เลือกตั้ง2566 : ชพก.ชูเงินปลอดดอกเบี้ย ให้ครัวเรือนติดโซลาร์เซลล์ หนีจ่ายไฟแพง

การเมือง
19 เม.ย. 66
12:15
313
Logo Thai PBS
 เลือกตั้ง2566 : ชพก.ชูเงินปลอดดอกเบี้ย ให้ครัวเรือนติดโซลาร์เซลล์ หนีจ่ายไฟแพง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ไม่ตกเทรนด์ "กรณ์" เสนอแยกโครงข่ายกฟผ.เป็นรัฐวิสาหกิจ ดันปชช.ผลิต-ขายไฟได้ หนุนเงินปลอดดอกเบี้ย 2 แสนบาทติดโซลาร์เซลล์ คาด 5 ปีคืนทุน

วันนี้( 19 เม.ย. 2566) นายกรณ์ จาติกวณิช หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวว่า รัฐบาลประกาศขึ้นค่าไฟฟ้าวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ ตามมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยปรับขึ้นค่าไฟฟ้าภาคครัวเรือนจาก 4.72 บาท เป็น 4.77 บาท แต่ลดให้ภาคอุตสาหกรรมจาก 5.33 ลงมาเท่ากับภาคครัวเรือนคือ 4.77 บาท เดือนพ.ค.จึงเป็นวันเผาจริงของประชาชน

อย่างไรก็ตาม ภาคอุตสาหกรรมเป็นผู้ใช้ส่วนใหญ่ จึงเห็นด้วยที่จะลดราคาให้ แต่ขอให้ลดเพียง 8-9% ได้หรือไม่ เพื่อไม่เพิ่มภาระให้ประชาชนที่กำลังเดือดร้อน ซึ่งไม่มีเหตุผลที่มีตรรกะอธิบายได้ว่าทำไมต้องขึ้นเวลานี้

นายกรณ์ กล่าวว่า ต้นทุนสำคัญในการผลิตไฟฟ้าคือการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ ในอดีตเราใช้ก๊สจากอ่าวไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่ช่วงหลังมีปัญหา ปริมาณแก๊สลดลงตามธรรมชาติ อีกส่วนคือการโอนถ่ายสัมป ทานที่เป็นปัญหาที่เกิดจากการทำงานของบริษัทในเครือ ปตท.คือ ปตท.สผ. เมื่อปริมาณแก๊สที่ผลิตจากอ่าวไทยลดลง ทำให้ต้องซื้อแก๊ส LNG จากต่างประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ช่วงสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ทำให้ราคาสูงขึ้น ส่งผลต่อต้นทุนค่าไฟในช่วงเวลานั้นสูงขึ้น แต่ถ้าดูความเคลื่อนไหวของราคาแก๊ส LNG ตั้งแต่ระดับช่วงที่สูงที่สุดอยู่ที่ 70 เหรียญสหรัฐ ต่อล้าน บีทียู และได้ลดราคาลงมาอย่างรวดเร็วภายใน 6 เดือนเหลือ 11 ดอลลาร์ต้นทุนค่าใช้จ่ายของตัวเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าลดลง ทำไมถึงต้องปรับค่าไฟเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทเรารักษาเสถียรภาพได้ดี ต้นทุนในการซื้อแก๊สก็ถูกลงด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อต้นทุนราคาแก๊สถูกลง เงินบาทก็แข็ง ไม่มีเหตุผลใดที่ต้องปรับขึ้นค่าค่าไฟ

นายกรณ์ กล่าวอีกว่า แนวทางทางแก้ปัญหาคือ ต้องรื้อระบบโครง สร้างการผลิตไฟฟ้าเลย ในอดีตการผลิตไฟฟ้าต้องพึ่งการไฟฟ้าสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือไม่ก็พึ่งเอกชน สร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่

และปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีประชาชนทุกคนที่มีหลังคาบ้าน สามารถลงทุนได้ จึงต้องส่งเสริมให้ประชาชนเป็นProducer+consumer หรือ Prosumer ซึ่งความหมายของการส่งเสริม คือ ต้องรื้อที่โครงสร้างของการไฟฟ้า"

นายกรณ์ กล่าวว่า พรรคฯมีข้อเสนอให้โครงข่ายหรือสายส่งที่อยู่ในกฟผ.ต้องแยกเป็นรัฐวิสาหกิจออกมาต่างหาก การหากแยกสาย ส่งออกมาก็จะทำให้ใครก็สามารถผลิตไฟฟ้า และขายให้ใครก็ได้ผ่านระบบสายส่งที่ถือว่าเป็นสมบัติของชาติ เหมือนตอนที่ปตท.เข้าตลาดหุ้นแล้วมีการแยกท่อส่งก๊าช ซึ่งเป็นแนวความคิดเดียวกัน

หัวหน้าพรรคชาติพัฒนากล้า กล่าวอีกว่า บทบาทที่เหมาะสมและถูกต้องตามสถานการณ์ปัจจุบัน ก็ต้องพึ่งกฟผ.ในฐานะผู้ผลิตหลัก แม้ครัวเรือน ประชาชนจะติดแผงโซลาร์เซลล์ตอนกลางคืนก็ยังต้องซื้อไฟฟ้าจาก กฟผ. แต่ย้ำว่าการแข่งขันก็ต้องเกิดขึ้น โดยนโยบายของเราคือ การสร้างแต้มต่อ เพราะไม่ใช่ว่าประชาชนทุกคนจะมีเงินจำนวน 2 แสนบาทมาติดโซลาร์เซลล์

แต่ทำอย่างไรจึงจะให้ประชาชนเข้าถึงเงินก้อนนี้ได้เป็นเงินปลอดดอกเบี้ย แล้วใช้ 2 แสนบาทนี้คืนได้จากการประหยัดค่าไฟ ซึ่งคำนวณไว้ 5 ปีก็คืนทุน หากทำอย่างนี้ได้ ประชาชนก็จะจ่ายค่าไฟฟ้าถูกลง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง