"ศิริกัญญา" แนะ รบ.ปรับเงื่อนไขเงินดิจิทัล จูงใจร้านเล็กเข้าโครงการ

การเมือง
21 เม.ย. 67
09:50
186
Logo Thai PBS
"ศิริกัญญา" แนะ รบ.ปรับเงื่อนไขเงินดิจิทัล จูงใจร้านเล็กเข้าโครงการ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
ยังไม่ชัดว่ารัฐบาลจะนำผลประชุมบอร์ดดิจิทัลวอลเล็ตเข้าสู่ ครม.ให้พิจารณาช่วงใด แต่หลังการแถลงเมื่อวันที่ 10 เม.ย. ก็ถูกตั้งข้อสังเกตต่อเนื่อง ล่าสุด "ก้าวไกล" จัดเวทีชำแหละแนะ รบ. ปรับเงื่อนไข ดึงดูดร้านค้าขนาดเล็กเข้าร่วม ไม่ให้เงินหมุนเข้ากระเป๋าทุนใหญ่

เมื่อวันที่ 20 เม.ย.2567 เวทีเสวนา "ดิจิทัลวอลเล็ตเงินกำลังจะหมุนไปไหน" ของพรรคก้าวไกล น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ตั้งคำถามถึงร้านค้าขนาดเล็ก ที่กินความหมายกว้างมาก รวมถึงร้านสะดวกซื้อเชนใหญ่ทั้งหมด ขณะที่เงื่อนไขการใช้เงินที่อาจจะทำให้ร้านค้าขนาดเล็กไม่อยากเข้าร่วมโครงการ และอาจไม่มีเงินไปต่อทุน สิ่งเหล่านี้อาจสร้างความยุ่งยาก และเป็นอุปสรรคให้ร้านขนาดเล็กไม่สามารถสู้กับร้านสะดวกซื้อเชนใหญ่ที่มีความพร้อมได้ จึงชัดว่าเงินที่กำลังจะหมุนไป จะกระจุกอยู่ที่ทุนขนาดใหญ่

ดังนั้นเหลือเวลาอีกประมาณ 3 เดือน ก่อนเปิดลงทะเบียนร้านค้า จึงควรปรับเปลี่ยนเงื่อนไขเพื่อจูงใจให้ร้านค้าขนาดเล็กเข้าร่วม ส่วนประเด็นแหล่งที่มาของเงินที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาทำให้เกิดปัญหา และซูเปอร์แอป ชื่อ "ทางรัฐ" น่ากังวลว่าระบบหลังบ้านจะเสร็จทันหรือไม่

ขณะที่ นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย ตั้ง 3 ข้อสังเกต เสนอแนะต่อรัฐบาลในนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ว่าหากการแจกเงินหมื่นบาท เลื่อนไปเป็นไตรมาสที่ 4 หอการค้าฯ มองว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้า จึงควรเร่งจัดสรรงบประมาณปี 67 ให้เฉพาะกลุ่มเปราะบางที่เดือดร้อนก่อน สำหรับการจัดทำแอปพลิเคชันใหม่ อาจทำให้เกิดความยุ่งยาก จึงเสนอให้ใช้แอป "เป๋าตัง" เพราะประชาชนคุ้นเคย และทำได้เร็ว และประเด็นเงินหมุนเวียนในจังหวัด ที่ต้องใช้ร้านค้าที่ลงทะเบียน อยากให้รัฐบาลเปิดโอกาส และมีมาตรการจูงใจให้ร้านค้าที่ยังไม่เข้าระบบภาษี ได้เข้ามาเป็นทางเลือกให้ประชาชน

จุลพันธ์ย้ำใช้เงิน ธ.ก.ส.จ่ายดิจิทัลวอลเล็ตได้ "ไม่ต้องกังวล"

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ชี้แจง ผู้ได้รับสิทธิ สามารถใช้แอปฯ ธนาคารที่มีบัญชีอยู่แล้ว สแกนชำระสินค้าและบริการ หลังเตรียมแผนเชื่อมระบบธนาคาร กับแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เป็นระบบหลังบ้านที่มีผู้ใช้บริการประมาณ 4,000,000 คน ส่วนที่มาแหล่งเงินกว่า 1.7 แสนล้านบาท จากการดึงเงินสภาพคล่องส่วนเกิน ของ ธ.ก.ส. ไม่อยากให้กังวลเรื่องนี้ เพราะได้หารือในที่ประชุมบอร์ดเงินดิจิทัลแล้ว ยืนยันว่าทำได้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ และเป็นการใช้งบประมาณกึ่งการคลัง ซึ่งก่อนหน้านี้ ธ.ก.ส. ก็เคยเข้าร่วมโครงการของรัฐมาแล้ว และ รัฐก็ทยอยตั้งงบชดเชยภายหลัง

อ่านข่าวอื่น :

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง