ฉากทัศน์ โควิด "ล็อกดาวน์" ต่อ 2 เดือนลดอัตราตาย-ติดเชื้อเพิ่ม

ฉากทัศน์ โควิด "ล็อกดาวน์" ต่อ 2 เดือนลดอัตราตาย-ติดเชื้อเพิ่ม

ฉากทัศน์ โควิด "ล็อกดาวน์" ต่อ 2 เดือนลดอัตราตาย-ติดเชื้อเพิ่ม

รูปข่าว : ฉากทัศน์ โควิด "ล็อกดาวน์" ต่อ 2 เดือนลดอัตราตาย-ติดเชื้อเพิ่ม

ปลัด สธ. เปิดฉากทัศน์สถานการณ์ COVID-19 ระบุโมเดล "ล็อกดาวน์" ในระยะเวลา 1-2 เดือน ควบคู่เร่งฉัดวัคซีนลดจำนวนผู้ป่วยระยะยาว จะทำให้ความชุกของการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่เกินวันละ 1,500 คน และอุบัติการณ์การเสียชีวิตไม่เกินวันละ 200 คน ไปจนถึง ธ.ค.นี้

วันนี้ (30 ก.ค.2564) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)โพสต์เฟซบุ๊ก Kiattibhoom Vongrachit เรื่องการคาดการณ์สถานการณ์การระบาด COVID-19 ของประเทศไทยระหว่างเดือน ส.ค-ธ.ค.นี้ โดยเป็นข้อมูลจากกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ กระทรวงสาธารณสุข

ข้อมูล ระบุสมมติฐานหากแบ่งประเทศเป็น 3 พื้นที่ มีค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ดังนี้

  • กทม.และปริมณฑล 5 จังหวัด จากรายงาน 1.1 แต่ในโมเดลกำหนดให้สูงกว่ารายงานที่ประมาณ 10-30% คือ 1.43  ต่อประชากร 12.2 ล้านคน เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อต่อประชากร 0.5%
  • ชายแดนใต้ 4 จังหวัด และจังหวัดที่ล็อกดาวน์ขณะนี้ (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา) จากรายงาน 1.11 แต่ในโมเดลกำหนดให้สูงกว่ารายงานที่ประมาณ 10-30% คือ  1.45 ต่อประชากร 6.6 ล้านคน เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อต่อประชากร 0.25%
  • จังหวัดอื่นๆ จากรายงาน 1.24 แต่ในโมเดลกำหนดให้สูงกว่ารายงานที่ประมาณ 10-30% คือ  1.35 (แล้วค่อยๆ ลดลงถึง 1.0 ใน 180 วัน) ต่อประชากร 49.3 ล้านคน เปอร์เซ็นต์การติดเชื้อต่อประชากร 0.15%

เปิดสมมติฐานผู้ติดเชื้อในระดับกลุ่มอาการ

ข้อมูลยังระบุถึงสมมติฐานที่ 2 ไว้ดังนี้ หากระยะการฟักตัว 5.2 วัน, ระยะแพร่เชื้อ5 วัน, ระยะเวลารักษา ระดับอาการสีเขียว 10 วัน สีเหลือง 14 วัน สีแดง 21 วัน ซึ่งกำหนดให้การล็อกดาวน์ค่า R 20% และ 25% ตาม Scenario กำหนดให้อุบัติการณ์ผู้เสียชีวิตรายวันมีค่าประมาณ 12% ของความชุกของผู้ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ และหากเร่งฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุ เปอร์เซ็นต์คนใส่ท่อช่วยหายใจและเปอร์เซ็นต์ผู้เสียชีวิตจะค่อยๆ ลดลงครึ่งหนึ่งใน 1 เดือน ดังนี้

  • ระดับอาการสีเขียว มีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างรักษา (ข้อมูล 25 ก.ค.) 67,501 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามค่าความรุนแรงจากรายงาน 42.6% คาดการณ์ว่ามีรายงานต่ำกว่าความจริง จำนวน 6 เท่า ผู้ติดเชื้อจริง 405,006 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามความรุนแรงจากการคาดการณ์ 60.64%
  • ระดับอาการสีเหลือง มีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างรักษา (ข้อมูล 25 ก.ค.) 85,937 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามค่าความรุนแรงจากรายงาน 54.2% คาดการณ์ว่ามีรายงานต่ำกว่าความจริง จำนวน 3 เท่า ผู้ติดเชื้อจริง 257,811 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามความรุนแรงจากการคาดการณ์ 38.60%
  • ระดับอาการสีแดง ไม่ใส่ท่อช่วยหายใจ มีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างรักษา (ข้อมูล 25 ก.ค.) 4,151 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามค่าความรุนแรงจากรายงาน 2.6% คาดการณ์ว่ามีรายงานต่ำกว่าความจริง จำนวน 1 เท่า ผู้ติดเชื้อจริง 4,151 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามความรุนแรงจากการคาดการณ์ 0.62%
  • ระดับอาการแดง ที่ใส่ท่อช่วยหายใจ มีผู้ติดเชื้อที่อยู่ระหว่างรักษา (ข้อมูล 25 ก.ค.) 961 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามค่าความรุนแรงจากรายงาน 0.6% คาดการณ์ว่ามีรายงานต่ำกว่าความจริง จำนวน 1 เท่า ผู้ติดเชื้อจริง 961 คน เปอร์เซ็นต์แยกตามความรุนแรงจากการคาดการณ์ 0.14%

 

Scenario ที่น่าสนใจมีดังนี้

  • หากไม่มีการล็อกดาวน์ (ในเชิงทฤษฎี)
  • สถานการณ์ปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพ 20% นาน 1 เดือน
  • สถานการณ์ปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพ 20% นาน 2 เดือน
  • สถานการณ์ปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพ 25% นาน 1 เดือน
  • สถานการณ์ปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพ 25% นาน 2 เดือน
  • สถานการณ์ปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่าล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพ 25% นาน 2 เดือน ควบคู่เร่งการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุจนถึงเป้าหมายภายใน 1-2 เดือน
ข้อมูลจากการคาดการณ์ผู้ติดเชื้อ COVID-19 จากสถานการณ์จริงกับตัวเลขคาดการณ์จากโมเดล พบว่าหากไม่มีการล็อกดาวน์ จำนวนผู้ติดเชื้อรายวันอยู่ที่ 40,000 คนโดยคาดว่าจะถึงสูงสุดในวันที่ 14 ก.ย.นี้

แต่หากประเทศไทยได้มีมาตรการล็อกดาวน์ ภายใต้มาตรการในปัจจุบันมีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อได้ 20-25% นาน 1 เดือน จำนวนผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่วันละ 30,000 คน โดยตัวเลขสูงสุดจะอยู่ในช่วงต้นเดือนส.ค.นี้ และหากการล็อกดาวน์มีประสิทธิภาพในการลดการติดเชื้อ 20-25% นาน 2 เดือน จำนวนผู้ติดเชื้อจะอยู่ที่วันละ 20,000 คน

สรุปข้อมูลว่า

นโยบายล็อกดาวน์มีผลต่อจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่และผู้เสียชีวิตในระยะสั้นไม่มากนัก แต่ส่งผลต่อจำนวนผู้ป่วย COVID-19 ระยะยาว

นอกจากนี้ หากล็อกดาวน์ (เริ่ม 19 ก.ค.64) คาดว่าจะสามารถชะลอจุดสูงสุดของการใช้ทรัพยากรถึงต้นเดือน ต.ค. และหากล็อกดาวน์ 2 เดือน คาดการณ์ว่าจะสามารถชะลอจุดสูงสุดในการใช้ทรัพยากรถึงปลายเดือน พ.ย.

หากมาตรการล็อกดาวน์ได้ผลมากขึ้น เช่น ช่วยลดค่า R ได้ 20 เป็น 25% น่าจะสามารถชะลอจุดสูงสุดของการใช้ทรัพยากรได้ประมาณ 2 สัปดาห์ แต่ขนาดของการระบาดโดยรวมไม่เปลี่ยนแปลง

มาตรการล็อกดาวน์ได้ผลและร่วมกับมาตรการฉีดวัคผู้สูงอายุได้ผลดี ทำรวดเร็วไม่เกิน 2 เดือนน่าจะช่วยความชุกของการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่เกิน 1,500 คนต่อวัน และอุบัติการณ์เสียชีวิตไม่เกิน 200 คนต่อไปจนถึงเดือน ธ.ค.

 

 

 

 

กลับขึ้นด้านบน