"ขังนอกคุก" เบื้องหลัง บิ๊กราชทัณฑ์ VS Mastermind ชั้น 14

การเมือง
19 ธ.ค. 66
16:51
594
Logo Thai PBS
"ขังนอกคุก" เบื้องหลัง บิ๊กราชทัณฑ์ VS Mastermind ชั้น 14
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ประเด็นร้อนที่สังคมกำลังเฝ้าจับตาขณะนี้ คือ "ทักษิณ ชินวัตร" นักโทษที่กำลังนอนพักรักษาตัวอยู่ที่ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ จะเข้าข่ายได้รับสิทธิคุมขังนอกเรือนจำตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ ว่าด้วยการดำเนินการ สำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 ที่ออกมาอย่างเร่งด่วน ... หรือไม่

หลังจากเมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2566 กรมราชทัณฑ์ไม่ได้มีการยกร่างพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษเป็นการทั่วไป และเพียงข้ามคืนเข้าสู่วันที่ 6 ธ.ค.2566 "สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์" รองปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะรักษาราชการแทนอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้ลงนามประกาศระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 หรือที่เรียกว่า "ระเบียบคุมขังนอกเรือนจำ" โดยมีผลบังคับใช้ทันที

สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์

สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์

สหการณ์ เพ็ชรนรินทร์

สาระสำคัญ คือ กำหนดสถานที่คุมขังอื่นที่มิใช่เรือนจำ ตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 และพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังแต่ละประเภทและการอื่นตามมาตรา 34 แห่ง พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ.2560 พร้อมส่งหนังสือแจ้งไปยัง ผบ.เรือนจำ, ผอ.ทัณฑ สถาน, ผอ.สถานกักขัง และ ผอ.สถานกักกัน เพื่อให้ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว

พลันที่ระเบียบดังกล่าวเผยแพร่ออกมา ไม่เพียงทำให้หลายภาคส่วนของสังคมออกมาเคลื่อนไหวและตั้งคำถามว่า เป็นการกระทำที่ต้องการเอื้อประโยชน์ให้ "ทักษิณ" ล่วงหน้าไว้ก่อนหรือไม่ นับตั้งแต่ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ 2560 มาตรา 33 ว่าด้วยระเบียบการคุมขังนอกเรือนจำ เรื่องหลักเกณฑ์การคัดเลือกนักโทษเด็ดขาด เข้าโครงการพักการลงโทษกรณีมีเหตุพิเศษ นักโทษเด็ดขาดระยะสั้น

แม้ภายหลังกฎกระทรวงจะออกประกาศใช้ มาตรา 34 กำหนดให้อธิบดีกรมราชทัณฑ์ดำเนินการออกระเบียบ มารองรับการออกระเบียบใช้เมื่อปี 2563 กรณีนักโทษได้รับโทษ 1 ใน 3 ของโทษสุดท้าย ซึ่งประกาศดังกล่าว กลับมีผลบังคับใช้ระยะสั้นๆ เท่านั้น และต่อมามีการประกาศยกเลิก

ขณะที่ สหการณ์ อธิบายว่า มีการบังคับใช้ พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ตั้งแต่ปี 2560 แต่ขณะนี้ระเบียบกรมราชทัณฑ์ว่าด้วยการดำเนินการสำหรับการคุมขังในสถานที่คุมขัง พ.ศ.2566 ที่ประกาศออกมารองรับ ถือว่าเกินกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้สั่งให้ทุกหน่วยงาน กระทรวง ออกกฎหมายของตัวเองให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็วที่สุด ซึ่งทุกหน่วยงานต้องเร่งทำให้เสร็จสิ้น

"การออกระเบียบดังกล่าวไม่ได้มองว่าใครได้ประโยชน์ หรือออกระเบียบแล้ว จะมีใครบ้างที่เข้าเกณฑ์ได้รับการพิจารณาตามกฎกระทรวงและระเบียบที่กำหนดไว้ การพิจารณาว่าจะเข้าเกณฑ์ได้รับประโยชน์หรือไม่ ต้องดูระยะเวลาการรับโทษ และพฤติกรรมระหว่างต้องโทษ ว่ามีความเสี่ยงหรือไม่ ต้องประเมินความเสี่ยงในการกระทำผิดซ้ำ และสถานที่คุมขังมีความพร้อมในการดูแลผู้ต้องขังหรือไม่"

และ "ทักษิณ" จะได้รับประโยชน์จากระเบียบดังกล่าวหรือไม่นั้น รักษาการอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ชี้แจงว่า ยังระบุไม่ได้จนกว่าทางเรือนจำจะมีการคัดกรองและเสนอรายชื่อขึ้นมายังกรมราชทัณฑ์ โดยทั้งหมดจะเป็นไปตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร

ทักษิณ ชินวัตร

เผือกร้อน "เสนอชื่อผู้ต้องขังหา" ขังนอกเรือนจำ

สำหรับขั้นตอนการพิจารณาว่า ผู้ต้องขังรายใดเข้าเกณฑ์ได้รับประโยชน์ที่จะไปคุมขังนอกสถานที่คุมขัง หลังจากกรมราชทัณฑ์ส่งหนังสือแจ้งรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติไปยังเรือนจำและทัณฑสถาน 144 แห่งทั่วประเทศ เพื่อให้คณะกรรมการฯ ในแต่ละเรือนจำได้พิจารณาผู้ต้องขังที่เข้าเกณฑ์ และรวบรวมรายชื่อ เสนอมายังกรมราชทัณฑ์ตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.ที่ผ่านมา

สำหรับคุณสมบัติของผู้เข้าเกณฑ์ตามระเบียบฯ นอกจากพิจารณาด้านพฤตินิสัยของผู้ต้องขังแล้ว ยังต้องดูว่ามีรายใดสมควรอยู่นอกเรือนจำ, เหลือโทษจำคุกเล็กน้อย, ไม่มีความเสี่ยง, เจ็บป่วย, เป็นผู้ต้องขังสูงวัย และ หากเรือนจำเห็นว่า การคุมขังดูแลผู้ต้องขังภายนอกเรือนจำจากครอบครัว อาจมีประโยชน์มากกว่าก็จะได้รับประโยชน์ด้วย

และจำนวนนี้ยังรวมกลุ่มผู้ต้องขังที่มีการเตรียมความพร้อมก่อนปล่อยเพื่อให้กลับคืนสู่สังคมและใช้ชีวิตอย่างปกติสุขด้วย โดย "จุฑารัตน์ จินตกานนท์" รองอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในฐานะประธานคณะทำงานพิจารณาการคุมขังในสถานที่คุมขังจะเป็นผู้พิจารณาหลังจากคณะกรรมการในแต่ละเรือนจำได้เสนอรายชื่อผู้ต้องขังทั้งหมดเข้ามาที่กรมราชทัณฑ์แล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีใครให้คำตอบได้ว่า ระเบียบดังกล่าว ได้มีการวางหลักเกณฑ์ ไม่อนุญาตให้นักโทษคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ได้รับสิทธิประโยชน์ในการพิจารณาด้วยหรือไม่ ท่ามกลางกระแสข่าวสะพัดทั่วกรมราชทัณฑ์ว่า การพิจารณารายชื่อผู้ต้องหาเพื่อขังนอกคุก ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้าราชการคนใดกล้าลงนามในคำสั่งดังกล่าว

จับตา "ผู้ต้องหาคนดัง" รับอานิสงส์ระเบียบขังนอกคุก

ไม่ใช่เฉพาะชื่อ "ทักษิณ" ที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทั้งในและนอกสภา จากการออกระเบียบของกรมราชทัณฑ์ โดย "สหการณ์" ว่าที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งฝั่งที่ไม่เห็นด้วยและออกมาคัดค้านมองว่า คือ ความไม่เท่าเทียมและเป็นการท้าทายกระบวนการยุติธรรมอย่างรุนแรง ด้วยเหตุผล นับตั้งแต่เดินทางกลับประเทศ และเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวจากศาล และได้อภัยลดโทษเหลือจำคุกเพียง 1 ปี ทักษิณ ยังไม่เคยนอนในเรือนจำสักครั้ง โดยอ้างเหตุป่วยและต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลตำรวจ และจะครบ 120 วัน ในวันที่ 22 ธ.ค.2566

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง

และหากจะนอนพักรักษาตัวที่ รพ.ต่อไป ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ระบุว่าเมื่อครบกำหนด 120 วันแล้ว "สหการณ์" ในฐานะอธิบดีกรมราชทัณฑ์จะมีอำนาจให้ความเห็นชอบ โดยต้องเสนอเรื่องดังกล่าวต่อ "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมให้รับทราบ

"ขณะนี้ทักษิณ ยังไม่เข้าเกณฑ์ใดๆเพราะการเข้าเกณฑ์พักโทษจะต้องรับโทษ 1 ใน 3 หรือ 6 เดือน ก่อน จึงจะเข้าเงื่อนไขการพักโทษ ซึ่งจะครบในวันที่ 22 ก.พ.2567 นี้ ส่วนจะมีการเปิดช่องให้เข้าระเบียบขังนอกเรือนจำหรือไม่ ... ต้องดูว่าใครจะเป็นผู้เสนอและเซ็นคำสั่งออกมา"

นอกจาก "ทักษิณ" แล้ว ยังมีอดีตนักธุรกิจและอดีตนักการเมืองหลายคนที่ถูกจับตาว่าจะได้รับประโยชน์จากระเบียบราชทัณฑ์ฉบับนี้ เช่น 

  • บุญทรง เตริยาภิรมย์ ผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม คดีทุจริตจำนำข้าวจีทูจี ปี 2561 ถูกศาลพิพากษาจำคุก 48 ปี ได้รับอภัยโทษในปี 2564 สองรอบ ทำให้เหลือวันต้องโทษ 10 ปี จะพ้นโทษ 21 เม.ย2571
  • ภูมิ สาระผล ผู้ต้องขังชั้นเยี่ยม คดีทุจริตจำนำข้าว ปี 2560 ศาลพิพากษาจำคุก 36 ปี ได้รับอภัยโทษ ลดวันต้องโทษ ปี 2564 ในรอบแรก เหลือวันต้องโทษจำคุก 12 ปี ได้รับอภัยโทษ ลดวันต้อง โทษ ปี 2564 ในรอบสอง เหลือวันต้องโทษ 8 ปี จะพ้นโทษ 25 ส.ค.2568
  • ศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น คดียักยอกเงินสหกรณ์ฯ 22 ล้านบาท ถูกสั่งจำคุก 14 ปี เมื่อปี 2562 จำเลยสารภาพจึงลดโทษกึ่งหนึ่งคงจำคุก 7 ปี
  • ส่วน "เสี่ยเปี๋ยง" อภิชาต จันทร์สกุลพร ผู้ต้องขังคดีทุจริตจำนำข้าวจีทูจี ปี 2561 ถูกศาลพิพากษาจำคุก 48 ปี ได้รับอภัยโทษ 2 รอบในปี 2564 หรือจำคุกจริง 6 ปี 3 เดือน 26 วัน จะพ้นโทษวันที่ 26 ธ.ค.2566

ส่วนผู้ที่ไม่ได้รับอานิสงค์ คือ วัฒนา เมืองสุข นักโทษคดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร ปี 2565 ศาลมีคำสั่งจำคุก 50 ปี ให้ชดใช้เพิ่ม 89 ล้านบาท และ ธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีดีเอสไอ ศาลสั่งจำคุก 2 ปี เมื่อวันที่ 10 ก.ค.2566 คดีเจตนากลั่นแกล้ง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ โดยใช้อำนาจดีเอสไอ สั่งฟ้องโดยไม่ผ่าน ป.ป.ช.คดีสั่งสลายการชุมนุม นปช. เมื่อปี 2553

เครือข่ายบ้านใหญ่ VS มาสเตอร์มายด์ใน "ยธ."

บ้านใหญ่เพื่อไทยไม่ได้คุมกระทรวงยุติธรรม แต่รับรู้กันกลุ่มข้าราชการระดับสูงในกระทรวงยุติธรรมว่า "สมชาย วงศ์สวัสดิ์" อดีตผู้พิพากษาที่โอนย้ายมาเป็นปลัดกระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่ครั้งศาลและกระทรวงยุติธรรมแยกออกจากกันเมื่อปี 2543

สมชาย วงศ์สวัสดิ์

สมชาย วงศ์สวัสดิ์

สมชาย วงศ์สวัสดิ์

สมชาย แต่งงานกับ "เยาวภา วงศ์สวัสดิ์" น้องสาวของ "ทักษิณ" และก้าวขึ้นเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชนและเป็นนายกฯ คนที่ 26 ในเครือตระกูลชินวัตร หลังเกิดเหตุการณ์ยุบพรรคไทยรักไทย

ในขณะที่อดีตนายก"สมชาย" มีบารมีแบบจัดเต็มและต่อเนื่องยาวนานในกระทรวงยุติธรรม ส่วนข้าราชการระดับสูงที่ตอบสนองนโยบายการทำงานในยุคที่ "สมชาย "เป็นปลัดกระทรวง คือ "ชูจิรา กองแก้ว"อดีตอดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม และภายหลังได้สไลด์เป็นไปอธิบดีกรมบังคับคดี สำหรับ "ชูจิรา" ไม่ถือว่าเป็นลูกน้อง แต่เป็นภรรยาของเพื่อนสนิท ซึ่งเป็นผู้พิพากษาด้วยกันมาก่อน และยังมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ "เยาวภา" ด้วย

การเลือกตั้งหลังเหตุการณ์รัฐประหาร ในสมัยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา "สมศักดิ์ เทพสุทิน" เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โควตาพรรคพลังประชารัฐ มีหน้าที่กำกับดูแลและบริหารจัดการนโยบาย 11 หน่วยงานในสังกัด และก่อนหน้าที่ "สมศักดิ์" จะตีจากพรรคพลังประชารัฐกลับไปซบพรรคเพื่อไทย ได้มีการแก้ไขกฎระเบียบกฎหมายหลายเรื่อง โดยเฉพาะกฎระเบียบ พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า สมศักดิ์มีส่วนสำคัญทั้งทางตรงและทางอ้อม

แม้ว่าปัจจุบันจะพ้นตำแหน่ง รมว.ยธ.แล้วก็ตาม เมื่อเข้าสู่ยุครัฐบาลเพื่อไทย "สมศักดิ์" กลับมารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในสังกัดพรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่กำกับดูแลจังหวัดชายแดนภาคใต้และกระทรวงยุติธรรม แม้จะมีกระทรวงยุติธรรมจะมี "พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง" หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นรัฐมนตรีว่าการตัวจริง แต่มีภารกิจเกี่ยวพันที่ต้องอยู่ภายใต้กำกับของ "สมศักดิ์"รองนายกรัฐมนตรี

ขณะเดียวกันปฎิเสธไม่ได้ว่า ข้าราชการกระทรวงยุติธรรมที่ทยอยเติบโตตามเส้นทางรับราชการ ล้วนมีสายสัมพันธ์ที่ดีกับ "ขั้วอำนาจบ้านใหญ่" ทั้งสิ้นต่างเพียงว่าใครจะสามารถตอบสนองคำสั่งสายตรงได้เท่านั้น

ข้อมูลในแวดวงกระบวนการยุติธรรมระบุว่า "สมชาย" ชาว จ.นครศรีธรรมราช เกษียณจากวงการนี้ไปนานแล้ว แต่ลูกน้องยังอยู่ และว่า ที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์"สหการณ์"ชาวจ.สงขลา คือ สายตรงอีกคนหนึ่ง ที่เติบโตในชีวิตราชการอย่างรวดเร็ว จากข้าราชการในกองนโยบายและแผน กระทรวงยุติธรรม ขึ้นเป็นผอ.สำนักบริหารงานยุติธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศอ.บต ในปี 2543 ต่อมาเป็น ผอ.กองกลางเจ้าหน้าที่ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม, รอง ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์, รองอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน และอธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนตามลำดับ จนมาอยู่ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

และว่าที่อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ทำหน้าที่คลอดระเบียบดังกล่าวออกมา ... 

อ่านข่าวเพิ่ม : 

จับกระแสการเมือง : วันที่ 19 ธ.ค.2566 คลื่นลูกเล็ก "ฤา สึนามิการเมือง เอื้อขัง "ทักษิณ" นอกคุก"

เปิดคำต่อคำ “จตุพร” มองอนาคต “ทักษิณ”

ปชป.เครื่องร้อนยื่นคำร้องศาลขอไต่สวนบังคับคดีจำคุก "ทักษิณ"

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง