สัตวแพทย์ตอบปมตัดหาง "งาอ้วนเล็ก" ชี้ไม่เสียสัญชาติญาณ

สิ่งแวดล้อม
30 ธ.ค. 64
16:38
560
Logo Thai PBS
สัตวแพทย์ตอบปมตัดหาง "งาอ้วนเล็ก" ชี้ไม่เสียสัญชาติญาณ
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"หมอล็อต" ระบุสัตวแพทย์วินิจฉัยตัดหาง "งาอ้วนเล็ก"ช้างป่าเขาใหญ่บาดเจ็บเพื่อรักษาชีวิตหลังเจอสภาพหางเปื่อยยุ่ยเน่าใกล้หลุด จนช้างทรมานต้องลงแช่น้ำ ชี้ไม่เสียสัญชาติญาณ ยังดำรงชีวิตได้เหมือนเดิม ขณะที่ยังต้องประเมินอาการให้หาย ห่วงแผลติดเชื้อ
ยิ่งรักษาเร็วโอกาสรอดสูง และถ้าตัดสินใจช้าอาการช้างป่าบาดเจ็บจะรุนแรงมากขึ้น

นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน หรือ "หมอล็อต" หัวหน้ากลุ่มงานจัดการสุขภาพสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้สัมภาษณ์ไทยพีบีเอสออนไลน์ หลังทีมสัตวแพทย์ 5 สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 ปราจีนบุรี และสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 7 นครราชสีมา  

พร้อมเจ้าหน้าที่ชุดติดตามช้างเขาใหญ่ และนายอดิศักดิ์ ภูสิทธิ์วงศานุยุต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ สามารถเข้าถึงตัว "งาอ้วนเล็ก" ช้างป่าบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ หลังพบว่าบาดเจ็บจนหางเกือบขาด และแผลเน่าเปื่อย แม้ว่าเจ้าหน้าที่แกะรอยตามหามานานเกือบ  3 สัปดาห์หลังปรากฎภาพร่องรอยบาดแผลเจ็บหนักจากการต่อสู้เพื่อนช้างด้วยกัน

อ่านข่าวเพิ่ม 3 ช้างเขาใหญ่เปิดสังเวียน งาเบี่ยงเล็กหางขาด-พี่ดื้อ-งาอ้วนเล็กเจ็บ

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

 

สัตวแพทย์ภัทรพล บอกว่า หลังจากทราบเรื่องว่าเจอตัวช้างงาอ้วนเล็กแล้ว นายสมปอง ทองสีเข้ม ผู้ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า และนายวราวุธ ศิลปาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับแจ้งจากกลุ่มนักท่องเที่ยว ไกด์นำเที่ยว และช่างถ่ายภาพสัตว์ป่า

ทีมสัตวแพทย์และเจ้าหน้าที่เกือบ 20 ชีวิตลงพื้นที่และเข้ารักษาช้างทันที เนื่องจากอาการของงาอ้วนเล็กจากภาพวีดีโอ ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ทีมสัตวแพทย์ที่เข้ารักษาพบว่างาอ้วนเล็ก มีบาดแผลรอยแทงที่โคนหาง มีอาการเน่าเปื่อย และมีรูแทงที่ลำตัวอีก 6 รู เป็นรอยงาช้าง 

โดยสิ่งที่น่ากังวลคือการติดเชื้อบาดทะยัก เพราะช้างเอาแผลแช่น้ำ แช่ดินโคน ทำให้เชื้อบาดทะยักที่อยู่ในดิน เข้าไปติดในบาดแผลที่เป็นรูลึกๆได้

แผลที่โคนหางมาจากการถูกแทง ยิ่งผ่านไปหลายสัปดาห์ยิ่งเริ่มเน่า เพราะเวลาที่ขยับหางไปมาทำให้บาดแผลที่ถูกแทงขยายใหญ่ขึ้น ยิ่งหางขยับตลอดก็ยิ่งปวด ภาพที่เห็นเอาหางไปจุ่มน้ำ และอ้าปากแสดง ถึงอาการเจ็บปวด
ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

หมอจำเป็นต้องตัดหางออกเพื่อรักษาชีวิต

หมอล็อต บอกว่า สัตวแพทย์ที่รักษาพบว่าแผลที่โคนหางค่อนข้างเน่า ประกอบเวลาที่ช้างถ่ายจะมีของเสียน้ำหนักหลายกิโลกรัม ออกมาสะสมตรงปลายหางห้อยอยู่ ทำให้เพิ่มน้ำหนัก และยิ่งเพิ่มความเจ็บปวด ดังนั้น หลังจากให้ยารักษางาอ้วนเล็ก

สัตวแพทย์จึงวินิจฉัยให้ตัดหางออก เพื่อรักษาชีวิตของงาอ้วนเล็ก เพื่อไม่ให้เกิดบาดแผลที่ใหญ่ขึ้น ทั้งนี้เป้าหมายในการรักษาไม่ได้หวังผลให้ช้างหายขาด แต่ต้องการให้พ้นวิกฤติให้สัญญาณชาติบำบัดรักษาตัวเอง ตอนนี้ปัจจัยที่ทำให้งาอ้วนเล็กหายช้าหรือเร็วคือแผลต้องไม่ติดเชื้อ หรือมีแมลงวันหรือพยาธิภายนอกมารบกวน การให้ยารักษาจะลดปัจจัยตรงนี้ได้  

อ่านข่าวเพิ่ม เจอตัว "งาอ้วนเล็ก" ช้างเขาใหญ่บาดเจ็บลงแช่น้ำหางเกือบขาด

ชี้ตัดหางไม่ทำสูญเสียสัญชาติญาณ

นอกจากนี้ สัตวแพทย์ภัทรพล อธิบายอีกว่า ปกติหางของช้าง จะยาวเกือบถึงพื้นหรือประมาณ 1 เมตรขึันไป ประโยชน์ของช้างที่เป็นสัตว์ป่าขนาดใหญ่ แต่ขี้ร้อน เวลาโดนแดด ถ้าครึ่งตัวบนจะใช้หูที่กางขนาดใหญ่ พัดลำตัวด้านหน้าและด้านข้าง ส่วนด้านด้านหลังจะใช้หางระบายความร้อน โดยทั่วไปช้างที่หางยาวมากจะยิ่งดี เพราะหางจะช่วยระบายความร้อนช่วงด้านท้าย นอกจากนี้ยังใช้ช่วยไล่และปัดแมลงเห็บเหาช้าง 

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

ภาพ:อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

เช็กอารมณ์ช้างได้จาก "หาง"

ส่วนประเด็นต่อมาเรื่องความสวยงามของช้าง ความมั่นใจของช้าง พอไม่มีหางก็จะอาจจะสูญเสียความมั่นใจ ความสวยงามจะไม่มี ตามสุภาษิตไทยที่ว่า ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ซึ่งที่ผ่านมาช้างบนเขาใหญ่บางตัว เช่น พี่ด้วนเขาใหญ่ ก็มีลักษณะด้วนมาแต่กำเนิด แต่ถ้าเกิดการต่อสู้บาดเจ็บ และต้องสูญเสียหาง ไม่พบบ่อย

แต่ก็เกิดขึ้นได้ ในกรณีที่ช้างป่ามีงาสู่กับช้างสีดอ มักจะถูกสีดอกัดที่ปลายหาง แต่ถ้ารักษาหายแล้วการสูญเสียหางจะไม่มีผลต่อสัญชาติญาณของช้างแน่นอน ส่วนช้างมีงามักจะแทงที่ก้นหรือโคนหาง เป็นกลวิธีในการต่อสู้ของช้างป่า จะแนวบ๊อกเซอร์หรือไฟท์เตอร์ แต่ถ้ารักษาหายแล้วการสูญเสียหางจะไม่มีผลต่อสัญชาติญาณของช้างแน่นอน ยังดำรงชีวิตได้ตามปกติ หากบาดแผลนั้นหายสนิท ไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน

ยืนยันสัญญาณชาติ ประสาทสัมผัส การรับรู้ การเดิน การกิน การนอน การหาอาหารยังได้กลิ่น ไม่เปลี่ยน แต่มีผลต่อการดำรงชีวิตเปลี่ยนไปบ้าง การตัดอวัยวะส่วนมีความจำเป็นต่อการรักษาชีวิต เพราะไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตของช้าง 

 

นอกจากนี้การที่ช้างไม่มีหาง ก็ยังมีผลต่อคนได้ เพราะไม่มีหางที่จะเดาอารมณ์ และพฤติกรรมของช้าง ซึ่งปกติถ้าช้างแฮปปี้ ผ่อนคลาย มีความสุข จะสะบัดหู และแกว่งหางไปมา ส่วนถ้าหูกาง หางชี้ เขาอาจจะหงุดหงิด ส่วนถ้าหูสะบัดไปมา หางชี้ แสดงว่าช้างตื่นเต้น สงสัย ดังนั้นถ้าช้างไม่มีหางก็อาจทำให้เดาใจยาก จึงแนะนำให้นักท่องเที่ยวหากพบเจอให้ออกห่างจะดีกว่า อย่าเข้าใกล้เว้นระยะห่างอย่างน้อย 50 เมตร 

สำหรับความเชื่อด้านคนกับช้าง มีความเชื่อว่า หางช้าง ขนช้าง เป็นสิ่งมงคล เวลาช้างที่เลี้ยงไว้เสียชีวิต เจ้าของช้างมักจะเก็บหางช้างหรือขนหางไว้บูชา โดยเฉพาะหางเช้า ซึ่งเป็นความเชื่อ ยิ่งยาวยิ่งดีเพราะยาวบอกเรื่องการปัดเป่า แค้วคลาดปลอดภัยเพศภัยอันตรายต่างๆ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

สัตวแพทย์รักษา "งาอ้วนเล็ก" หางเน่า-ลำตัวแผล 6 รูถูกงาแทง

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง