เปิดชีวิตเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา จ.ยะลา หลายฝ่ายเร่งช่วย

ภูมิภาค
9 ม.ค. 65
07:57
98
Logo Thai PBS
เปิดชีวิตเด็กเสี่ยงหลุดจากระบบการศึกษา จ.ยะลา หลายฝ่ายเร่งช่วย
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ส่องชีวิตเด็กหลุดจะระบบการศึกษา ในพื้นที่ จ.ยะลา ส่วนใหญ่ยากจนและถูกซ้ำเติมด้วยสถานการณ์โควิด -19 หลายภาคส่วนจึงพยายามเข้าช่วยเหลือทั้งท้องถิ่นอย่าง อบจ.ยะลา ทีร่วมมือกับ กสศ.ที่ช่วยสร้างโอกาสด้านการศึกษาเพื่ออนาคตที่ดีขึ้นของเด็กเหล่านี้

ปัญหาเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา เพิ่มมากขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด -19 และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ จ.ยะลา ซึ่งคุณภาพปัญหาอยู่ในอันดับท้าย ๆ ของประเทศ

นายสิธิชัย เดช (น้องบิ๊ก) อายุ 16 ปี กำลังศึกษาในระดับชั้น ปวช.1 สาขาช่างเชื่อมผลิตภัณฑ์ วิทยาลัยเทคนิคยะลา ต.สะเตงนอก อ.เมืองยะลา เป็นเด็กคนหนึ่งที่ประสบปัญหาดังกล่าว บิ๊กอาศัยอยู่กับยายที่แก่ชราในห้องแถวที่ทรุดโทรมของโรงแปรรูปไม้ ที่เจ้าของอนุญาตให้พักอาศัย ยายของบิ๊กได้เปิดร้านค้าขายเล็กในห้องแถวดังกล่าวลลูกค้าก็คือ บรรดาลูกจ้างของโรงไม้แห่งนี้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้วันละ 100 กว่าบาท และรายได้จากเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเดินละ 600 บาท 

 

ขณะที่บิ๊กเองก็ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นแรงงานภายในโรงไม้แห่งนี้ด้วยเช่นกัน ซี่งได้ค่าแรงวันละ 160 บาท โดยบิ๊กจะทำงานในช่วงวันหยุดเสาร์ – อาทิตย์ และในช่วงของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ชีวิตของทั้ง 2 คนก็ยากลำบากมากขึ้นเนื่องจากโรงไม้หยุดดำเนินการชั่วคราวทำให้รายได้ลดลงซึ่งโอกาสทางการศึกษาจึงแทบจะเป็นไปไม่ได้

 

แต่จากความร่วมมือของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลา (อบจ.ยะลา) และหน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่ในการสำรวจและทำงานเชิงพื้นที่จึงได้พบกับบิ๊กและช่วยให้บิ๊กที่เสี่ยงจะหลุดออกจากระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่การศึกษาอีกครั้งหลังจากหยุดเรียนไปแล้วในช่วงมัธยมต้น-19 เนื่องจากไม่มีเงินเพียงพอ ขณะนี้บิ๊กจึงได้รับทุนจาก กสศ.ช่วยในเรื่องค่าอาหาร วัสดุอุปกรณ์ และกลับเข้าเรียนจนจบชั้นมัธยมต้น จากนั้นจึงเลือกเรียนต่อในสายวิชาชีพเนื่องจากมองว่าสามารถนำไปประกอบอาชีพต่อได้

 

นอกจากพื้นที่ อำเภอเมืองยะลา ก็ยังมีเด็กที่เสี่ยงจะหลุดออกจากระบบจากปัญหาปัญหาความยากจน เช่นกัน เช่นครอบครัวของ ด.ช.อับดุลตอเละ บาการี อายุ 12 ปี กำลังศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา 6 โรงเรียนบ้านบาละ ต.กาบัง อ.กาบัง จ.ยะลา ซึ่งพ่อแม่ของอับดุลตอเละ ที่ประกอบอาชีพรับจ้างกรีดยางซึ่งที่ต้องหยุดทำงานในช่วงโควิด-19 รวมถึงการที่มีลูกทั้งหมด 4 คน จึงทำให้อับดุลตอเละ ต้องมีหน้าที่ในการดูแลบ้าน และเลี้ยงน้อง ๆ ยามที่พ่อแม่ออกไปทำงาน จึงทำให้ด.ช.อับดุลตอเละ ไม่สามารถเข้าเรียนได้อย่างสม่ำเสมอ


ในช่วงการการแพร่ระบาดของสถานการณ์โควิด-19 อับดุลตอเละ สามารถไปเรียนได้เพียง 2 วันในช่วง 1 เดือน และต่อมาเมื่อเกิดสถานการณ์โควิด -19 จึงทำให้อับดุลตอเละต้องหยุดเรียน 


ทั้งนี้ อับดุลตอเละ ได้กลับมามีโอกาสทางการศึกษาอีกครั้ง จากการที่ครูโรงเรียนบ้านบาละได้สำรวจชีวิตความเป็นอยู่ของนักเรียนและมีโครงการยุวชนคุณธรรม 11 ด้าน และอับดุลตอเละ ก็มีคุณธรรมในเรื่องของความกตัญญู ครูจึงพยายามดึงอับดุลตอเละกลับเข้าสู่โรงเรียนแม้ว่าพ่อแม่จะไม่มีเงินก็ให้มาเรียนก่อน หากพ่อแม่มีมีเงินให้มาซื้ออาหารหรือขนมที่โรงเรียนครูที่โรงเรียนก็จะใช้เงินส่วนตัวให้กับอับดุลตอเละ 


ขณะที่การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ครูใช้วิธีการสอนการทำเบเกอร์รี่ควบคู่ไปกับสอนด้านวิชาการคือ ภาษาไทย เช่น การเรียกอุปกรณ์ ส่วนผสม วัตถุดิบต่าง ๆ จึงทำให้ทักษะด้านภาษาไทยของอับดุลตอเละดีขึ้นมาก และเริ่มกลับมาเรียนได้ดีขึ้น 

 

นอกจากนี้ ยังมีนายวิศรุต แก้วอ่อน หรือ เต้ อายุ 16 ปี กำลังศึกษาชั้น ม.3 โรงเรียนเทศบาล 2 บ้านมลายูบางกอก โดยครอบครัวของนายวิศรุต ก็มีปัญหาความยากจนเช่นกันเนื่องจาก เต้อาศัยอยู่กับยายและน้อง และยายมีรายได้จากเบี้ยยังชีพคนชราของทางราชการเท่านั้น และเมื่อเข้าสู่ชั้น ม.2 จึงทำให้เต้ไม่กลับไปเรียน และออกไปทำงานโดยออกไปเป็นแรงงานรับจ้งขนทุเรียนที่ จ.จันทบุรี ค่าแรงวันละ 500 บาท แต่ก็เป็นงานที่ค่อนข้างหนักเนื่องจากต้องทำงานตั้งแต่ 05.00 น.นไปจนถึงราว 04.00 น.รวมถึงยังต้องไปตัดทุเรียนด้วย แม้ว่าการจะไปทำงานจะได้รายได้แต่เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เต้จึงมีเงินเหลือประมาณ 4,500 บาท

 

เมื่อทาง กสศ.และ อบจ.สำรวจพบจึงเข้าช่วยเหลือให้เต้ได้กลับมาเรียนอีกครั้ง ซึ่งเต้หวังว่าการกลับมาเรียนครั้งนี้เมื่อจบชั้นมัธยมก็จะเข้าเรียนต่อในสายอาชีพ จากนั้นไปเรียนต่อในระดับปริญญาตรีที่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ต่อไป


นอกจากนี้ยังมี ด.ช.ฟาดิล สะอิสะ อายุ 14 ปี ที่ครอบครัวมีปัญหาด้านความยากจน เนื่องจากฟาดิลอาศัยอยู่กับพ่อที่ตาบอด ในพื้นที่ อ.รามัน จ.ยะลา และมีรายได้จากเบี้ยผู้พิการ และได้รับเงินจากพี่น้องรวม 8 คน ที่ออกไปมีครอบครัวและทำงานในต่างพื้นที่ทั้งตัวเมืองยะลา และพื้นที่ อ.อื่น ๆ ใน จ.ยะลา ไปจนถึง ทำงานที่ร้านต้มยำกุ้ง ในประเทศมาเลเซีย

 

นอกจากนี้ยังมีสิ่งของอุปโภคและบริโภคที่ได้รับจากช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่นำมามอบให้ที่บ้าน

 


เมื่อมีการสำรวจของครู อบจ.ยะลา จึงมีความพยายามที่จะดึงให้ฟาดิลกลับเข้าสู่การเรียนอีกครั้ง ในชั้น ม.1 โรงเรียนรามันห์ศิริวิทย์

 


ชีวิตของเด็กทั้ง 4 คนที่ได้รับโอกาสทางการศึกษาจากการช่วยเหลือของ กสศ.และ อบจ.ยะลา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง แต่ในพื้นที่ยังมีเด็กและเยาวชนอีกเป็นจำนวนมาก โดยมีเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษากว่า 2,800 คน และเด็กที่มีความเสี่ยงที่จะหลุดจากระบบการศึกษาอีกกว่า 1,000 คน ซึ่งขณะนี้มีความพยายามช่วยเหลือโดยพื้นที่คือ อบจ.ยะลา ได้จัดตั้งสภาการศึกษาเชิงพื้นที่ขึ้นเพื่อดูแลช่วยเหลือต่อไป รวมถึงจัดสรรงบประมาณของ อบจ.ปีละ 30 ทุนเพื่อช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ นอกจากนี้ยังจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาและสร้างอาชีพ โดยระดมทุนจากชาวยะลาเพื่อดำเนินการช่วยเหลือเด็กและเยาวชนเหล่านี้ต่อไป

แท็กที่เกี่ยวข้อง:

ข่าวที่เกี่ยวข้อง