ประธานสมาคมแพทย์แอฟริกาใต้ ประธานสมาคมการแพทย์แห่งแอฟริกาใต้ ย้ำว่า สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคตก็เป็นไปได้

ขณะที่คำถามคือประชาชนในแอฟริกาใต้ มีปฏิกิริยาต่อการตรวจพบเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนอย่างไรบ้าง รวมทั้งประชาชนหลายคน เริ่มตื่นตัวออกมาฉีดวัคซีนกันมากขึ้น เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความรุนแรงของเชื้อ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขแอฟริกาใต้ไม่ได้นิ่งนอนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้

และเตรียมความพร้อมของห้องไอซียูตามโรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่เสี่ยงเพื่อรับมืออย่างเต็มที่หลังจากตรวจพบ COVID-19 สายพันธุ์โอมิครอนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

 

ผลการศึกษาเบื้องต้นในแอฟริกาใต้ พบว่าร้อยละ 90 ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ของประเทศ เป็นเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนส่วนอัตราการแพร่เชื้อ Reproduction Rate หรือ ค่า R อยู่ที่ 2 หมายถึง ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ 1 คน มีแนวโน้มแพร่เชื้อต่อได้เพิ่มอีก 2 คน

ประชาชนในนครโจฮันเนสเบิร์ก ส่งเสียงสะท้อนความกังวลต่อการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนและเริ่มทยอยมารับวัคซีนมากขึ้น

 

ขณะนี้แอฟริกาใต้มีผู้ได้รับวัคซีนป้องกัน COVID-19  เฉลี่ยวันละ 120,000 คน ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลวันละ 300,000 คน นักระบาดวิทยา คาดว่า ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแอฟริกาใต้อาจสูงถึง 10,000 หมื่นคนต่อวันสะท้อนให้เห็นความตึงเครียดได้เป็นอย่างดี

อ่านข่าวที่เกียวข้อง

เช็กพิกัด! โควิดโอมิครอนลาม 18 พื้นที่ 4 ทวีป สธ.ยืนยันยังไม่พบในไทย

สธ.ยืนยัน RT-PCR ตรวจโอมิครอนได้ พบน้ำยา 2 ยี่ห้อตรวจไม่พบ

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง