วันแม่ 2566 : ตัวลูก ตัวบุตร ตัว 4 ขา เมื่อ "สัตว์เลี้ยง" เป็นลูกตัวโปรด

สังคม
11 ส.ค. 66
13:01
873
Logo Thai PBS
วันแม่ 2566 : ตัวลูก ตัวบุตร ตัว 4 ขา เมื่อ "สัตว์เลี้ยง" เป็นลูกตัวโปรด
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ส่องเทรนด์ Pet Humanization เมื่อหมา-แมวไม่ใช่แค่สัตว์เลี้ยง แต่กลายเป็นลูกตัวโปรดในมุมของทาสแมว และสัตวแพทย์
มากินข้าวลูก พ่อหนุ่มเยอรมัน

เสียงพูดคุยของนิฐิญา กับน้องสกาย แมวหนุ่มวัย 2 ปีสายพันธุ์อเมริกันช็อตแฮร์ เจ้าของฉายาแมวจอมติสต์ที่เธอซื้อมาเลี้ยงเมื่อกว่า 2 ปีก่อน หากไม่ได้เห็นตัวคงนึกว่าเป็นเสียงเรียกลูกๆ

เคยเลี้ยงหมามาแล้ว 2 ตัว แต่พอสิ้นอายุขัยน้องก็ไม่ได้เลี้ยงมาหลายปี กระทั่งป่วยเป็นโรคซึมเศร้า อ่านเจอในบทความว่าแมวจะช่วยบำบัดได้

เธอบอกว่า ก่อนจะตัดสินใจเลี้ยงสกาย ได้ศึกษาข้อมูลว่าควรจะเลี้ยงแมวพันธุ์ไหน ที่เหมาะกับเรา นิสัยของแมวแต่ละพันธุ์ วิธีการดูแลก่อนที่จะไปพามาเลี้ยง จากวันนั้น ทำให้เธอกลายเป็นทาสแมวสุดโต่ง แม้จะมีลูกสาว 2 คน และหลานชาย 1 คน แต่กลับทุ่มเทให้กับแมว ในฐานะเป็นสมาชิกในครอบครัว

เสน่ห์ของแมวคือ ขี้อ้อน น่ารัก ชอบมาคลอเคลียตลอด เวลากลับจากทำงาน สกายจะมานั่งใกล้ๆ มานั่งดูทีวี และเวลาเผลอก็จะมานวดเบาๆให้ ยิ่งถ้าเลี้ยงตั้งแต่เด็กจะผูกพัน และรู้ว่าเราพูดอะไรกับเขา 
สกาย ลูกชายตัวโปรด แมวสายติสท์

สกาย ลูกชายตัวโปรด แมวสายติสท์

สกาย ลูกชายตัวโปรด แมวสายติสท์

ปัจจุบันเธอยังรับ “มิกิ” แมวตัวเมียพันธุ์สกอตติช วัย 1 ขวบครึ่งที่เธอรับช่วงต่อจากเพื่อนที่ จ.เชียงรายมาดูแล ยิ่งทำให้เธอยิ่งตกหลุมรัก นิสัยของมิกิ คือจะไม่ค่อยเรียบร้อย ซน ชอบกระโดดขึ้นที่สูง และสำรวจบ้าน

แม้ว่าต้องมีรายจ่ายในการเลี้ยงแมว ทั้งค่าอาหาร ค่าของเล่น ค่าอาบน้ำ และค่าขนมแมว และการฉีดวัคซีนประมาณ 3,000-5,000 บาทต่อตัว

เธอเล่าอีกว่า หลังจากแต่งงานกับชาวเยอรมันได้หอบแมว 2 ตัวคือสกายและมิกิไปอยู่ที่บ้านใหม่ที่เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี การเดินทางแม้จะมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก และค่าใช้จ่ายสูง

แถมต้องยอมเสี่ยงโหลดมิกิไป 1 ตัว ส่วนสกายได้อยู่กับแม่ใต้เก้าอี้ แต่ก็หายเหนื่อยทันที ที่เครื่องบินแตะพื้นรันเวย์ และแมวทั้ง 2 ตัวเจอกันอย่างปลอดภัย และทั้ง 2 ตัวกลายเป็น “มาดามมิกิ” และ สกาย หนุ่มเยอรมัน

นิฐิญา บอกว่าแม้จะมีแมว 2 ตัวแต่ก็ไม่ได้มีช่องว่างกับสามี รวมทั้งลูกสาว และหลานชาย เพราะทุกคนรักน้องแมว และให้เวลาร่วมกันทั้งสามี ลูก และแมว 2 ตัวก็ทำกิจกรรมร่วมกันได้ พาไปต่างจังหวัด เวลาพกใส่กระเป๋า เรียกว่าไปไหนไปกันทั้งบ้าน

สำหรับคนเทรนด์ใหม่ที่อยากเลี้ยงหมาแมว แบบลูกหรือคนในครอบครัว เธอบอกว่า ก่อนจะไปรับหมาแมวมาเลี้ยงต้องดูว่าเรามีเวลา และต้องรู้กิจวัตรประจำวันของเรา ตอนเด็กเขาอาจจะน่ารัก แต่พอโตเลี้ยงไม่ไหวทอดทิ้ง ต้องให้ความรักเอาใจใส่เป็นลูกเป็นหลานแบบคนในครอบครัว

เมื่อคิดจะเอามาเลี้ยงดูต้องเลี้ยง จนถึงวินาทีสุดท้ายจนลมหายใจสุดท้าย เพราะเขามีหัวใจเหมือนกับเรา วันหนึ่งถ้าไม่รักเขา หรือคิดจะเอาไปให้คนอื่น เชื่อว่าน้องก็ต้องคิดถึงเรา เพราะน้องรักเรา ต้องรักเขาจนวันสุดท้ายที่มีลมหายใจ
ครอบครัวที่กลายเป็นทาสแมว

ครอบครัวที่กลายเป็นทาสแมว

ครอบครัวที่กลายเป็นทาสแมว

หมา-แมว ตัวแทนลูก คนในครอบครัว

สอดคล้องกับความเห็นของ นายสัตวแพทย์เกษตร สุเตชะ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (มก.) บอกว่า 20 ปีที่ผ่านมาโครงสร้างทางสังคมไทยเปลี่ยนไป คนแต่งงานช้ามีลูกน้อยลง ไม่ได้อยู่แบบครอบครัวใหญ่ พ่อแม่ที่ลูกโตแล้ว อยู่กันแบบตา-ยาย กลุ่มเพศทางเลือก ทำให้คนนิยมเลี้ยงหมา แมวแบบลูกหรือที่เรียกว่า Pet Humanization เป็นการเลี้ยงแบบเสมือนลูก แบบเป็นสมาชิกในครอบครัว

โดยเฉพาะช่วงโควิด-19 ตลาดสัตว์เลี้ยงเติบโตมาก เพราะคนหยุดอยู่บ้านมีเวลาดูหมา แมวมากขึ้น จากเดิมที่ออกไปทำงานไม่มีเวลาดูแล จนได้ WFH มีเวลาดูแลสัตว์เลี้ยงมากขึ้น 

สัตว์เลี้ยงในบ้านเป็นสมาชิกของครอบครัว เหมือนลูก ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงแบบในอดีตที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนแบบเมื่อ 30-40 ปีก่อน คือไม่ใช่เลี้ยงหมาไว้กินเศษอาหาร หรือเลี้ยงวัวควายไว้ไถนา
นายสัตวแพทย์เกษตร สุเตชะ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (มก.)

นายสัตวแพทย์เกษตร สุเตชะ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (มก.)

นายสัตวแพทย์เกษตร สุเตชะ คณะสัตวแพทยศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ (มก.)

Pet Humanization ส่งผลตลาดสัตว์โต

หมอเกษตร บอกอีกว่า สำหรับสัตว์เลี้ยงยอดฮิต 5 อันดับแรกคือ หมา แมวกระต่าย สัตว์ปีก เช่น นกสวยงาม นกเสียงร้อง กลุ่มสัตว์เลื้อยคลาน เช่น กลุ่มเต่า งู รวมทั้งปลาสวยงาม โดยกลุ่มหมาและแมว ถือว่าฮิตมากที่สุด มีการศึกษาว่าตลาดวงจรของธุรกิจนี้เติบโตถึง 35,000 ล้านบาท 

กลุ่มหมา แมว มากที่สุด เพราะเป็นสัตว์ที่มีหลายพันธุ์และเลือกเลี้ยงตามลักษณะของผู้เลี้ยงได้ง่าย รวมทั้งสัตว์กลุ่มนี้มีอายุยืนขึ้น 2 เท่าคือหมา-แมวอายุยืนถึง 10-15 ปี แต่ก็มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายที่ลงทุน ซึ่งหมาแมวบางทีค่ารักษาเป็นแสนบาทถ้าต้องรักษาตัวจากมะเร็ง ต้องฉายแสง ดังนั้นเฉลี่ยต่อปีอาจสูงถึง 10,000-50,000 บาท

ส่วนกลุ่มสัตว์แปลกที่คนนิยม และยอดฮิตแบบลูก เช่น พวกกระต่าย หนูแกสบี้ นกแก้ว คือเลี้ยงแบบเอามาเล่นด้วย นอนกินข้าว ดูทีวีด้วยกัน เข้าห้องน้ำด้วยกัน และบางคนเอานกเกาะบ่า มารักษา บางคนก็เลี้ยงงูเหลือม งูหลาม ซึ่งนิยมในกลุ่มชาวต่างชาติ

ที่เคยเห็นเด็กเลี้ยงเต่า เอามาวางเป็นเพื่อนทำการบ้าน และดูทีวี ส่วนบางคนก็หนูแกสบี้ เอามานอนเล่น ดูทีวีเป็นเพื่อน

แต่หากถามว่ามีสักกี่คนที่จะเลี้ยงสัตว์น่ารักแบบลูก และไม่ทอดทิ้ง หมอเกษตร บอกว่า เชื่อว่า 2 ใน 10 คนที่เลี้ยงสัตว์แล้วมีโอกาสที่จะทอดทิ้งให้พวกเขาเป็นสัตว์กำพร้า หลังจากผ่านความน่ารักในช่วงวัยเด็กไปแล้ว หรือบางคนโดนกัด หรือทำลายข้าวของ เหล่านี้เป็นสาเหตุที่หมา แมว ถูกทอดทิ้ง  

ศิราณีประจำบ้าน-เลี้ยงเมื่อพร้อมจนสิ้นอายุ

สำหรับ "หมอเกษตร" ความทรงจำในวัยเด็ก คือเลี้ยงห่าน และโตมากับการอาบน้ำกับห่านในกะละมังเดียวกัน รวมทั้งเลี้ยงเป็ด ไก่ ส่วนหมา ก็วิ่งเล่น วิ่งลงคลอง และนอนเป่าพัดลมเวลาที่ร้อนเรียกว่ามีสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน

การเลี้ยงสัตว์ทำให้บำบัดจิตใจ น้องเหมือนเป็นศิราณี ฟังอย่างเดียวไม่เคยพูดต่อให้ใครฟังทุกเรื่อง ไม่ว่าจะทุกข์ ให้เราระบายได้เต็มที่ เศร้า โชคร้าย ผิดพลาด อกหัก เขาไม่เคยเถียงเรา 

ทั้งนี้ หมอเกษตร ฝากสำหรับคนที่เลี้ยงหมา แมวเป็นเพื่อน เป็นลูก อยากให้ประเมินตัวเองว่า พร้อมรับผิดชอบสัตว์ไปจนสิ้นอายุขัยหรือไม่ เลือกสายพันธุ์ สัตว์ที่เหมาะสมกับสภาพบ้านเรือน สภาพเศรษฐกิจ เช่นมีเงินเดือน 15,000 บาท

รวมทั้งต้องทำกิจกรรมด้วยกันกับสัตว์ อย่าปล่อยให้หมาแมวอยู่บ้านเพียงลำพังเช่น พานั่งรถเที่ยว ใส่สายจูงเดิน ไปเที่ยวต่างจังหวัด ชีวิตน้องก็จะไม่จำเจ และเลี้ยงจนสิ้นอายุทั้งเราและสัตว์ที่เราเลี้ยงก็จะมีความสุข

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

วันแม่ 2566 : เมนู "รสมือแม่" อร่อยไม่เคยลืม ทั้งพิเศษ และอบอุ่นหัวใจ

วันแม่ 2566 : "พวงมาลัย-ดอกไม้" ของขวัญยอดฮิตวันแม่

วันแม่ 2566 : "3 เมนูดอกมะลิ" มื้ออร่อย อิ่มท้อง ชื่นใจ ทำให้แม่กิน

วันแม่ 2566 : นมแม่อาหารวิเศษสุดสำหรับลูก ประโยชน์ทั้งแม่-ลูกน้อย

วันแม่ 2566 : "เรียกแม่สิลูก" รวมคำเรียกชื่อ "แม่" ในภาษาต่างๆ

12 สิงหาคม "วันแม่แห่งชาติ 2566" มีความเป็นมาอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง