วสท.คาด 7 วันคลี่ปม "สะพานถล่ม" ขอกล้องวงจรปิดเพิ่มหลักฐาน

อาชญากรรม
12 ก.ค. 66
12:05
580
Logo Thai PBS
วสท.คาด 7 วันคลี่ปม "สะพานถล่ม" ขอกล้องวงจรปิดเพิ่มหลักฐาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
วสท.ตรวจสอบเหตุสะพานลาดกระบังถล่ม เพื่อรวบรวมพยานหลักฐาน และรอแปลนก่อสร้าง พร้อมขอให้พลเมืองดีส่งกล้องวงจรปิดช่วงเกิดเหตุเพิ่มหลักฐาน ยังไม่ติดทิ้งปมเร่งรีบก่อสร้าง

เปิดบัญชีผู้ก่อสร้าง “ทางยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง”วันนี้ (12 ก.ค.2566) ความคืบหน้าเหตุโครงการก่อสร้างทางยกระดับย่านลาดกระบังพังถล่ม รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสะพานลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุร่วมกับตำรวจพิสูจน์หลักฐานกลาง และ พนักงานสอบสวน สน.จรเข้น้อย เพื่อเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในจุดเกิดเหตุอีกครั้งนำไปประกอบสำนวนคดีก่อนจะแจ้งความกับบริษัทผู้รับเหมาต่อไป

จากการลงพื้นที่ตรวจสอบของ วสท.ตลอด 3 วันที่ผ่านมา เพื่อหาสาเหตุยืนยันว่าได้ข้อมูลแล้วส่วนหนึ่ง แต่ต้องรอเอกสารแบบแปลนก่อสร้าง TOR และบันทึกการก่อสร้างประจำวัน

รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวสท. และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสะพานลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุร่วมกับตำรวจพิสูจน์หลักฐานกลาง

รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวสท. และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสะพานลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุร่วมกับตำรวจพิสูจน์หลักฐานกลาง

รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก นายกวสท. และผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมสะพานลงพื้นที่ตรวจสอบจุดเกิดเหตุร่วมกับตำรวจพิสูจน์หลักฐานกลาง


เพราะจะสามารถอธิบายได้ว่าในแต่ละวันวิศวกร คุมงานและคนงานก่อสร้างทำอะไรไปบ้างในช่วงที่เกิดเหตุสะพานถล่ม หากมีการดำเนินการส่งเอกสารทั้งหมดได้เร็วก็จะสามารถวินิจฉัยสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ได้ภายใน 7 วัน

ตอนนี้ได้ข้อมูลมาส่วนหนึ่ง ทำให้การตรวจสอบคืบหน้าไปมาก แต่ต้องการเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างทั้งหมด มาประกอบการวิเคราะห์

อ่านข่าวเพิ่ม ไทม์ไลน์ 18 ชั่วโมง สะพานถล่ม ย่านลาดกระบัง

นอกจากนี้ วสท.ย้ำว่าหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยคลี่คลายคดีนี้ได้ คือกล้องวงจรปิด และกล้องหน้ารถขณะเกิดเหตุจากพลเมืองดี หากใครมีเพิ่มเติมสามารถส่งเข้ามาได้ และกทม.ควรสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการเดินหน้าก่อสร้างสะพานต่อไป

วสท.เสนอให้ กทม.ขอให้มีการตรวจสอบโครงสร้างที่เหลือ และเสาตอม่อว่ามีมาตรฐานหรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีในการตรวจสอบได้อย่างรวดเร็ว

ยังไม่ติดทิ้งปมเร่งรีบก่อสร้าง

ขณะเดียวกันยังคงไม่ตัดประเด็นการรีบเร่งในการก่อสร้างเพื่อให้แล้วเสร็จตามสัญญาในปี 2567 นี้ เพราะจะเป็นตัวแปรสำคัญในการที่จะระบุได้ว่า อาจมีการเปลี่ยนวิธีในการก่อสร้าง เพื่อให้เสร็จเร็วขึ้นหรือไม่ จำเป็นต้องตรวจสอบให้ละเอียดรอบคอบทุกด้าน

เหตุการณ์นี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุสะเทือนขัวญ ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เกิดอุบัติเหตุซ้ำซากกับโครงการก่อสร้างเมกกะโปรเจคถึง 3 ครั้ง สะท้อนเห็นถึงมาตรฐานการก่อสร้างของวิศวกรไทยว่า ต้องเพิ่มความระมัดระวังและความรอบคอบในการควบคุมงานให้มากขึ้น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

10 โมงเข้าสอบจุดเกิดเหตุ "สะพานถล่ม" เร่งเคลียร์ซากเหล็ก

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง