"ป่าไม้" สอบรุก "หาดฟรีดอม" จัดระเบียบใหม่ห้ามเตียงร่มผ้าใบกาง

สิ่งแวดล้อม
12 ก.พ. 67
17:11
507
Logo Thai PBS
"ป่าไม้" สอบรุก "หาดฟรีดอม" จัดระเบียบใหม่ห้ามเตียงร่มผ้าใบกาง
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
อธิบดีกรมป่าไม้ สั่งตั้งกรรมการสอบป่าไม้เอี่ยวตั้งเตียงผ้าใบรุกหาดฟรีดอม จ.ภูเก็ตแล้ว ชี้ลงตัวให้จัดระเบียบห้ามกางร่มเตียงผ้าใบบนชายหาด แย้มอยู่ในขั้นตอนประกาศเป็น "ป่านันทนาการ" พื้นที่ 48 ไร่เพื่อการท่องเที่ยว

กรณีโซเชียลเผยภาพ "หาดฟรีดอม" ​ซึ่งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานาคเกิด จ.ภูเก็ต ซึ่งได้รับการจัดอันดับให้เป็นชายหาดที่มีความสวยงาม อันดับ 18 ของโลก แต่กลับพบมีการวางเตียงผ้าใบจนแน่นพื้นที่

วันนี้ (12 ก.พ.2567) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หน่วยงานที่เกี่ยวในพื้นที่ จ.ภูเก็ต กรมป่าไม้ พร้อมปลัดจังหวัดลงพื้นที่ตรวจสอบ รวมทั้งนายเฉลิมพงศ์ แสงดี สส.พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบปัญหากางร่มเตียงชายหาด แต่กลับไม่พบตามภาพที่ปรากฎ

นายเฉลิมพงศ์ กล่าวว่า หลังลงตรวจทางเจ้าหน้าที่ของฝ่ายปกครอง ได้ให้ข้อมูลว่าไม่มีการพบร่มเตียงแต่อย่างใด ขณะเดียวกันพบว่ามีผู้ประกอบการได้นำสินค้าวางจำหน่ายประมาณ 10 ร้านค้า และยังมีการอ้างว่าได้รับการอนุญาตจากกรมป่าไม้แล้ว

หาดฟรีดอม ก่อนจัดระเบียบที่พบกางร่มเตียงผ้าใบจนแน่นหาด (เพจขยะมรสุม )

หาดฟรีดอม ก่อนจัดระเบียบที่พบกางร่มเตียงผ้าใบจนแน่นหาด (เพจขยะมรสุม )

หาดฟรีดอม ก่อนจัดระเบียบที่พบกางร่มเตียงผ้าใบจนแน่นหาด (เพจขยะมรสุม )

สั่งสอบ จนท.ปมถูกโยงเอื้อรุกหาดฟรีดอม

ด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ว่า ทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า มีเจ้าหน้าที่ป่าไม้เข้าไปเกี่ยวข้องในการเปิดอนุญาตให้เช่าทำกิจการท่องเที่ยวในพื้นที่จริงหรือโดยสั่งให้ ผอ.สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 (สาขากระบี่) ตั้งกรรมการตรวจสอบเท็จจริงว่า การเอื้อประโยชน์ด้วยหรือไม่ และวันพรุ่งนี้ (13 ก.พ.) จะลงพื้นที่รวมทางจังหวัดหาแนวทางในการจัดระเบียบ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา

ล่าสุดกรมป่าไม้ ประชุมร่วมกับทางภูเก็ต ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะจัดระเบียบห้ามนักท่องเที่ยวนำเตียง และร่มมากางบริเวณหาดฟรีดอมอย่างเด็ดขาด เพื่อรักษาสภาพพื้นที่ โดยจะตั้งจุดตรวจ

อีก 30 วันประกาศ "ป่านันทนาการ-ไม่เอื้อนายทุน"

อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ พื้นที่หาดฟรีดอม ยังอยู่ในขั้นตอนประกาศเป็นพื้นที่ป่านันทนาการพื้นที่  48 ไร่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้ประ โยชน์ในพื้นที่ท่องเที่ยว หลังจากทางพื้นที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ มาแล้ว คาดว่าภายใน 30 วันข้างหน้า จะประกาศเป็นป่านันทนาการได้ เหมือนกับป่านันทการที่กรมป่าไม้ประกาศไปแล้ว 30 แห่งทั่วประเทศ เช่น หินสามวาฬ ในป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงดิบกะลา ป่าภูสิงห์ อ.เมืองบึงกาฬ  ทะเลหมอกอัยเยอร์เวง ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ป่านันทนาการ เกาะมุก
ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแกะมุก อ.กันตรัง จ.ตรัง 

ถ้าประกาศแล้วจะช่วยให้ควบคุมการท่องเที่ยวได้ดีขึ้น เพราะจะมีกฎระเบียบที่ชัดเจน ยืนยันว่าการประกาศไม่ได้มีการตั้งเป้า เพื่อเก็บเงินรายได้ หรือเอื้อประโยชน์ให้นายทุน

โดยที่ผ่านมามีการสอบถามความเห็นทางวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องจัดระเบียบและคุมนักท่องเที่ยวไม่ให้เกิดผลกระทบแน่นอน เพราะพื้นที่นี้กรมป่าไม้ ก็เคยยึดคืนจากนายทุนที่บุกรุกมาเป็นสมบัติของชาติแล้วจะไม่ให้ซ้ำรอยแน่นอน โดยการควบคุมพื้นที่ต้องไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ อย่างเด็ดขาด และกำหนดให้ท่องเที่ยวแบบไปกลับเท่านั้น 

หาดฟรีดอม ก่อนจัดระเบียบที่พบกางร่มเตียงผ้าใบจนแน่นหาด (เพจขยะมรสุม )

หาดฟรีดอม ก่อนจัดระเบียบที่พบกางร่มเตียงผ้าใบจนแน่นหาด (เพจขยะมรสุม )

หาดฟรีดอม ก่อนจัดระเบียบที่พบกางร่มเตียงผ้าใบจนแน่นหาด (เพจขยะมรสุม )

หาดฟรีดอม ติดอันดับสวยงามที่ 18 ของโลก

สำหรับหาดฟรีดอม ได้รับการจัดอันดับให้เป็นชายหาดที่มีความสวยงาม อันดับ 18 ของโลกเมื่อปีที่แล้ว และก่อนหน้านี้มีการประกาศให้หาดฟรีดอม เป็นหาดอนุรักษ์ห้ามมีร่ม เตียง และร้านค้า ตามคำสั่ง คสช.เป็นเขตอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

จากเอกสารบันทึกการตรวจสอบพื้นที่เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2566 เนื้อหาระบุว่าสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 12 สาขากระบี่ มอบหมายเจ้าหน้าที่ไปปฎิบัติงานเฝ้าระวังพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเทือกเขานาคเกิด บริเวณหาดฟรีดอม และบริเวณหาดนุ้ย บริเวณหมู่ที่ 1 ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต

ผลการตรวจสอบพบว่า มีการกางร่มและเตียงเต็มบริเวณชายหาดฟรีดอม พบผู้ประกอบการรับเป็นเจ้าของร้านค้า รวม 10 ราย ซึ่งทุกรายจะมีการเปิดร้านขายอาหาร และเครื่องแอลกอฮอล์ พร้อมบริการให้เช่าร่มและเก้าอี้เป็นชุด ตั้งแต่ชุดละ 200- 400 บาท

โดยทั้งหมดให้ข้อมูลตรงกันว่า มีการเริ่มนำร่มเตียงมาวาง และเช่าเมื่อประมาณเดือนต.ค.2566 และมีการกล่าวอ้างว่าผู้เริ่มเป็นรายแรกเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้รายหนึ่ง แต่มีชายอีกคนเป็นผู้เก็บค่าเช่า หลังจากมีการสอบปากคำ และพูดคุยกับผู้ประกอบการทั้ง 10 คน ได้ขอความร่วมมือให้รื้อถอนร่ม และเก้าอี้ออกจากหน้าหาดภายในวันดังกล่าว 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง