ขนมโบราณ 100 ปี "ตลาดยะกัง" ดินแดนปลายด้ามขวาน

ภูมิภาค
9 ต.ค. 66
14:37
2,281
Logo Thai PBS
ขนมโบราณ 100 ปี "ตลาดยะกัง" ดินแดนปลายด้ามขวาน
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
เปิดก้นครัวขนมท้องถิ่น ของดีตลาดยะกัง ต.บางนาค อ.เมือง สูตรขนมพื้นเมืองของชาวไทยมุสลิมที่หาชิมได้เฉพาะพื้นที่ จ.นราธิวาส ซึ่งสูตรขนมท้องถิ่นยังมีอีกมายมายหลายชนิด

ตลาดน้ำยะกัง แม้เปิดมานาน 7 ปีแล้ว แต่ช่วงสถานการณ์โควิดแพร่ะบาด ตลาดน้ำแห่งนี้ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย จนกระทั่งกลับมาคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวอีกครั้งในช่วงนี้ โดยเฉพาะช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ จะมีชาวมาเลเซียข้ามฝั่งโดยรถตู้ท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวชิมช้อป

ตลาดนัดริมน้ำแห่งนี้จะเปิดตั้งแต่ช่วง 16.00 น. จะปิดตลาดในช่วง 21.00 น. พ่อค้าแม่ค้าชาวมุสลิม บอกว่า บางครั้งต้องปิดร้านก่อน เพราะของที่นำมาขายหมดเร็ว โดยเฉพาะขนมหวานโบราณ ซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นที่หากินได้ยาก และไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะขนมหวาน หลากรส รูปลักษณ์ชวนชิม ซึ่งวางขายอยู่หลายร้าน 

ขนมปุตรีอายู หรือ ธิดาเขียว

ขนมปุตรีอายู หรือ ธิดาเขียว

ขนมปุตรีอายู หรือ ธิดาเขียว

ประเดิม ชนิดแรก "ปุตรีรีอายู" ขนมที่มีลักษณะคล้ายกับขนมถ้วยฟูของไทย แต่ ฟารีดะ สะแระแม แม่ค้าขนม บอกว่า ต่างกันมาก ปุตรีรีอายู ทำมาจากแป้งหมี่ ไข่ นม มะพร้าว ใส่น้ำตาลและมีสีเขียวจากใบเตยหอม นำทั้งหมดทานวดผสมกันจนได้ปริมาณและสัดส่วนตามต้องการ จึงนำมานึ่ง เมื่อสุกด้านหน้าจะแตกสวย ส่วนด้านล่างเป็นแป้งสีขาว รสชาตินุ่ม หอม ราคาขายชิ้นละ 5 บาท หรือถุงละ 25 บาท

ขนมดือตายับ

ขนมดือตายับ

ขนมดือตายับ

ส่วน "ดือตายับ" เป็นขนมอีกชนิดหนึ่ง ใช้แป้งหมี่ ไข่ไก่และน้ำตาลทรายแดง นำแป้งบางๆ ไปทอดในกระทะ เมื่อได้สุกได้ที่จึงนำขึ้น นำมาใส่มะพร้าวขูดผัด ม้วนเป็นโรลพับหัวท้าย โรยด้วยงาขาว รสชาตินุ่ม หอมและหวาน ขายชิ้นละ 5บาทเช่นกัน

ฟารีดา บอกว่า ขนมทั้ง 2 ชนิดทำยาก เพราะใช้เวลาผสมและตีแป้งนาน หากินได้ยากมากๆ ไม่ได้ทำตามเทศกาล แต่เป็นขนมหวานท้องถิ่นที่ชาวบ้านทำกินกันภายในครัวเรือน และมีเฉพาะที่ จ.นราธิวาส เท่านั้น เป็นขนมโบราณอายุนับ 100 ปี อาจจะทำในพื้นที่ จ.สตูล บ้าง แต่ไม่พบที่ จ.ปัตตานี และยะลา เพราะคนทำขายอยู่ที่นราธิวาส

ขนมกอดู

ขนมกอดู

ขนมกอดู

ขนมกอดู ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล ใส่น้ำเปล่า และคลุกมะพร้าว

ขนมกอเมาะ

ขนมกอเมาะ

ขนมกอเมาะ

ขนมกอเมาะ ส่วนผสม ประกอบด้วย แป้ง มะพร้าว และน้ำตาล

ขนมบาตาบูโร๊ะ

ขนมบาตาบูโร๊ะ

ขนมบาตาบูโร๊ะ

ขนมบาตาบูโร๊ะ (Bataburuk) หรือ "หมอนหนุน หรือหมอนเก่า" เป็นขนมอีกชนิดหนึ่งที่หาทานได้ยากอีกเช่นกัน พ่อค้าที่ทำขนมขายเล่าว่า ปกติมีอาชีพช่างตัดผม แต่วันเสาร์-อาทิตย์ จะหยุดมาทำขนมขายที่ตลาดน้ำ

ไส้ขนมขนมบาตาบูโร๊ะ หรือ หมอนหนุน หรือหมอนเก่า

ไส้ขนมขนมบาตาบูโร๊ะ หรือ หมอนหนุน หรือหมอนเก่า

ไส้ขนมขนมบาตาบูโร๊ะ หรือ หมอนหนุน หรือหมอนเก่า

"ขนมชนิดนี้ทำไม่ยาก ใช้แป้งข้าวเจ้า ผสมกับน้ำเปล่า จากนั้นจึงนำไปทอดในกระทะให้สุก กรอบเกรียม นำไส้ที่ทำจากมะละกอสับ ผัดใส่เนื้อปลา กระเทียม หัวหอม พริกไทย ขิงและข่า ตะไคร้ ให้ได้รสชาติเค็มนิดหน่อย จากนั้นจึงนำมาม้วนเป็นโรล เป็นสูตรของครอบครัวที่ทำกันเมื่อครั้งยังเด็กๆ เมื่อมาทำขาย ก็ขายดี เคยขายได้วันละ 300 กล่อง ปัจจุบันขายได้180-200 กล่อง"

น้ำกะทิหวาน

น้ำกะทิหวาน

น้ำกะทิหวาน

ขนมหมอนเก่านี้ เวลาจะกินจะต้องนำมาจิ้มหรือราดกับ น้ำกะทิหวาน ราคาขายชุดละ 25 บาท พ่อค้าที่ทำขาย บอกว่า ชนมชนิดถือขนมชาววังของชาวมุสลิม

ขนมกอแระวาเมาะ

ขนมกอแระวาเมาะ

ขนมกอแระวาเมาะ

นอกจากขนมดังกล่าวแล้ว จากการเดินสำรวจ ยังพบว่ามี ขนมกอแระวาเมาะ เป็นทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล นำมานึ่งและตัดเป็นชิ้นๆ เวลาจะกินจะโรยด้วยวุ้นเส้น ผัดเนื้อปลา รสชาติหวานน้อย

กอแระตีงยี หรือ ขนมเปียกมัน

กอแระตีงยี หรือ ขนมเปียกมัน

กอแระตีงยี หรือ ขนมเปียกมัน

ส่วนกอแระตีงยี หรือ ขนมเปียกมัน ใช้มันและแป้งข้าวเจ้าเป็นส่วนผสม เช่นเดียวกับกอแระปัตตาเลาะ หรือขนมมันกวน ซึ่งเป็นขนมพื้นบ้านก็ทั่วไป และชาวบ้านมักจะนิยมทำกันเนื่องจากทำได้ง่าย และผู้สูงอายุจะชอบกินมาก เนื่องจากมีรสชาติไม่หวาน นิ่ม ไม่ต้องเคี้ยว

ขนมโดน หรือ ขนมรังไข่

ขนมโดน หรือ ขนมรังไข่

ขนมโดน หรือ ขนมรังไข่

และสุดท้าย คือ ขนมโดน หรือ ขนมรังไข่ ทำจากแป้งและไข่ไก่ เหมือนขนมไข่ ต่างเพียงนำมาใส่พิม แล้วทำเป็นแพ เมื่อสุก จึงนำมาวางบนกระดาษ ใส่มะพร้าวขูด และม้วนให้คล้ายโรตี คนขายบอกว่า ช่วงนี้เศรษฐกิจไม่ดี จึงต้องลดต้นทุนการใส่ ข้าวโพด และมัน โดยขายในราคาชิ้นละ 15 บาท

ขนมกอแระปัตตาเราะ

ขนมกอแระปัตตาเราะ

ขนมกอแระปัตตาเราะ

ด้วยราคาอาหารจับต้องได้ ต่างจากตลาดนัดทั่วไป ตามวิถีชีวิตสบายๆ ของชาวบ้าน และนักท่องเที่ยว ตลาดน้ำยะกัง ต.บางนาค อ.เมือง จ.นราธิวาส จึงเป็นจุดเช็กอินที่น่าสนใจและย้อนหาอดีต ขนมท้องถิ่นอัตลักษณ์สำคัญของดินแดนปลายด้ามขวาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

เปิดประตู "มูโนะ" หมู่บ้านชายแดนใต้ "สุไหงโก-ลก"

"ชาวสยาม" เมื่อคนไทยคือกลุ่มชาติพันธุ์ในมาเลเซีย

เสน่ห์เมืองไทย ชาวมาเลเซียติดใจขึ้นแท่นนักท่องเที่ยวอันดับ 1

ข่าวที่เกี่ยวข้อง