นักวิทย์สกัดแอนติบอดี จากฟันมนุษย์ยุคกลางอายุ 800 ปี ได้สำเร็จ

Logo Thai PBS
นักวิทย์สกัดแอนติบอดี จากฟันมนุษย์ยุคกลางอายุ 800 ปี ได้สำเร็จ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม (University of Nottingham) พบว่า "ฟัน" มีความสามารถในการรักษาแอนติบอดีได้นานหลายศตวรรษ ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสำรวจความเป็นมาของโรคติดเชื้อในมนุษย์ได้

"แอนติบอดี" คือ โปรตีนที่ดีที่สุดที่ระบบภูมิคุ้มกันสร้างขึ้นเพื่อการตอบสนองต่อเชื้อโรค เช่น ไวรัสและแบคทีเรีย ซึ่งโปรตีนเหล่านี้ทำหน้าที่ในการระบุจุลินทรีย์ที่เป็นอันตราย อีกทั้งยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันกำหนดเป้าหมายและกำจัดจุลินทรีย์เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าแอนติบอดีที่สกัดจากฟันมนุษย์ยุคกลางที่มีอายุ 800 ปี มีความเสถียรและยังสามารถจดจำโปรตีนของไวรัสได้

การศึกษาโปรตีโอมิกส์ (Proteomics) สามารถย้อนเวลากลับไปสู่ช่วงเวลาที่ลึกกว่ายุคกลางได้ด้วยการกู้คืนและจัดลำดับความเก่าแก่ของซากกระดูกโบราณหลังการเก็บรักษา พบเปลือกไข่นกกระจอกเทศอายุมากกว่า 6.5 ล้านปี ชั้นเคลือบฟันของแรดโบราณอายุกว่า 1.7 ล้านปี และในการศึกษาใหม่ครั้งนี้ยังพบหลักฐานเบื้องต้นว่ากระดูกแมมมอธที่มีอายุเกือบ 40,000 ปี ดูเหมือนจะสามารถรักษาแอนติบอดีที่เสถียรได้เช่นเดียวกันกับฟันของมนุษย์ในยุคกลาง

ก่อนหน้านี้ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮมได้ใช้การวิเคราะห์โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับโรคอื่น ๆ ที่ได้มาจากกระดูกและฟันของมนุษย์ทางโบราณคดี เพื่อให้สามารถระบุความผิดปกติของโครงกระดูกซึ่งเกิดจากโรคพาเจท (Paget's disease)

โปรตีนโบราณมีความเสถียรอย่างน่าทึ่ง โดยแอนติบอดีทำหน้าที่ในการจดจำไวรัสหรือแบคทีเรียได้ดีแม้ผ่านไปนานหลายร้อยปี ซึ่งจากการศึกษาพบว่า แอนติบอดีจากฟันของมนุษย์ในยุคกลางสามารถจดจำไวรัสเอปสไตน์บาร์ (Epstein-Barr virus - EBV) ซึ่งเป็นสาเหตุของไข้ต่อมน้ำเหลืองโตได้ ในอนาคตอาจเป็นไปได้ที่จะสามารถดูว่าแอนติบอดีโบราณมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อโรคที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว เช่น กาฬโรค เป็นต้น

ที่มาข้อมูล: scitechdaily, cell
“รอบรู้ ดูกระแส ก้าวทันโลก” ไปกับ Thai PBS Sci & Tech

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง