ชาวบ้านยื่นฟ้องศาลปกครองให้ยุติแบบจำลองเอาผิดคดีโลกร้อน

สังคม
28 พ.ค. 55
04:37
12
Logo Thai PBS
ชาวบ้านยื่นฟ้องศาลปกครองให้ยุติแบบจำลองเอาผิดคดีโลกร้อน

สภาทนายความเป็นตัวแทนชาวบ้าน 38 ราย ที่ถูกฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง ขอให้ยุติการนำแบบจำลองความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ฟ้องร้องคดีแพ่ง หลังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ใช้แบบจำลองนี้ประเมินมูลค่าป่าต้นน้ำ และระบบนิเวศน์ป่าไม้ ฟ้องร้องทางแพ่งกับชาวบ้าน ที่บุกรุกป่า สร้างความเสียหายและก่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่าคดีโลกร้อน

สภาทนายความเป็นตัวแทนชาวบ้าน 38 ราย ที่ถูกฟ้องคดีสิ่งแวดล้อม ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง ขอให้ยุติการนำแบบจำลองความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมมาใช้ฟ้องร้องคดีแพ่ง หลังกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ พันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ใช้แบบจำลองนี้ประเมินมูลค่าป่าต้นน้ำ และระบบนิเวศน์ป่าไม้ ฟ้องร้องทางแพ่งกับชาวบ้าน ที่บุกรุกป่า สร้างความเสียหายและก่อผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่าคดีโลกร้อน

การยื่นฟ้องศาลปกครอง เพื่อให้ยุติการใช้แบบจำลองประเมินความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีผลวิจัยจากนักวิชาการ 16 คนในหลายสาขาที่เกี่ยวข้อง พบว่า ร้อยละ 99.9 ของแบบจำลองไม่เหมาะสม เพราะเป็นแบบจำลองที่ไม่น่าเชื่อถือและะไม่ถูกต้องทางวิชาการ จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นฐานในการฟ้องแพ่งกับชาวบ้าน

แบบจำลองประเมินความเสียหายคดีโลกร้อน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุเจตนาเพื่อใช้ฟ้องร้องในคดีแพ่ง เพื่อต้องการปราบปรามประชาชน ชาวบ้าน ที่บุกรุก ทำลาย หรือสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้เข็ดหลาบ ซึ่งที่ผ่านมามีการใช้แบบจำลองนี้ดำเนินคดีทางแพ่งกับชาวบ้านในภาคเหนือ ภาคใต้ และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในข้อหาบุกรุกพื้นที่ป่าอนุรักษ์แล้ว 38 คดี รวมมูลค่าความเสียหาย 32 ล้าน 8 แสนบาท ซึ่งชาวบ้านบางรายไม่มีเงินจ่าย และบางคนต้องรับภาระหนี้ที่ไม่ได้มีอยู่จริง เพราะหลักเกณฑ์การคิดค่าเสียหายมีมูลค่าสูง ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง จึงไม่เกิดความเป็นธรรมกับชาวบ้าน

ทั้งนี้ นักวิชาการ 16 คน ที่ร่วมประเมินแบบจำลอง อาทิ ดร.อำนาจ ชิดไธสงค์, ดร.อัศมน ลิ่มสกุล, ดร.สมศักดิ์ สุขวงศ์, ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา

ขณะที่ นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ จากสถาบันธรรมรัฐ เพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเห็นว่า แบบจำลองนี้ควรถูกยกเลิก จนกว่าจะได้ข้อสรุปมาตรฐานที่ชัดเจน แต่หากยืนยันที่จะใช้ต่อ ก็เป็นไปได้ว่า องค์กรภาคประชาชนจะใช้แบบจำลองนี้ ฟ้องรัฐบาล และกรมอุทยานฯ กรณีผลักดันการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ ที่ต้องตัดป่าในเขตอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ถึง 1 หมื่นกว่าไร่ ซึ่งหากใช้แบบจำลองประเมินความเสียหาย จะมีมูลค่าสูงถึง 174,610 บาทต่อไร่ต่อปี เท่ากับรัฐต้องจ่ายค่าเสียหายจากกรณีตัดป่าแม่วงก์ 1,700 ล้านบาทต่อไร่


ข่าวที่เกี่ยวข้อง