เปิดตัว " พล.ร.อ.อะดุง พันธ์ุเอี่ยม " ผบ.ทร. คนใหม่

การเมือง
1 ก.ย. 66
16:02
10,104
Logo Thai PBS
เปิดตัว " พล.ร.อ.อะดุง พันธ์ุเอี่ยม " ผบ.ทร. คนใหม่
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)

ในที่สุด อดีตผบ.กองเรือยุทธการ พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ก็ได้เป็นผบ.ทร.คนใหม่ โดยจะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 ต.ค. นี้ ถือเป็นคนแรกในรอบ 30 ปีที่ขึ้นมาจากผบ.กองเรือยุทธการ(ผบ.กร.) โดยพล.ร.อ.อะดุง จะเป็น ผบ.ทร. ต่อจาก พล.ร.อ.เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ที่จะเกษียณอายุราชการในเดือนก.ย. 2566 นี้

“บิ๊กดุง” หรือ พล.ร.อ.อะดุง เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่นที่ 23 และโรงเรียนนายเรือรุ่นที่ 80 ผ่านการอบรมหลักสูตร หลักสูตรนายทหารชั้นต้น พรรคนาวิน หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ รุ่นที่ 56 หลักสูตรเสนาธิการทหารเรือ ประเทศออสเตรเลีย,หลักสูตรวิทยาลัยการทัพเรือ รุ่นที่ 40 และหลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร รุ่นที่ 62

“ อะดุง ” แปลว่า “ สูงส่ง เป็นเลิศ ไม่มีที่เปรียบ”

ตามประวัติในหน้าที่ราชการของ พล.ร.อ.อะดุง เคยเป็นผู้บังคับการเรือหลวงปิ่นเกล้า, ผู้ช่วยทูตทหารเรือ ไทย/แคนเบอร์รา ออสเตรเลีย, ฝ่ายเสนาธิการ ประจำผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการโรงเรียนชุมพลทหารเรือ,รองเลขานุการกองทัพเรือ ,รองผู้อำนวยการ สำนักกิจการความมั่นคง กรมยุทธการทหารเรือ, รองผู้บัญชาการ ฐานทัพเรือกรุงเทพ

เป็นหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำเสนาธิการทหารเรือ,ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน กรมยุทธการทหารเรือ ,ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษายุทธศาสตร์ทหารเรือ กรมยุทธศึกษาทหารเรือผู้อำนวยการ , สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ,เจ้ากรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ , และอยู่ในตำแหน่งผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ต.ค. 2565

ขณะเกิดเหตุการณ์เรือหลวงสุโขทัยอับปาง เมื่อช่วงปลายปี 2565 พล.ร.อ.อะดุง อยู่ในตำแหน่งผบ.กองเรือยุทธการ ซึ่งเป็นจังหวะเวลาเดียวที่มีชื่อเป็นแคนดิเดท ผบ.ทร. ต่อจากผบ.ทร.คนต่อไป แต่ในที่สุด พล.ร.อ.อะดุง ก็สามารถฝ่ามรสุมเข้ามาได้ และจะเกษียณราชการตำแหน่งนี้ในปี 2567

ตามประวัติระบุว่า พล.ร.อ.อะดุง เรียนหนังสือเก่ง ขณะเป็นนักเรียนเตรียมทหาร เป็นนายตอน 10 ทั้งชั้น 1 และชั้น 2 สอบเป็นลำดับที่ 10 ของ นร. นายเรือเตรียมทหารรุ่น 23 และเป็นนักเรียนปกครอง เรียนจบ รร.นายเรือได้เกียรตินิยมอันดับ 1 และเรียนทุกหลักสูตรได้เกียรตินิยมด้วยเช่นกัน

เส้นทางชีวิตของการรับราชการเติบโตมาตามลำดับ กำลังพลรับเรือ 2 ลำ ร.ล.เจ้าพระยา เรือฟริเกต จากจีน ในตำแหน่ง นายทหารอาวุธปล่อยนำวิถี คนแรก ที่เรียนอาวุธปล่อยนำวิถีแบบใหม่ C-801 จากประเทศจีน และรับเรือ ร.ล.พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จากอเมริกา ในตำแหน่งต้นหน และ เป็นต้นหน คนที่2 ของ ทร. ที่นำเรือผ่านคลองปานามากลับประเทศไทย

นอจากนี้ยังได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาให้ทำหน้าที่นายธง และ ฝ่ายเสนาธิการหลายท่าน เช่น ธง. ผบ.กองเรือปราบเรือดำน้ำ , ธง. ผบ.ทัพเรือภาคที่ 1 และ 2 , ธง. ผบ.กองเรือฟริเกตที่ 1 และ 2 , ธง. เสนาธิการกองเรือยุทธการ , ฝ่ายเสนาธิการ ประจำ ผช.เสนาธิการทหารเรือฝ่ายยุทธบริการ , ฝ่ายเสนาธิการ ประจำรองเสนาธิการทหารเรือ จนถึง ฝ่ายเสนาธิการ ประจำ ผบ.ทร. และ หน.ฝ่ายเสนาธิการ ประจำเสนาธิการทหารเรือ

เคยเป็นผู้ช่วยทูตทหารเรือประจำกรุงแคนเบอร์ร่า ออสเตรเลีย และรักษาราชการ ผชท. กรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ ,ผู้บังคับการ โรงเรียนชุมพลทหารเรือ ดูแลฝึกฝนอบรม นักเรียนจ่าทหารเรือถึง 3 รุ่น เป็นนายธง และฝ่ายเสธ. , นายทหารปกครอง รร.นายเรือ , อาจารย์ รร.เสนาธิการทหารเรือ , งานด้านยุทธการ คือ รอง ผอ.กองยุทธการ ยก.ทร., รอง ผอ.สำนักกิจการความมั่นคง ยก.ทร. และดูแล ศรชล.ผอ.สำนักนโยบายและแผนกรมยุทธการทหารเรือ , งานสำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ ดูแลงานรับรองและพิธีการของ ทร. ทั้งหมด

ส่วนกำลังรบ ( เป็นรอง ผบ.ฐานทัพเรือกรุงเทพ , ผบ.เรือ,และตำแหน่ง ต่างๆใน กร. ) ดูแลความปลอดภัยในการเสด็จของพระบรมวงศานุวงศ์ในเขต กทม.และปริมณฑล,รวมทั้งทำงานด้านThink Tank ให้ ทร. และช่วยงานแก้ไขปัญหา IUU ให้ประมงไทย , ถือเป็นนายทหารคนสำคัญที่มีคุณภาพคับแก้วอีกคนหนึ่ง

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง