สธ.แจงปมดราม่าเงินกู้ COVID-19 เพิ่งใช้จริง 5,859 ล้านบาท

สธ.แจงปมดราม่าเงินกู้ COVID-19 เพิ่งใช้จริง 5,859 ล้านบาท

สธ.แจงปมดราม่าเงินกู้ COVID-19 เพิ่งใช้จริง 5,859 ล้านบาท

รูปข่าว : สธ.แจงปมดราม่าเงินกู้ COVID-19 เพิ่งใช้จริง 5,859 ล้านบาท

กระทรวงสาธารณสุข แจงดราม่าใช้เงินกู้แก้ COVID-19 วงเงิน 25,825 ล้านบาท เพื่อใช้ใน 5 โครงการทั้งค่าชดเชยเสี่ยงภัย จัดหายา ฉีดวัคซีน เตรียมสถานที่ รับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน ระบุใช้คุ้มค่า เพิ่งเบิกจ่าย 5,859 ล้านบาทหรือ 33.28 % เหลืองบรอจัดสรร 8,215 ล้านบาท

วันนี้ (26 เม.ย.2564) นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าว่าว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้รับการจัดสรรเงินจาก พ.ร.ก.เงินกู้ COVID-19 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 25,825 ล้านบาท ใช้ใน 39 โครงการโดยเป็นโครงการจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 25,175 ล้านบาท และหน่วยงานนอก ได้แก่ กระทรวงอว.โรงพยาบาลพระมงกุฎ โรงพยาบาลตำรวจสำนักอนามัย กทม. จำนวน 650 ล้านบาท เพื่อดำเนินการใน 5 แผนงาน ดังนี้

  • ค่าเยียวยา ค่าชดเชย ค่าเสี่ยงภัย อสม. 4,726 ล้านบาท
  • จัดหายา วัคซีน ห้องปฏิบัติการ โดยกรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีน 2,655 ล้านบาท
  • การบำบัดรักษา ป้องกัน ควบคุมโรคและการวิจัย โดย สปสช. 6,764 ล้านบาท
  • เตรียมสถานพยาบาลในการรักษาและกักตัวผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อ 10,182 ล้านบาท
  • รับมือสถานการณ์ฉุกเฉินการระบาด 1,496 ล้านบาท

เบิกใช้เงินแล้ว 5,859 ล้านบาท คิดเป็น 33.28 %

นพ.สุระ กล่าวว่า ขณะนี้มีโครงการที่ได้รับการจัดสรรเงินไปแล้ว 13 โครงการ วงเงิน 17,610 ล้านบาท ได้แก่ ค่าบริการสาธารณสุข ค่าตอบแทน อสม.อุปกรณ์ห้องแยกโรค,พัฒนาระบบบริการสุขภาพ จัดซื้อชุด PPE, Isolation Gown, N 95, Mask, วัคซีน COVID-19 วัสดุควบคุมป้องกันโรค, เครื่องฉายรังสีรักษา  พัฒนาห้องปฏิบัติการ เครื่องมือคุณภาพวัคซีน และค่าปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ข้อมูลถึง 16 เม.ย.นี้ ได้เบิกจ่ายไปแล้ว 5,859 ล้านบาท คิดเป็น 33.28 % ทั้งนี้ ยังมีโครงการที่รอจัดสรรอีก 26 โครงการ วงเงิน 8,215 ล้านบาท และมีวงเงินเหลือ 19,174  ล้านบาท

 

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การใช้เงินที่ได้มามีแผนการใช้ชัดเจน ครอบคลุมทุกมิติทั้งการควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาล รวมถึงการวิจัยพัฒนา การจ่ายค่าตอบแทนค่าเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ ทำให้เรามียารักษาโรค มีวัคซีนเพียงพอกับกลุ่มเป้าหมาย มีการเพิ่มเตียง ขยายเตียงรักษาในรูปแบบต่างๆรองรับผู้ป่วย/ผู้ติดเชื้อเหมาะสมกับอาการ เจ้าหน้าที่มีขวัญกำลังใจดูแลประชาชน โดยความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่าย รัฐ เอกชน ประชาชน ที่สำคัญงบประมาณที่นำมาใช้ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์การระบาดของโรค เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลที่ดีที่สุด

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ตายเพิ่ม 8 คนยอดป่วย 2,048 คน-ชงศบค.ยกระดับคุม 6 จว.สีแดง

พยาบาลร่ำไห้ ต้องกักตัว 14 วัน หลังผู้ป่วยโควิดปกปิดข้อมูล

 

 

 

กลับขึ้นด้านบน