“สื่อนานาชาติ” ย้ำ สื่อยุคใหม่ต้องช่วยคลี่คลายความขัดแย้งในสังคม

สังคม
29 พ.ค. 55
08:24
23
Logo Thai PBS
“สื่อนานาชาติ” ย้ำ สื่อยุคใหม่ต้องช่วยคลี่คลายความขัดแย้งในสังคม

สื่อนานาชาติ ระบุ สื่อยุคใหม่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานเพื่อช่วยแก้ไขข้อขัดแย้ง ขณะที่อุปกรณ์ไอทีเข้าถึงง่าย-ราคาถูกช่วยให้ประชาชนมีช่องทางในการนำเสนอข้อมูลด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น พร้อมย้ำสื่อมวลชนจำเป็นต้องนำเสนอข้อมูลอีกด้านเพื่อไม่ให้ซ้ำรอยกรณีสงครามอิรัก พร้อมสนับสนุนบทบาทสื่อท้องถิ่นช่วยรายงานสถานการณ์ในประเทศให้สังคมได้รับรู้อย่างชัดเจน

 
 

<"">
  
<"">

ในการประชุมด้านสื่อสารมวลชนเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 9 หรือ Asia Media Summit 2012 ได้มีการเสวนาแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ในการทำข่าวในแต่ละประเทศ หลากหลายภูมิภาค รวมถึงบทบาทของการรายงานข่าวให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ท่ามกลางสื่อต่าง ๆ ที่มีมีเดียแตกต่างกัน โดยเฉพาะอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ อาทิ โทรศัพท์มือถือ ที่เป็นช่องทางใหม่ในการเผยแพร่ข่าวสารซึ่งเป็นรูปแบบที่แพร่หลายในทุกพื้นที่ของโลก โดยเฉพาะเมื่อโลกกำลังเผชิญกับปัญหาอันหลากหลายทั้ง ภัยธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติในมหาสมุทร ไปจนถึงความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในขณะนี้

"ซาเมะห์" ชี้รัฐบาลเผด็จการมักครอบงำสื่อฯ

นายซาเมะห์ เคเดอร์ ผอ.คณะกรรมการโทรคมนาคม ปาเลสไตน์ กล่าวถึงการใช้สื่อในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่สงครามว่า สื่อเป็นหัวใจของข้อขัดแย้งด้วยการที่สื่อพัฒนาไปในหลายรูปแบบ ทั้งเนื้อหา ความเป็นจริง รวมถึงยังเป็นเครื่องมือในการครอบงำ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีความขัดแย้งสูง รัฐบาลเผด็จการมักจะใช้จะควบคุมสื่อ เพื่อครอบงำความคิดประชาชนเนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำมานานและคิดว่า เป็นวิธีเดียวในการควบคุมประชาชน ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

โดยสื่อจำเป็นต้องมีความเป็นกลาง แต่สื่อของรัฐบาลเหล่านี้ไม่มีใครสามารถเข้าแก้ไขสื่อเหล่านี้ได้เลย การอาศัยการใช้ความรุนแรงในห้องเดียววกันกลุ่มที่คิดว่าควบคุมประชาชนได้ โดยในอดีตมีการใช้อย่างกว้างขวาง รูปแบบของสื่อมวลชนในรัฐเผด็จการจะใช้การพูดเกินความจริง การเป็นเจ้าของสื่อนั้นทำให้ระบบเผด็จการแยกออกมา และ กลั่นแกล้งประชาชน การเป็นเจ้าของสื่อเพื่อป้องกันความเห็นของประชาชน สื่อจึงเป็นผู้ก่อให้เกิดข้อขัดแย้ง แต่ในขณะนี้สื่อไม่ได้อยู่ในอาคารต่อไปแล้ว สื่อปรากฎอยู่ในทั้วทุกพื้นที่สื่อจะอยู่ที่ใดก็ได้ที่ประชาชนอยู่ นี่คืออิทธิพลของสื่อมวลชนในอีกมุมหนึ่งพัฒนาไปและช่วยให้เป็นทางออกที่ช่วยให้ประชาชนมีช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลทั้ง ยูทูป โซเชียลมีเดีย ทั้งหลาย

รอง ผอ.ซีซีทีวี ชี้บทบาทสื่อต้องช่วยคลี่คลายวิกฤต

ขณะที่ ริว ชอง ชู จากจีน รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ CCTV กล่าวว่า บทบาทของสื่อมีอิทธิพลในการช่วยเหลือประชาชน คอยเฝ้าระวังการใช้อำนาจ การพัฒนาให้ความรู้ และ ให้ความคิดคน สื่อแหล่งข้อมูลที่สำคัญของประชาชนการทำให้สังคมมีการพัฒนาอย่างดี โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาความขาดแคลนเรื่องสุขภาพอนามัย ความยากจน ไปจนถึงประชาชนชายขอบที่มักถูกละเลยจากรัฐบาล โดยสื่อยังคงต้องพัฒนาการรับรู้ข้อมูลดังกล่าวเพื่อนำเสนอไปสู่การเปลี่ยนแปลงระดับนโยบายจากการกระตุ้นเตือนของสื่อ อาทิ การนำเสนอข่าวโครงการอาหารกลางวันของเด็กประถมบริเวณตะวันตกของประเทศที่ได้รับประทานอาหารโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรายการอาหารเลยเป็นเวลาหลายปีทำให้ขาดสารอาหารในทางโภชนาการ

รวมไปถึงการทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำเสนอทางออกให้กับสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางความขัดแย้งของคู่ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคม โดยสื่อจะต้องมีบทบาทมากกว่าการโจมตีของรัฐบาลกับผู้อยู่ตรงข้าม ซึ่งหากสื่อนำเสนออย่างยุติธรรม และไม่โอนเอียง และมีกฎที่ยึดถืออย่างแท้จริงและต้องรับผิดชอบต่อสังคม จะเป็นการช่วยบรรเทาสถานการณ์ที่ขัดแย้งลงได้ ทั้งจากการเปิดเผยข้อมูล ความเห็นของทั้ง 2 ฝ่ายไปจนถึงความเห็นจากฝ่ายที่ 3 ซึ่งนำไปสู้การคลี่คลายสถานการณ์

"บทบาทของสื่อจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง มันไม่เพียงพอที่จะบอกว่าเป็นกลาง สื่อจะต้องเข้าร่วมอย่างแข็งขันมากขึ้น ป้องกันการบิดเบือนสื่อ สื่อมีทั้งปัญหาและโอกาส และต้องเลือกอย่างชาญฉลาด" รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ CCTV กล่าวทิ้งท้าย

"ซีเอฟไอ" ต้องรายงานรอบด้าน-ป้องกันข้อมูลคลาดเคลื่อน

ขณะที่นายเอเแตง เฟียส ผู้อำนวยการใหญ่ ชาแนล ฟราน หรือ (ซีเอฟไอ) อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงต่งประเทศของฝรั่งเศส  กล่าวว่า จำเป็นต้องตั้งคำถามถึงการนำเสนอข่าวสงคราม และ ข้อขัดแย้งสื่อจะใช้อิทธิพลทางบวกในช่วงที่มีการเกิดข้อขัดแย้งได้อย่างไร รวมไปถึงความขัดแย้งทางการเมืองรวมไปถึงความสำคัญระหว่างสื่อกับนักการเมืองบทบาทของผู้สื่อข่าว สื่อกับผู้ชม

โดยการทำงานของซีเอฟไอนั้นพยายามที่จะมีบทบาทในการสนับสนุนงานด้านสื่อมวลชนในหลายประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่ประสบปัญหาทางการเมือง หรือ ขาดความชำนาญในการทำงานด้านสื่อมวลชน โดยในประเทศ ไอเวอร์รี่โคสต์ ซีเอฟไอ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการการนำเสนอการอภิปรายในการแข่งขันชิงตำแหน่งทางการเมืองในประเทศ แม้ว่าหลังจากนั้นจะเกิดความรุนแรงทั่วประเทศนั้น ซีเอฟไอ ได้สนับสนุนให้สื่อมวลชนประเทศตูนีเซีย เข้าไปทำหน้าที่ซึ่งได้รับการไว้วางใจจากรววมไปถึงกรณีการการฆ่าหมู่ ซึ่งรัฐบาลในแต่ละประเทศจะพยายามบั่นทอนความน่าเชื่อถือ หรือ อย่างเช่น ในกรณีการสร้างรัฐปาเลสไตน์ โดยซีเอฟไอเข้าได้ไปมีส่วนช่วยร่วมองค์กรที่จะจัดสื่อสาธารณะ โดยล่าสุดสัปดาห์ที่แล้วได้สนับสนุนรัฐมนตรีข่าวสารในการอบรมสื่อของลิเบีย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในกรณีที่เสี่ยง อาทิ ในกรณีของสงครามอัฟกันนิสถาน เดิม ซีเอฟไอ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าประจำการเพื่อรายงานสถานการณ์จำนวน 4 คน แต่จากการติดต่อไปยังสถานทูตได้รับคำแนะนำว่า ให้ถอนกำลังสื่อออกมาจากพื้นที่ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ต้องยอมรับ

แต่อย่างไรก็ตาม สื่อยังจำเป็นต้องสร้างการรับรู้อย่างรอบด้านเพื่อมิให้เกิดการรับรู้ที่อาจคลาดเคลื่อนหรือไม่ถูกต้อง หรือ นำไปสู่กรณีที่ยังคงเป็นคำถาม เช่น กรณีสงครามอิรัก ที่สื่อได้นำเสนอว่ามีการผลิตอาวุธนิวเคลียร์และนำไปสู่สงคราม ไปจนถึงกรณีของประเทศลิเบีย ซึ่งกรณีตัวอย่างเหล่านี้ เป็นการตอกย้ำว่าสื่อจำเป็นต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุด  

 


ข่าวที่เกี่ยวข้อง