"วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล" เริ่มต้นตั้งแต่น้อยค่อยๆ ปลูกฝัง "นิสัยรักการอ่าน"

ไลฟ์สไตล์
23 เม.ย. 67
09:54
180
Logo Thai PBS
"วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล"  เริ่มต้นตั้งแต่น้อยค่อยๆ ปลูกฝัง "นิสัยรักการอ่าน"
อ่านให้ฟัง
00:00อ่านข่าวให้ฟังโดย Botnoi Voice เว็บแอปพลิเคชันสำหรับสร้างเสียงจากข้อความด้วย AI (Text to Speech)
"หนังสือ" คือสิ่งประดิษฐ์อันสวยงามที่มีพลังมหาศาลในการแบ่งปันความรู้ อย่างไม่แบ่งแยกพรมแดนความเป็นมนุษย์ ไม่มีเส้นกำหนดขีดคั่นเรื่องกาลเวลา ขจัดความยากจนและสร้างสันติภาพ ยูเนสโกได้ประกาศให้วันที่ 23 เม.ย.ของทุกปีเป็น "วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล"

องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก กำหนดให้วันที่ 23 เม.ย.ของทุกปีเป็น "วันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล" เพื่อรำลึกถึงนักเขียนชื่อก้องโลก ทั้ง วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) มีเกล เซร์บันเตส (Miguel Cervantes) และ อินกา กากิลาโซ เด ลา เวกา (Inca Garcilaso de la Vega) ที่เสียชีวิตลงพร้อมกันในวันที่ 23 เม.ย.2159 และวันที่ 23 เม.ย. ยังตรงกับวันเกิดของนักเขียนชื่อดังอีกหลายคน อาทิ โมรีส ดรูอง (Maurice Druon) ฮัลดอร์ ลัคเซส (Halldór Laxness)

วิลเลียม เชกสเปียร์ และ มีเกล เซร์บันเตส นักเขียนชื่อก้องโลก

วิลเลียม เชกสเปียร์ และ มีเกล เซร์บันเตส นักเขียนชื่อก้องโลก

วิลเลียม เชกสเปียร์ และ มีเกล เซร์บันเตส นักเขียนชื่อก้องโลก

ที่ประชุมยูเนสโกที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ.2538 จึงลงฉันทามติกำหนดให้วันที่ 23 เม.ย.ของทุกปี เป็นวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล เพื่อให้ทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของหนังสือ และคุณค่าของการอ่าน ไปพร้อมกับเรียนรู้จากโลกแห่งจินตนาการผ่านตัวหนังสือที่ไม่มีสื่อไหนมาเทียบได้

"รักการอ่าน" นิสัยที่สร้างได้แต่เด็ก

พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องรอให้เด็กๆ เติบโตจนรู้เรื่องราวจึงจะฝึกการอ่านให้ แม้จะยังไม่เข้าใจความหมาย แต่เด็กเล็กจะค่อยๆ เรียนรู้จากสิ่งที่ผู้ใหญ่ป้อนให้ การอ่านหนังสือนิทานรูปภาพให้เด็กฟังก็เป็นอีกหนึ่งวิธีสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดพัฒนาการและยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ อีกมากมาย เช่น เสริมทักษะการพูด เพิ่มทักษะการฟัง การจำ เพิ่มคลังคำศัพท์ กระตุ้นทักษะด้านสังคม อารมณ์ และการคิด

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

เด็กทารกช่วงอายุ 1 ปีแรกนั้นมีพัฒนาการที่รวดเร็ว พ่อแม่ควรเลือกหนังสือให้เหมาะสมกับวัยของลูก เช่น หนังสือที่มีสีสันสดใส หนังสือที่ทำจากวัสดุที่ฉีกขาดได้ยาก ไม่เป็นอันตรายต่อเด็ก มีคำอ่าน เนื้อร้องบทเพลงง่ายๆ ซ้ำไปซ้ำมา

การจะทำให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน พ่อแม่ไม่ควรฝืนใจลูก แต่ควรทำตัวเป็นแบบอย่างเพื่อให้ลูกทำตาม เช่น การทำให้การอ่านเป็นเรื่องสนุก เลียนแบบเสียงตัวละครในหนังสือ ให้รู้สึกตื่นเต้น สนุก ชี้ชวนให้ดูรูปต่างๆ ในหนังสือ เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กัน ผู้ปกครองอาจลองสังเกตว่าเด็กสนใจอะไรเป็นพิเศษแล้วหาหนังสือที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดความสนใจ แม้จะยังไม่เข้าใจความหมาย แต่การชี้ชวนให้ดูรูปภาพไปเรื่อยๆ จะทำให้เด็กๆ ค่อยซึมซับคำศัพท์เก็บเข้าคลังความรู้ของตัวเองได้

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ที่สำคัญ ควรทำให้เป็นกิจวัตร เพื่อให้เด็กได้คุ้นชินและสามารถจัดสรรเวลาให้กับทั้งพ่อแม่และลูก ส่วนคุณพ่อคุณแม่ อย่าขี้เกียจถ้าลูกหยิบหนังสือนิทานเล่มเดิมๆ มาให้อ่านทุกคืนก่อนนอน และไม่ควรสร้างเงื่อนไขหรือบทลงโทษ หากเด็กไม่อยากอ่านหนังสือ แต่ให้ค่อยๆ เชิญชวนและเพิ่มเวลาให้ยาวขึ้นไปเรื่อยๆ 

แพทย์แนะนำว่าไม่ควรให้เด็กอายุน้อยกว่า 2 ขวบ ดูทีวีหรือสื่อจากอุปกรณ์ดิจิทัลใดๆ ยกเว้นเมื่อเป็นการพูดคุยทางวิดีโอที่มีการโต้ตอบจากอีกฝ่าย ส่วนเด็กอายุ 2-5 ปี ควรกำจัดการดูเพียงวันละ 1 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งต้องมีผู้ใหญ่นั่งดูด้วยกันและคอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวละครหรือตัวการ์ตูนที่ไม่เหมาะสม

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

สังคมใดที่มีการอ่านน้อย เมื่อเกิดเรื่องที่ซับซ้อน ก็จะไม่สามารถเข้าใจได้ เมื่อไม่เข้าใจ ก็จะไม่สามารถเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ แก้ไม่ได้ ทำให้สังคมติดขัด และเกิดวิกฤติขึ้นเรื่อยๆ การสร้างวัฒนธรรมการอ่านจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนของสังคมไทย

ความเห็นของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส

สำหรับในวัยผู้ใหญ่นั้น การสร้างนิสัยให้รักการอ่าน ต้องเริ่มอ่านตัวเองให้ออกก่อนว่า สนใจหนังสือประเภทใด แล้วค่อยปรับเปลี่ยน ประยุกต์หาวิธีที่เหมาะสมกับตนเอง 

  1. กำหนดเป้าหมาย นับเป็นการเริ่มต้นที่ดี จะช่วยให้มีทิศทางที่ชัดเจน แต่การบ่มเพาะนิสัยการอ่านไม่ต้องเคร่งเครียดควรกำหนดเป้าหมายที่ทำให้รู้สึกสนุกจะดีกว่า
  2. รายชื่อหนังสือ กำหนดหนังสือที่อยากอ่าน แต่ต้องประเมินด้วยว่าในแต่ละวันจะสามารถอ่านได้กี่หน้า เมื่อครบเดือนจะอ่านได้กี่เล่ม แล้วนำหนังสือที่ตั้งเป้าไว้มาเรียงลำดับการอ่าน กำหนดรายชื่อหนังสือที่จะใช้เวลาอ่านระยะสั้น ระยะยาว 
    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

    ภาพประกอบข่าว

  3. เฉลี่ยวันละประมาณ 20-30 หน้า พยายามสร้างความสม่ำเสมอให้ได้ เพื่อสร้างเป็นนิสัยจนกลายเป็นรูปแบบการดำเนินชีวิตของตัวเอง
  4. กำหนดช่วงเวลาอ่าน เช่น หลังอาบน้ำตอนเย็น ก่อนนอน และต้องกำจัดสิ่งรบกวนอื่นๆ เช่น ปิดทีวี ปิดเสียงแจ้งเตือนในโทรศัพท์ เริ่มต้นอาจใช้เวลาอ่านประมาณ 20-30 นาที เมื่อเวลาผ่านไปจะอ่านหนังสือได้นานขึ้นและกลายเป็นนิสัยการอ่านโดยไม่รู้ตัว
  5. หาหนอนหนังสือตัวอื่นๆ หาแรงสนับสนุนด้วยการพบปะกับกลุ่มที่สนใจการอ่าน หรือแบ่งปันเรื่องราวจากหนังสือที่คุณอ่านให้กับเพื่อนๆ ในกลุ่ม ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ สร้างพฤติกรรมการอ่านอย่างต่อเนื่อง
ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว

ในปี 2567 ออเดรย์ อาซูเลย์ ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกได้กำหนดให้เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส เป็นเมืองหลวงหนังสือโลกในปีนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา "เมืองสตราสบูร์ก" ได้ให้ความสำคัญกับหนังสือ เพื่อรับมือกับความท้าทายด้านความตึงเครียดทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีโครงการต่างๆ เช่น "Reading for the Planet"

เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ยูเนสโกประกาศเป็นเมืองหลวงหนังสือโลกในปี 2567

เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ยูเนสโกประกาศเป็นเมืองหลวงหนังสือโลกในปี 2567

เมืองสตราสบูร์ก ประเทศฝรั่งเศส ยูเนสโกประกาศเป็นเมืองหลวงหนังสือโลกในปี 2567

เมืองนี้เน้นย้ำถึงความสามารถของหนังสือในการส่งเสริมการอภิปราย และการอภิปรายเกี่ยวกับข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อมและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โดยมุ่งเน้นไปที่คนหนุ่มสาวในฐานะตัวแทนของการเปลี่ยนแปลง สตราสบูร์กยังได้รับการยกย่องจากมรดกทางวรรณกรรมและกิจกรรมที่จัดขึ้นโดยเน้นสาขาวิชาศิลปะมากมาย ตั้งแต่ดนตรี ไปจนถึงละครและภาพประกอบ 

ที่มา : พบแพทย์, National Geographic, UNESCO

อ่านข่าวอื่น :

20 ชั่วโมงไฟไหม้โกดังเก็บสารเคมีระยอง ยังคุมเพลิงไม่ได้ 100%

ระวัง! เว็บ-แอปฯ ปลอมหลอกลงทะเบียน K-ETA เข้าเกาหลีใต้

มหาดไทยแจงเหตุอำเภองดทำบัตรประชาชน แค่รอทดสอบมาตรฐาน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง