8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ดาวยูเรนัส" หรือคนไทยคุ้นหูในชื่อ "ดาวมฤตยู"

Logo Thai PBS
8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ดาวยูเรนัส" หรือคนไทยคุ้นหูในชื่อ "ดาวมฤตยู"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ดาวยูเรนัส" หรือคนไทยคุ้นหูในชื่อ "ดาวมฤตยู" ดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 และใหญ่เป็นอันดับที่ 3 โดยยูเรนัสจะเปลี่ยนตำแหน่งบนกลุ่มดาวจักรราศีทุก ๆ 7 ปี

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เผย 8 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับดาว "ยูเรนัส" ดังนี้

1) ภาพรวมของดาวยูเรนัส

ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 โดยได้ชื่อมาจาก “ยูเรนัส” หรือ “อูรานอส” (Οὐρανός) เทพแห่งท้องฟ้าและสรวงสวรรค์ในเทพปกรณัมกรีกโบราณ

ดาวยูเรนัสถือว่าเป็น “ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์” (Ice giant) เช่นเดียวกับดาวเนปจูน เนื่องจากดาวเคราะห์ทั้งสองดวงมีองค์ประกอบทางเคมีที่มีแตกต่างจาก “ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์” (Gas giant : ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์) ตรงที่ดาวยูเรนัสกับเนปจูนมีสารประกอบจากคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน ไนโตรเจน เช่น น้ำ มีเทน และแอมโมเนียมากกว่า ขณะที่พวกวัตถุน้ำแข็งขนาดเล็กในระบบสุริยะชั้นนอก มักประกอบด้วยสารประกอบเหล่านี้ในสภาวะเยือกแข็ง ทำให้ดาวยูเรนัสและดาวเนปจูนถูกเรียกเป็น “ดาวเคราะห์น้ำแข็งยักษ์” แม้ว่าดาวเคราะห์ชั้นนอกทั้ง 2 ดวงจะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งเลย

นอกจากนี้ แก๊สมีเทนในบรรยากาศชั้นบนของดาวยูเรนัส เป็นตัวดูดกลืนแสงสีแดงในแสงอาทิตย์ ทำให้ดาวยูเรนัสปรากฏเป็นสีฟ้า (ตามแสงสะท้อนออกมา) นอกจากนี้ บรรยากาศของดาวยูเรนัสยังเป็นบรรยากาศของดาวเคราะห์ที่หนาวเย็นที่สุดในระบบสุริยะ ด้วยอุณหภูมิ -224 องศาเซลเซียส

ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3

ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3

ดาวยูเรนัส เป็นดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 7 และเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3

2) การค้นพบดาวยูเรนัส “ดาวพระเจ้าจอร์จ”

แม้ว่าดาวยูเรนัสจะสว่างพอที่จะเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ความสว่างของดาวยูเรนัสก็อยู่เกือบใกล้ขีดจำกัดของสายตามนุษย์ในท้องฟ้ามืดสนิท นักดาราศาสตร์หลายคนจึงถือว่าเป็น “ดาวเคราะห์ที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า”

นักดาราศาสตร์ในสมัยก่อนต่างไม่ทราบว่าดาวยูเรนัสเป็นดาวเคราะห์ เนื่องจากความสว่างที่ริบหรี่และความเชื่องช้าในการโคจรของดาวยูเรนัสเอง แม้ว่าจะเคยมีนักดาราศาสตร์หลายคนเคยสังเกตการณ์และบันทึกตำแหน่งดาวยูเรนัส แต่กลับคิดว่าเป็นดาวฤกษ์

จนกระทั่งวิลเลียม เฮอร์เชล (William Herschel) นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบดาวเคราะห์ดวงนี้เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ.1781 (ตรงกับสมัยธนบุรีในประวัติศาสตร์ไทย) ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดหน้ากล้อง 6.2 นิ้วจากสวนของบ้านตนเองในเมืองบาธ (Bath) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ โดยในช่วงแรกเฮอร์เชลคาดว่าวัตถุที่ค้นพบใหม่นี้น่าจะเป็นดาวหาง ก่อนที่นักดาราศาสตร์คนอื่นจะช่วยกันคำนวณวงโคจรจนทราบว่าเป็นดาวเคราะห์ในภายหลัง

เฮอร์เชลเคยจะตั้งชื่อให้วัตถุที่ค้นพบใหม่ว่า “Georgium Sidus” (แปลภาษาละตินว่า “ดาวพระเจ้าจอร์จ”) เพื่อเป็นเกียรติแก่สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 3 (George III) ที่ปกครองสหราชอาณาจักรในขณะนั้น แต่โยฮันน์ โบเดอ (Johann Bode) นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมันเสนอชื่อ “ยูเรนัส” เพราะเทพยูเรนัสเป็นพ่อของเทพโครนอส (แซทเทิร์น) และเป็นปู่ของเทพซูส (จูปีเตอร์) เพื่อให้ความเป็นพ่อลูกสอดคล้องกับลำดับความใกล้ไกลจากดวงอาทิตย์ ระหว่างดาวพฤหัสบดี-ดาวเสาร์-ดาวยูเรนัส ชื่อ “ยูเรนัส” เป็นที่นิยมใช้ในวงการดาราศาสตร์ในชาติตะวันตกชาติอื่น ๆ มากกว่า ซึ่งกว่าทางอังกฤษจะยอมรับชื่อ “ยูเรนัส” เวลาก็ล่วงเข้าไปปี ค.ศ.1850

3) การสำรวจดาวยูเรนัส

ในปัจจุบัน เคยมียานสำรวจดาวยูเรนัสเพียงลำเดียว คือ ยานวอยเอเจอร์ 2 (Voyager 2) ของสหรัฐฯ ที่เฉียดเข้าใกล้ดาวยูเรนัสเมื่อวันที่ 24 มกราคม ค.ศ.1986 (หลังจากที่ส่งขึ้นสู่อวกาศเมื่อปลายเดือนสิงหาคม ค.ศ.1977)

ระหว่างที่ยานลำนี้เข้าใกล้ดาวยูเรนัสได้ตรวจพบดวงจันทร์เพิ่มเติม 11 ดวง รวมถึงวงแหวนส่วนหนึ่ง (นักดาราศาสตร์ค้นพบวงแหวนของดาวยูเรนัสจากการสังเกตการณ์บนโลกก่อนหน้านี้) วัดความยาวนานของคาบการหมุนรอบตัวเองครบรอบที่ 17 ชั่วโมง 14 นาที ศึกษาบรรยากาศและสนามแม่เหล็กของดาวยูเรนัส รวมไปถึงการถ่ายภาพกลุ่มดวงจันทร์ขนาดใหญ่ของดาวยูเรนัส ค้นพบเครือข่ายหุบเหวซับซ้อนบนดวงจันทร์มิแรนดา (Miranda) ทำให้นักดาราศาสตร์คาดการณ์ว่าเกิดจากการที่ดวงจันทร์ดวงนี้เคยแตกออกก่อนสสารที่หลุดออกไปกลับมารวมกันอีกครั้ง

เคยมียานสำรวจดาวยูเรนัสเพียงลำเดียว คือ ยานวอยเอเจอร์ 2 ของสหรัฐฯ

เคยมียานสำรวจดาวยูเรนัสเพียงลำเดียว คือ ยานวอยเอเจอร์ 2 ของสหรัฐฯ

เคยมียานสำรวจดาวยูเรนัสเพียงลำเดียว คือ ยานวอยเอเจอร์ 2 ของสหรัฐฯ

4) ดาวยูเรนัสมีดวงจันทร์บริวารทั้งหมด 27 ดวง

ปัจจุบัน (8 มีนาคม 2023) ดาวยูเรนัสมีจำนวนดวงจันทร์บริวารที่ยืนยันแล้วทั้งสิ้น 27 ดวง แต่ละดวงตั้งชื่อตามตัวละครในบทประพันธ์ของวิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) และอเล็กซานเดอร์ โปป (Alexander Pope) ซึ่งแตกต่างไปจากดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ที่มีการตั้งชื่อตามตำนานเทพเจ้ากรีกและโรมัน

ดวงจันทร์ของดาวยูเรนัสแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ดวงจันทร์ชั้นใน 13 ดวง ดวงจันทร์หลักขนาดใหญ่ 5 ดวง และดวงจันทร์ไร้รูปร่าง 9 ดวง เกือบทั้งหมดเป็นดวงจันทร์ขนาดเล็ก โดยมี “ไททาเนีย (Titania)” เป็นดวงจันทร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1,580 กิโลเมตร หรือประมาณครึ่งหนึ่งของดวงจันทร์ของโลก และมีดวงจันทร์ “คิวปิด (Cupid)” เป็นดวงจันทร์ที่ขนาดเล็กที่สุด มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 18 กิโลเมตร

ปัจจุบันดาวยูเรนัสมีจำนวนดวงจันทร์บริวารที่ยืนยันแล้วทั้งสิ้น 27 ดวง

ปัจจุบันดาวยูเรนัสมีจำนวนดวงจันทร์บริวารที่ยืนยันแล้วทั้งสิ้น 27 ดวง

ปัจจุบันดาวยูเรนัสมีจำนวนดวงจันทร์บริวารที่ยืนยันแล้วทั้งสิ้น 27 ดวง

5) ดาวยูเรนัสมีวงแหวน

วงแหวนของดาวยูเรนัสแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มวงในหรือกลุ่มที่อยู่ใกล้กับตัวดาว เป็นวงแหวนหลัก และอีกกลุ่มเป็นวงแหวนฝุ่นฟุ้งกระจายรอบนอก

วงแหวนหลักประกอบด้วยวงแหวนย่อยสีเทาภายในอีกประมาณ 9 ชั้น มีความหนาประมาณ 10 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นอนุภาคน้ำแข็ง จึงสะท้อนแสงได้ดี ขณะที่วงแหวนฝุ่นรอบนอกจะมีวงย่อยอีก 2 วง เป็นอนุภาคฝุ่นที่สะท้อนแสงได้น้อย จึงมองเห็นได้ค่อนข้างยาก นักดาราศาสตร์คาดว่าวงแหวนเหล่านี้ไม่ได้ก่อตัวขึ้นพร้อมกับดาวยูเรนัส แต่น่าจะเกิดจากวัตถุขนาดเล็กรอบ ๆ ดาวที่พุ่งชนกันเอง จนแตกสลายกลายเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่โคจรรอบดาวยูเรนัส

วงแหวนของดาวยูเรนัส มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวงในที่อยู่ใกล้กับดาว และกลุ่มเป็นวงแหวนฝุ่นฟุ้งกระจายรอบนอก

วงแหวนของดาวยูเรนัส มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวงในที่อยู่ใกล้กับดาว และกลุ่มเป็นวงแหวนฝุ่นฟุ้งกระจายรอบนอก

วงแหวนของดาวยูเรนัส มี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มวงในที่อยู่ใกล้กับดาว และกลุ่มเป็นวงแหวนฝุ่นฟุ้งกระจายรอบนอก

6) ยูเรนัสกลิ้งไปรอบ ๆ ดวงอาทิตย์

ดาวยูเรนัสมีแกนหมุนรอบตัวเองที่เอียงถึง 97.8 องศาจากแกนตั้งฉากระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ ถือว่าเอียงมากที่สุดในบรรดาดาวเคราะห์ทั้งหมด จึงเปรียบได้กับลูกบอลยักษ์สีฟ้าที่กำลังกลิ้งอยู่รอบดวงอาทิตย์ ส่งผลให้เกิดฤดูกาลบนดาวเคราะห์ที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว เนื่องจากดาวยูเรนัสใช้เวลาถึง 84 ปีในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ครบหนึ่งรอบ ช่วงฤดูร้อนจะมีดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้ายาวนานกว่า 21 ปี และฤดูหนาวที่มืดมิดไร้ดวงอาทิตย์อีก 21 ปี

ดาวยูเรนัส ใช้เวลาถึง 84 ปีโคจรรอบดวงอาทิตย์ ช่วงฤดูร้อนจะมีดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้า 21 ปี และฤดูหนาวมืดมิดไร้ดวงอาทิตย์อีก 21 ปี

ดาวยูเรนัส ใช้เวลาถึง 84 ปีโคจรรอบดวงอาทิตย์ ช่วงฤดูร้อนจะมีดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้า 21 ปี และฤดูหนาวมืดมิดไร้ดวงอาทิตย์อีก 21 ปี

ดาวยูเรนัส ใช้เวลาถึง 84 ปีโคจรรอบดวงอาทิตย์ ช่วงฤดูร้อนจะมีดวงอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้า 21 ปี และฤดูหนาวมืดมิดไร้ดวงอาทิตย์อีก 21 ปี

7) ชื่อดาวยูเรนัสในหลากหลายวัฒนธรรม

ชื่อ “ยูเรนัส” จากเทพแห่งท้องฟ้าและสรวงสวรรค์ในเทพปกรณัมกรีกโบราณ ได้แพร่หลายเป็นชื่อเรียกดาวเคราะห์ดวงนี้ในกลุ่มภาษาตะวันตก รวมถึงภาษาของประเทศส่วนหนึ่งที่เคยเป็นอาณานิคม (เช่น ယူရေနတ် “ยูเรนัต” ในภาษาพม่า Uranus ในภาษามลายู-ภาษาอินโดนีเซีย Urano ในภาษาตากาล็อก)

ขณะที่แถบเอเชียตะวันออกและเวียดนาม ใช้อักษรจีนสำหรับชื่อดาวยูเรนัสตามลักษณะของเทพยูเรนัสว่า 天王星 (แปลว่า “ดาวราชาสวรรค์”) เพียงแต่ออกเสียงแตกต่างกันในแต่ละภาษา (“เทียนหวางซิง” ในภาษาจีนกลาง “ช็อนวังซ็อง” ในภาษาเกาหลี “เท็นโนวเซย์” ในภาษาญี่ปุ่น “ซาวเทียนเวือง” ในภาษาเวียดนาม)

แถบพื้นที่ประเทศไทยและลาวในสมัยก่อนที่ดาราศาสตร์กับโหราศาสตร์ยังแยกกันไม่ชัดเจน เคยนิยมใช้ชื่อ “ดาวมฤตยู/ດາວມະລຶດຕະຍູ” แต่ในปัจจุบันจะใช้ชื่อ “ดาวยูเรนัส/ດາວຢູເຣນັດ” จากบริบททางดาราศาสตร์มากกว่า

แต่ก็มีประเทศอื่นในแถบเอเชียที่เรียกชื่อดาวยูเรนัสแตกต่างออกไปทั้งในอดีตหรือปัจจุบัน อย่างทางกัมพูชา เคยเรียกดาวยูเรนัสว่า រាហុ៍ “เรีย” ซึ่งมีรากศัพท์ร่วมกับคำ “ราหู” แต่ในปัจจุบันใช้ชื่อ អ៊ុយរ៉ានុស “อุยรานุ” ตามชื่อยูเรนัส หรือทางอินเดีย ที่ในภาษาฮินดีเรียกดาวยูเรนัสว่า अरुण “อรุณ”

8. กลุ่มดาวแกะ คือ ตำแหน่งปัจจุบันของดาวยูเรนัส

โดยปกติแล้วดาวเคราะห์จะมีตำแหน่งปรากฏบนท้องฟ้าเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ บนเส้นสุริยะวิถี ซึ่งเส้นสุริยะวิถีจะลากผ่านกลุ่มดาวสากลจำนวนทั้งสิ้น 12 กลุ่มดาว นั่นก็คือกลุ่มดาว 12 จักรราศีนั่นเอง ซึ่งพื้นที่กลุ่มดาวบนท้องฟ้านั้นมีการกำหนดอย่างเป็นทางการโดยสหพันธ์ดาราศาสตร์นานาชาติ (IAU) เป็นเส้นสีแดงดังภาพประกอบ โดยขณะนี้ดาวยูเรนัสปรากฏอยู่ในพื้นที่ของกลุ่มดาวแกะ (Aries) และจะเคลื่อนเปลี่ยนตำแหน่งสู่กลุ่มดาวถัดไปคือกลุ่มดาววัว (Taurus) ในเดือนพฤษภาคม 2024 แต่จะเคลื่อนที่ถอยหลังกลับไป-กลับมาเล็กน้อยระหว่าง 2 กลุ่มดาว เป็นผลมาจากการที่โลกโคจรแซงหน้าดาวยูเรนัสในช่วงนี้ จนกระทั่งต้นปี 2025 เป็นต้นไป ยูเรนัสจะอยู่ในกลุ่มดาววัวแบบเต็มตัว

เกร็ดความรู้ : ดาวยูเรนัสโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 84 ปี หากนำ 84 หารด้วย 12 จะได้เท่ากับ 7 นั่นหมายความว่า ยูเรนัสจะเปลี่ยนตำแหน่งบนกลุ่มดาวจักรราศีประมาณทุก ๆ 7 ปี

ที่มาข้อมูล สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

"รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก" ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง