สำรวจพบเด็ก 10-14 ปีเคยพกอาวุธ ทั้งปืน มีด คัตเตอร์ไปโรงเรียน จากเหตุรู้สึกไม่ปลอดภัย

สังคม
25 มิ.ย. 55
08:58
272
Logo Thai PBS
สำรวจพบเด็ก 10-14 ปีเคยพกอาวุธ ทั้งปืน มีด คัตเตอร์ไปโรงเรียน จากเหตุรู้สึกไม่ปลอดภัย

เด็กภาคเหนือ พกอาวุธสุงสุด แต่เด็กในเขตเทศบาลจะรู้สึกไม่ปลอดภัยมากที่สุด โดยเฉพาะภาคใต้

 รศ.พญ.ลัดดา เหมาะสุวรรณ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เผยถึงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งนี้ ได้สำรวจพฤติกรรมความรุนแรงในโรงเรียนและชุมชนในเด็กอายุ 6-14 ปี พบว่า ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 0.8 ของเด็กอายุ 6-9 ปีและร้อยละ 3.7 ของเด็กอายุ 10-14 ปีเคยพกพาอาวุธ เช่น ปืน มีด คัตเตอร์ไปโรงเรียน เด็กชายเคยพกพาอาวุธมากกว่าเด็กหญิงสองเท่า เด็กนอกเขตเทศบาลพกพาอาวุธมากกว่าเด็กในเขตเทศบาลเล็กน้อย (ร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 2.2) เมื่อ

 
เปรียบเทียบตามภาค เด็กภาคเหนือพกพาอาวุธสูงสุดร้อยละ 3.0 รองลงมาคือเด็กภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กทมฯ และภาคใต้ตามลำดับ และพบว่าในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 20.1 ของเด็กอายุ 6-9 ปีและร้อยละ 24.5 ของเด็กอายุ 10-14 ปีเคยมีเรื่องชกต่อยหรือต่อสู้ในโรงเรียน ร้อยละ 3.3 และร้อยละ 2.8 เคยโดนทำร้ายหรือทำให้บาดเจ็บด้วยอาวุธในโรงเรียน
 
ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 3.6 ของเด็กอายุ 6-9 ปีและร้อยละ 6.2 ของเด็กอายุ 10-14 ปี ไม่ไปโรงเรียนเพราะรู้สึกไม่ปลอดภัยในโรงเรียนหรือระหว่างทางที่เดินทางไปโรงเรียน เด็กในเขตเทศบาลรู้สึก ไม่ปลอดภัยมากกว่าเด็กนอกเขตเทศบาลเล็กน้อย (ร้อยละ 5.4 เทียบกับร้อยละ 4.9) 
 
เมื่อเปรียบเทียบตามภาคพบว่าเด็กภาคใต้รู้สึกไม่ปลอดภัยสูงสุดร้อยละ 7.2 รองลงมาคือเด็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 5.4 กทมฯ ภาคเหนือ และภาคกลางใกล้เคียงกัน ประมาณร้อยละ 4 เด็กกลุ่มตัวอย่างประมาณ 1 ใน 3 เคยถูกขโมยของหรือถูกทำลายทรัพย์สินที่โรงเรียนในช่วง 1 เดือนที่ ผ่านมา ไม่พบความแตกต่างระหว่างในและนอกเขตเทศบาล เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาคเด็กในภาคใต้เคยถูก ขโมยสูงสุดร้อยละ 37 รองลงมาคือเด็กในกทมฯ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือใกล้เคียงกัน 
ส่วนเด็กในภาคเหนือ และภาคกลางต่ำสุดร้อยละ 26.1 
 
เมื่อวิเคราะห์จำนวนครั้งที่เคยถูกขโมย ร้อยละ 18 ของกลุ่มตัวอย่างอายุ 6-9 ปีในภาคเหนือเคยถูกขโมยของหรือถูกทำลายทรัพย์สินที่โรงเรียนถึง 4 ครั้งขึ้นไปในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือภาคกลาง ภาคใต้ และกทมฯ ตามลำดับ สำหรับกลุ่มตัวอย่างอายุ 10-14 ปี สูงสุดในกทมฯ ร้อยละ 16 รองลงมาคือ ภาคใต้ (ร้อยละ 15) ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ตามลำดับ  ร้อยละ 6.5 ของเด็กอายุ 6-9 ปีและร้อยละ 7.8 ของเด็กอายุ 10-14 ปีเคยถูกขโมยของหรือถูก ทำลายทรัพย์สินนอกโรงเรียนในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เด็กในเขตเทศบาลเคยถูกขโมยสูงกว่าเด็กนอกเขตเทศบาล ร้อยละ 9.3 เปรียบเทียบกับร้อยละ 6.4 
 
เมื่อเปรียบเทียบระหว่างภาคเด็กในกทมฯ เคยถูกขโมยของนอกเขต โรงเรียนสูงสุดร้อยละ 15.5 รองลงมาคือเด็กภาคกลางร้อยละ 9.2 ภาคเหนือร้อยละ 7.1 ภาคใต้ร้อยละ 5.3  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยละ 4.9 ในระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมาร้อยละ 0.6 ของเด็กอายุ 6-9 ปีและร้อยละ 1.7 ของเด็กอายุ 10-14 ปี เคยพกมีดหรือเหล็กแหลมหรืออาวุธอื่นที่ไม่ได้เกี่ยวกับการไปทำกิจกรรมของโรงเรียน ร้อยละ 18.5 
 
และร้อยละ  19.8 เคยชกต่อยหรือตบตีเนื่องจากการทะเลาะวิวาท เมื่อวิเคราะห์จำนวนครั้ง ในกลุ่มตัวอย่างอายุ 6-9 ปีพบ มีการชกต่อยมากกว่า 3 ครั้งต่อเดือนสูงสุดที่ กทมฯ (ร้อยละ 12.5) รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ภาคใต้ ภาคเหนือและภาคกลาง (ร้อยละ 3.9) ตามลำดับ สำหรับกลุ่มตัวอย่างอายุ 10-14 ปี สูงสุดที่ภาคใต้ 
(ร้อยละ 15) รองลงมาคือ กทมฯ ภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตามลำดับ
 
เมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในโครงการวิจัยพัฒนาการแบบองค์รวมของเด็กไทย ปี พ.ศ. 2544 พบว่า ในกรอบระยะเวลาเดียวกัน เด็กไทยโดยรวมมีพฤติกรรมรุนแรงลดน้อยลง ซึ่งดูไม่สอดคล้องกับความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมรุนแรงของวัยรุ่นที่แพร่หลายตามสื่อต่างๆ ความชุกของพฤติกรรม รุนแรงอาจลดลงจริงแต่ระดับความรุนแรงของพฤติกรรมสูงขึ้นดังปรากฏในข่าว


ข่าวที่เกี่ยวข้อง