"ทกซูรี"จ่อเข้าจีน 28 ก.ค.นี้ อัปเดตกระทบไทยหรือไม่ ?

ภัยพิบัติ
26 ก.ค. 66
17:57
4,822
Logo Thai PBS
"ทกซูรี"จ่อเข้าจีน 28 ก.ค.นี้ อัปเดตกระทบไทยหรือไม่ ?
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่น "ทกซูรี" จ่อขึ้นฝั่งที่ประเทศจีน 28 ก.ค.นี้ ไทยได้รับผลกระทบหรือไม่ พร้อมรู้จักระดับความรุนแรงแค่ไหนเรียก "ไต้ฝุ่น" หรือ "ซุเปอร์ไต้ฝุ่น"

วันนี้ (26 ก.ค.2566) พายุ "ทกซูรี" ซึ่งมีความหมายว่า "นกอินทรี" ตั้งชื่อ โดยประเทศเกาหลีใต้ ล่าสุดพายุ "ทกซูรี" กำลังทวีความรุนแรงเป็น "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" และส่งผลกระทบทั้งจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และฟิลิปปินส์

หลายประเทศยกระดับการรับมือฉุกเฉิน เช่น ไต้หวันสั่งยกเลิกการซ้อมรบฮันกวง ซึ่งเป็นการซ้อมรบครั้งใหญ่ ขณะที่ฟิลิปปินส์ สั่งอพยพประชาชนเป็นการเร่งด่วน เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากพายุ ล่าสุดพายุลูกนี้มีความเร็วลมอยู่ที่ 223 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 

อ่านข่าว : "ฟิลิปปินส์" เผชิญอิทธิพลซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ทกซูรี" จ่อถล่มไต้หวัน-จีน

ไทยพีบีเอสออนไลน์ คุยกับนายสมควร ต้นจาน ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทางพายุไต้ฝุ่น "ทกซูรี" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกของฟิลิปปินส์ ว่า ณ เวลา 16.00 น. ยังคงเป็น "พายุไต้ฝุ่น" กำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปยังจีน และจ่อขึ้นฝั่งมณฑลฝูเจี้ยนในช่วงเวลา 04.00 ของวันที่ 28 ก.ค.นี้ ก่อนจะเริ่มอ่อนกำลังเป็นพายุโซนร้อน และพายุดีเปรสชันตามลำดับ 

พายุนี้ไม่ได้เคลื่อนเข้าสู่ไทยจึงไม่มีผลกระทบโดยตรง แต่จะทำให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น ช่วงที่พายุเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบน อาจจะทำให้ฝนบริเวณไทยตอนบนลดลง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมทั้งในระดับบนจะเป็นลมตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือพัดเอาความชื้นไปหล่อเลี้ยงจุดศูนย์กลางของพายุ
ไต้ฝุ่นทกซูรี

ไต้ฝุ่นทกซูรี

ไต้ฝุ่นทกซูรี

ขณะที่ประเทศไทยขณะนี้มีลักษณะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่ยังคงพัดปกคลุมอยู่ หากมีพายุเข้าบริเวณภาคใต้ตอนบนจะช่วยดึงมรสุมเข้าไปหาศูนย์กลางของพายุได้มากขึ้น มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ก็จะเริ่มแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 26-28 ก.ค. โดยเฉพาะฝั่งอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน และมีคลื่นสูงใน 1-2 วันนี้ 

ปกติหากมีพายุที่เคลื่อนตัวเข้าประเทศไทยจะเกิดฝนบริเวณกว้าง แต่หากเกิดพายุเฉียดไปเฉียดมาแบบนี้ จะฝนก็ไม่มากนัก รวมถึงหากมีมวลอากาศเย็นอยู่จะดึงความแห้งความชื้นเข้ามาทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง รวมถึงกรุงเทพฯ มีฝนลดลงไปด้วย 

เส้นทางพายุ ไต้ฝุ่นทกซูรี

เส้นทางพายุ ไต้ฝุ่นทกซูรี

เส้นทางพายุ ไต้ฝุ่นทกซูรี

ช่วงที่ฝนจะเข้ามาประเทศไทยอีกรอบ คือ ในช่วงปลายเดือน ก.ค.นี้ หลังจากที่พายุขึ้นฝั่งไปแล้ว จะทำให้ฝนจะร่องมรสุม ขณะที่ปริมาณฝนปีนี้ยังคงน้อย ฉะนั้นจึงหวังว่าจะมีฝนตกเพิ่มขึ้น หากมีฝนตกสลับหยุดแบบนี้ จำนวนวันที่ฝนตกก็จะน้อยลง ส่วนพายุยังคงต้องติดตามมีก่อตัวอยู่แต่อาจจะไม่เคลื่อนผ่านประเทศไทย จะเกิดทางมหาสมุทรแปซิฟิกไปทางญี่ปุ่นมากกว่า 

อย่างไรก็ตาม ยังคงหวังว่าจะมีพายุสัก 1-2 ลูก ผ่านเวียดนาม ลาว เข้ามาทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ ขณะที่ช่วงวันหยุดยาว 26-28 ก.ค.นี้ กรุงเทพฯ อาจมีฝนตกเกิดขึ้นในช่วงบ่าย-ค่ำ 

ทะเลลมแรง

ทะเลลมแรง

ทะเลลมแรง

ระดับพายุ ที่นับวันผลกระทบยิ่งแรงขึ้นทุกปี

ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา  ยังอธิบายถึงพายุหมุนเขตร้อน ว่า มีชื่อเรียกต่างกันไปตามแหล่งกำเนิด ยกตัวอย่างพายุที่เกิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ทะเลแคริบเบียน และอ่าวเม็กซิโก เรียกว่า "เฮอร์ริเคน" หากเกิดขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ เรียกว่า "ไต้ฝุ่น" เกิดขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย เรียกว่า "ไซโคลน" และเรียก "พายุไซโคลน" ที่เกิดขึ้นในทวีปออสเตรเลียว่า "วิลลี่-วิลลี่" หรือมีชื่อเรียกไปต่าง ๆ กันถ้าเกิดในบริเวณอื่น

"พายุไต้ฝุ่น" เป็นชื่อเรียก "พายุหมุนเขตร้อน" ที่มีความเร็วลมสูงสุด อยู่ที่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น ทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย และประเทศญี่ปุ่น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก ทำความเสียหายให้แก่ทวีปต่าง ๆ ทางด้านตะวันออก

ฝนตกลมแรง

ฝนตกลมแรง

ฝนตกลมแรง

พายุหมุนเขตร้อน แบ่งเป็น 3 ระดับ 

พายุหมุนเขตร้อนที่มีอิทธิพลต่อลมฟ้าอากาศ แบ่งระดับความรุนแรงตามข้อตกลงระหว่างประเทศ เป็น 3 แบบ โดยใช้ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุเป็นเกณฑ์ ดังนี้  

1. ระดับพายุไต้ฝุ่น หรือพายุเฮอริเคน มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางอยู่ที่ 68 นอต หรือตั้งแต่ 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป มองเห็นแนวขดเกลียวเรียก "ตาพายุ"

2. พายุโซนร้อน มีความเร็วลมสูงสุด ณ จุดศูนย์กลาง 63-118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เกิดขึ้นขณะที่พายุเฮอริเคนอ่อนตัว เคลื่อนตัวในทะเล

3. พายุดีเปรสชัน มีความเร็วลมสูงสุด ณ จุดศูนย์กลางต่ำกว่า 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มองเห็นกลุ่มเมฆหนาเป็นวงกลม แต่มองไม่เห็นแนวขดเกลียวแบบตาพายุ

ฝนตกลมแรง

ฝนตกลมแรง

ฝนตกลมแรง

เช็กความรุนแรง แค่ไหนเรียก "ไต้ฝุ่น" - "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น"

พายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุด คือ พายุไต้ฝุ่น หรือพายุเฮอริเคน สร้างความเสียหายให้กับสิ่งก่อสร้าง มีคลื่นลมแรง มักเกิด "ตาพายุ" ขึ้นตรงจุดศูนย์กลาง ที่มีลักษณะสงบ ท้องฟ้าโปร่ง มีความกดอากาศต่ำ

ผอ.ส่วนพยากรณ์อากาศกลาง กรมอุตุนิยมวิทยา อธิบายความรุนแรงจาก "ไต้ฝุ่น" เป็น "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" ว่า หากเป็นซุปเปอร์ไต้ฝุ่น ความแรงเทียบเฮอร์ริเคน ระดับ 1-5 แต่หากระดับความแรงของพายุไม่เปลี่ยนแปลงมากนักส่วนใหญ่ก็จะเรียกแค่พายุไต้ฝุ่น มีความเร็วลม มีบริเวณศูนย์กลางพายุตั้งแต่ 125 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นไป มีโอกาสที่จะเรียก ซุปเปอร์ไต้ฝุ่น

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ไขคำตอบ! นักอุตุนิยมฯ ชี้เปลี่ยนฤดูร้อน-พายุรุนแรงถล่มพิจิตร

เปลี่ยนชื่อ-ปรับโครงสร้างใหม่ "กรม สส." คุมภารกิจโลกร้อน

โลกร้อนรุกราน จับตา 5 โรค สัตว์สู่คน "ไวรัสรีเทิร์น"

2566 โลกร้อน อากาศแปรปรวน การพยากรณ์ไม่ง่าย

โลกร้อน “ลานีญา” สลับขั้ว "เอลนีโญ"ไทยเผชิญฝนน้อย-แล้งยาว 19 เดือน

เช็กระดับความรุนแรงแค่ไหนเรียก "ไต้ฝุ่น" - "ซุเปอร์ไต้ฝุ่น"
ข่าวที่เกี่ยวข้อง