ไขปมป่วย COVID-19 เตียงไม่พอ-แนวคิดติดเชื้อกักตัวที่บ้าน

สังคม
19 เม.ย. 64
16:51
3,131
Logo Thai PBS
ไขปมป่วย COVID-19 เตียงไม่พอ-แนวคิดติดเชื้อกักตัวที่บ้าน
กระทรวงสาธารณสุข ยืนยันมีเพียงรองรับผู้ป่วย COVID-19 ทั้งในโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้ง Hospitel รพ.สนามเพียงพอ แต่ยอมรับยังตกค้าง 556 คนจากขั้นตอน และบางคนไม่อยากเข้า รพ.สนาม ขณะที่กรมการแพทย์ เปิดแนวคิดให้ผู้ติดเชื้อกักตัวที่บ้านรับมือระลอก 4 หากติดหลักหมื่น

วันนี้ (19 เม.ย.2564) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วย COVID- 19 ว่า ทางรัฐบาลรับทราบถึงความห่วงใยของพี่น้องประชาชน

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข มอบหมายให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมการแพทย์ แก้ปัญหาเตียงแบบซิงเกิลคอมมานด์ ซึ่งปัญหาที่เกิดคำถามว่า ผู้ป่วย COVID-19 ไม่ได้นอนโรงพยาบาล และเตียงไม่พอ

สาเหตุการตรวจแล็ปเอกชน เมื่อทราบว่าผลบวก ก็ให้รอที่บ้าน ไม่เชื่อมโยงกับโรงพยาบาล นอกจากนี้โรงพยาบาลเอกชนไม่ขยายเตียง รวมทั้งการค้นหาเชิงรุกพบผู้ป่วยจำนวนมากหาโรงพยาบาลไม่ได้ ผู้ป่วยรอฟังผลที่บ้าน ใช้เวลาประสานการจัดการเตียง

นายอุทินระบุว่า ผู้ติดเชื้อทุกคนต้องอยู่ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข โรงพยาบาลและแล็ปเอกชนที่ตรวจพบ COVID-19 ควรประสานการดำเนินงานในเครือข่ายเพื่อให้ผู้ติดเชื้อได้รับดูแลโดยของบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน

เปิดแผนจัดการเตียง-เปิดห้องไอซียูเพิ่ม

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า จากการประชุมเมื่อวานนี้ (18 เม.ย.) สรุปแผนบริหารจัดการเตียงดังนี้ กลุ่ม Acitive cases finding ที่มีระดับความรุนแรงสีเขียว มอบหมายให้กทม.รับเข้าไว้โรงพยาบาลสนาม

กลุ่มที่ 2 Case จากการบริการทุกระดับความรุนแรง กรมการแพทย์ดำเนินการ โดยความรุนแรงระดับสีเขียว รับไว้ใน Hostpitel ความรุนแรงระดับสีเหลือง-แดง รับไว้ในโรงพยาบาล

ส่วนกลุ่มที่ 3 โรงพยาบาลทุกสังกัดให้สำรองไอซียู โดยให้กรมการแพทย์เป็นหน่วยบริหารจัดการ และส่วนภูมิภาค และปริมณฑลอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานปลัดสธ. ทั้งนี้มีการประเมินพบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่เข้ารับการรักษาตัวในสัปดาห์นี้ อาจจะเป็นผู้ป่วยหนักในสัปดาห์หน้า

ข้อมูลตอนนี้มีเตียงในสังกัดต่างๆ 9,317 เตียง ใช้ไปแล้ว 6,294 เตียง ตอนนี้มีการผ่องถ่ายเตียง และขยายเพื่อรองรับคนไข้ทั่วประเทศ ยืนยันว่า ยังมีเตียงรองรับเพียงพอ แต่บางคนไม่มีเตียง เพราะไปตรวจแล็ปไม่มีเจ้าของไข้ ยังไม่มีเตียง

นพ.สมศักดิ์กล่าวอีกว่า ตอนนี้ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนกำลังขยายอีก 33 แห่ง ที่ขอทำ Hospitel เพิ่มเติม จำนวนเตียงที่ขอ 6,871 เตียง จำนวนเตียงปัจจุบัน 3,946 เตียง และจำนวนผู้ป่วย 2,556 คน คงเหลือ 1,516 คน และผู้ป่วยรอเตียง 556 คน

ส่วนกทม.เตรียมโรงพยาบาลสนามเพิ่มเติม เฉพาะในกทม.มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 200-300 คนต่อวัน หาก 10 วันตัวเลขจะหลักพันคน และยังไม่รวมกับคนที่ตรวจแล็ป และไม่มีรายงานเข้าระบบมา

กรณีการหาเตียงได้แล้ว แต่ไม่มีรถไปรับผู้ป่วย นายอนุทิน สั่งการให้นำรถของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จากบริษัทเอกชน ซึ่งมีรถนำส่ง 50 คันจาก 3 บริษัท ในระยะแรกและเพิ่มเป็น 100 คันทั่วประเทศ เพื่อรับผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

เปิดแผนรับมือระลอก 4 ให้ผู้ติดเชื้อกักตัวที่บ้าน

นอกจากนี้ นพ.สมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีแนวคิดที่ให้ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่มีอาการเพื่อแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) ว่า เนื่องจากขณะนี้มีคนป่วยที่รอเตียง และรออยู่ที่บ้านอยู่แล้ว ซึ่งการระบาดระลอก 3 มีจำนวนมากขึ้น และระดับหลักพันต่อเนื่อง

แต่หากมีการระบาดระลอก 4 มีผู้ป่วยหลักหมื่นและเตียงไม่พอ ตอนนี้เป็นแนวคิดเตรียมล่วงหน้า ยังไม่ได้นำมาใช้ ยกเว้นคนที่รอเตียงที่บ้านว่า ต้องทำตัวและปฏิบัติตัวอย่างไร

กล่าวคือ หมอต้องมีการทำ Telemonitor มีช่องทางสื่อสารกับผู้ป่วย ติดตามอาการทุกวัน และมีช่องทางติดต่อกรณีฉุกเฉินส่วนโรงพยาบาล ลงทะเบียนในระบบโรงพยาบาล เอ็กซเรย์ปอดปกติ ให้ที่วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด และจัดระบบรองรับผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน

 

ซึ่งเน้นย้ำว่าความปลอดภัยของประชาชนสำคัญที่สุด และถ้าจะมีผู้ติดเชื้อหลักหมื่นคนและจำเป็นต้องเข้า Home Isolation จะต้องมีเกณฑ์ดังนี้ เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ มีอายุไม่เกิน 40 ปี

มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีผู้อยู่อาศัยร่วมในที่พักไม่เกิน 1 คน ไม่มีภาวะอ้วน ไม่มีโรคร่วมทั้งโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือก โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และยินยอมแยกตัวในที่พักของตัวเอง

ยืนยันว่ายังไม่ได้ใช้และจะไม่ได้ใช้ ถ้าแนวโน้มคนป่วยยังหลักพัน

กทม.เตรียมเตียงโรงพยาบาลสนาม 

ด้าน นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ขณะนี้มีการจากค้นหาเชิงรุก 100-140 คน โดยเมื่อวานนี้ (18 เม.ย.) จำนวน 135 คน และวันนี้  99 คน

ส่วนผู้ป่วยมีโรงพยาบาลสนามจากการรับเคสค้นหาเชิงรุก 1,656 เตียง คือโรงพยาบาลสนามพระมงกุฏเกล้า 86 เตียง โรงพยาบาลสนามชั่วคราวของตม. 200 เตียง โรงพยาบาลเอราวัณ บางบอน และโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ 450 เตียง

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ 200 เตียง และไม่รวมกับโรงพยาบาลผู้สูงอายุบางขุนเทียน อีก 500 เตียง ซึ่งตอนนี้เหลือ 381 เตียง และจะเปิดเพิ่มที่หน่วยทหารบกอีก 200 เตียง พรุ่งนี้ (20 เม.ย.) 

ประชาชนยังปฏิเสธการเข้านอนในโรงพยาบาลสนามเพราะอยากเข้าไปอยู่ในโรงพยาบาลและ Hospitel 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

10 กฎเหล็กเมื่ออยู่ในโรงพยาบาลสนาม

เช็กข้อห้ามในรพ.สนาม "แอบถ่าย-ส่งอาหาร-ห้ามกินของเหม็น"

 สธ.ปรามติดโควิดพักรพ.สนาม "งดรวมกลุ่ม-ล้อมวงกินข้าว-เล่นไพ่"

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง