ประชุมสภา : "ชัยธวัช" ชี้ถ้านายกฯ ไม่ใช่ "พิธา" จัดเลือกตั้งทำไม?

การเมือง
13 ก.ค. 66
12:12
3,007
Logo Thai PBS
ประชุมสภา : "ชัยธวัช" ชี้ถ้านายกฯ ไม่ใช่ "พิธา" จัดเลือกตั้งทำไม?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"ชัยธวัช" ตั้งคำถามคาใจประชาชน หากนายกฯไม่ใช่ "พิธา"แล้วจัดเลือกตั้งทำไม ย้ำข้อเสนอพรรคยังยึดสถาบันหลักของชาติ

วันนี้ (13 ก.ค.2566) เมื่อเวลา 11.00 น. นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล อภิปรายในสภาระบุว่า การเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา พรรคก้าวไกลเสนอนายพิธา เป็นแคนดิเดตนายกฯ และได้เสียง 312 เสียงจาก 8 พรรค ต้องได้ขึ้นเป็นนายกฯ ตามครรลองปกติของรัฐสภา เรื่องควรเรียบง่าย แต่บรรยากาศที่เกิดขึ้นตลอด 2 เดือน จนถึงวันนี้ทำให้มีคำถามดังๆจำนวนนับล้านคนที่กำลังเฝ้าดูการประชุมรัฐสภา

หากนายกฯ คนใหม่ ไม่เป็นไปตามผลการเลือกตั้งแล้ว จะมีการเลือกตั้งทำไม ตกลงอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญหรือเป็นของใคร และมีคำถามว่าตกลงประชาชนอยู่ตรงไหน ในระบอบประชาธิปไตย
บรรยากาศการประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี

บรรยากาศการประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี

บรรยากาศการประชุมรัฐสภา เพื่อโหวตนายกรัฐมนตรี

นายชัยธวัช กล่าวอีกว่า คำถามในใจเหล่านี้สะท้อน และมีนัยอย่างไรกับสังคมและบ้านเมือง คำถามในทำนองนี้ไม่ใช่เพิ่งเกิดขึ้น แต่ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา เราผ่านการเลือกตั้ง และรัฐประหารมา 2 ครั้งผ่านการยุบพรคการเมือง ผ่านการชุมนุมมานับไม่ถ้วน มีผู้ดำเนินคดีจำคุกบาดเจ็บนับร้อยจากความขัดแย้งทางการเมืองที่ไม่รู้ว่าจะยุติเมื่อไหร่

อ่านข่าวเพิ่ม ประชุมสภา : "เพื่อไทย" เสนอ "พิธา" เป็นนายกฯ ไร้พรรคอื่นเสนอแคนดิเดตนายกฯแข่ง

ทั้งนี้ การผ่านเหตุการณ์มา 2 ทศวรรษ แต่สังคมไทยยัง ยังไม่หาคำตอบที่พวกเรายอมรับได้ ตราบใดที่ยังไม่หาคำตอบได้ สังคมไทยจะหยุดนิ่ง จมดิ่งในวังวนเดิม มองไม่เห็นอนาคตไปอีกนาน

ในฐานะผู้แทนราษฎร ในฐานตัวแทนของพรรคก้าวไกล เห็นการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์ จะเป็นโอกาสสำคัญที่จะเริ่มต้นแสวงหาคำตอบครั้งใหม่ให้สังคมไทย และสมาชิกหลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับพรรคก้าวไกล และกังวลกับการเปลี่ยนแปลง มีข้อกล่าวหามากมาย

สะท้อนจากคำอภิปรายขอขง 2 ท่านแรกว่าจะพรรคพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัญ และเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือไม่ หรืออทำให้สถาบันพระมหากษัติรย์ ไม่เป็นสถาบันหลักของชาติอีกหรือไม่ เจตนาที่แท้จริงในการเสนอ ม.112 ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายนโยบาย และประเด็นที่อยากกล่าวเอาไว้

ไม่ว่าจะเป็นข้อเสนอใดๆ ของพรรคก้าวไกล อยู่บนฐานความคิดว่าสถาบันหลักของชาติ หรือสถาบันการเมืองใดๆ จะดำรงอยู่ได้ด้วยความยินยอม พร้อมใจของประชาชน ไม่มีสถาบันใดที่ดำรงอยู่ได้ด้วยการกด ปราบ บังคับ
พิธา แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

"พิธา" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

"พิธา" แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี

นี่เป็นการเตือนให้สติจากทั้งในสภา ส.ส.และสังคมไทย และผู้มีอำนาจทุกฝ่าย ขอให้ตั้งให้มองการไกลเข้าใจการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน และเล็งเห็นให้ได้ว่าากุศโลบายใดที่จะรักษาสิ่งที่เรารัก และหวงแหนในสังคมที่มีพลวัตตลอดเวลา และไม่เชื่อว่า สิ่งใดๆ จะดำรงอยู่ สถิตและมั่นคงอยู่ได้ อีกทั้งการมองไปไกลถึงขั้นว่าการลงมติให้นายพิธา จะเป็นการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตรย์ เป็นการล้มล้าง

พวกผมพยายามบอกว่า พระมหากษัตรย์ ต้องอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง และต่างฝ่ายจะรวมความผูกพันทางการเมือง เราพยายามเสนอว่าต้องช่วยกันนำสถาบันพระมหากษัตริย์ออกจากความขัดแย้งทางการเมือง และใครจะรับผิดชอบจากผลกระทบนี้

อย่างไรก็ตาม อยากจะเชิญชวนให้ลงมติให้พิธา เป็นนายกฯ เหตุผลไม่ใช่เพราะรัก พิธา ไม่ใช่เพราะเห็นชอบเห็นด้วยกับพรรคก้าวไกลแต่การลงมติเพื่อคืนความปกติให้กับระบบรัฐสภาของไทย และแสดงความเคารพต่อประชาชนเพื่อให้โอกาสครั้งใหม่กับสังคมไทยและลงมติเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการหาคำตอบแห่งยุคสมัยให้ได้

และขออวยพรให้ประชาชนที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในระบอบประชาธิปไตย คุ้มครองสมาชิกรัฐสภาที่จะตัดสินใจอยางกล้าหาญตามเจตนารมณ์

เกาะติดการเลือก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ของประเทศไทยทาง ไทยพีบีเอส หมายเลข 3 และ ทางออนไลน์ www.thaipbs.or.th/live

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ประชุมสภา : เริ่มแล้ว! "วันนอร์" ลั่นทำหน้าที่ประชุมรัฐสภาเป็นกลาง โหวตนายกฯ

"พิธา" ย้ำคุณสมบัติครบถ้วน นั่งนายกฯ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง