ศูนย์จีโนมตอบทุกคำถามสงสัย "โอมิครอน BA.2"

ศูนย์จีโนมตอบทุกคำถามสงสัย "โอมิครอน BA.2"

ศูนย์จีโนมตอบทุกคำถามสงสัย "โอมิครอน BA.2"

รูปข่าว : ศูนย์จีโนมตอบทุกคำถามสงสัย "โอมิครอน BA.2"

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เคลียร์ 5 คำถามปมโอมิครอน " BA.2" เก่งกว่าสายพันธุ์ BA.1 พบระบาดเร็วกว่า 1.5 เท่า ชี้ปลายเดือนก.พ.นี้เข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดิม

วันนี้ (17 ก.พ.2565) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ Center for Medical Genomics โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเกี่ยวกับโควิดสายพันธุ์ "โอไมครอน" หรือ "โอมิครอน" BA.2 ที่มีประชาชนตั้งคำถามที่สอบถามเข้ามาที่ศูนย์จีโนม เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงนี้ โดยมี 5 ประเด็นที่ทางศูนย์จีโนมตอบข้อสงสัยไว้ 

คำถามที่ 1 "โอไมครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.2 แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า โอมิครอนสายพันธุ์หลัก  หรือไม่

  • ที่เดนมาร์กซึ่งมีการระบาดของโอมิครอนสูงที่สุดในโลกมีรายงานว่า BA.2 แพร่ระบาดได้รวดเร็วกว่า BA.1 ประมาณ 1.5 เท่า

 

คำถาม 2 "โอไมครอน" BA.2 กลายพันธุ์ไปมากน้อยแค่ไหน

  •  BA.1 กลายพันธุ์เฉลี่ย 65 ตำแหน่งต่างจากอู่ฮั่น
  •  BA.2 กลายพันธุ์เฉลี่ย 85 ตำแหน่งต่างจากอู่ฮั่น
  •  การกลายพันธุ์ที่พบเฉพาะใน BA.2 ไม่พบใน BA.1 และ BA.3 มีอยู่ 10 ตำแหน่ง โดย 5 ตำแหน่งอยู่ในส่วนยีน S ที่ควบคุมการสร้างส่วนหนาม
  •  BA.3 กลายพันธุ์เฉลี่ย 60 ตำแหน่งต่างจากอู่ฮั่น

 

 

คำถาม 3: "โอไมครอน" BA.2 ก่อโรครุนแรงมากกว่าโอมิครอนสายพันธุ์อื่นหรือไม่

 

  • • BA.1, BA.2, และ BA.3 พบระบาดครั้งแรกพร้อมกันในแอฟริกาใต้ในราวเดือนพ.ย. 2564 ปัจจุบันมีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงมากจนเข้าสู่ภาวะที่สามารถควบคุมการระบาดได้ ไม่พบผู้ติดเชื้อ BA.1, BA.2 หรือ BA.3 ที่แสดงอาการทางคลินิกแตกต่างกัน นอกจากนี้โอมิครอนสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยยังไม่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง เหมือนกับสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดความกังวลใจ (variants of concern: VOC) อื่นๆ อาทิ สายพันธุ์ อัลฟา เบตา แกมมา เดลตา

 

คำถาม 4: สถานการณ์การระบาดของ "โอไมครอน" "BA.2" ในประเทศไทยเป็นอย่างไร

  • ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ เริ่มตรวจพบ BA.2 บ้าง คาดว่าคงจะเข้ามาแทนที่ BA.1 ในปลายเดือนก.พ.นี้ตาม pattern ของการระบาดที่ปรากฏในต่างประเทศ เช่น เดนมาร์ก แอฟริกาใต้ อังกฤษ และอเมริกา 

คำถาม 5: สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ทั่วโลกเป็นอย่างไร

  • ผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั่วโลกลดลง 19 %
  • ดร. Matshidiso Moeti ผู้อำนวยการด้านแอฟริกาของ WHO กล่าวว่าเริ่มเห็น “แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์” สำหรับทวีปแอฟริกา ที่ถึงแม้อัตราการฉีดวัคซีนจะต่ำ แต่แอฟริกาก็กำลังเปลี่ยนผ่านจากระยะการระบาดใหญ่ของ COVID-19 (Acute Pandemic) เข้าสู่การระบาดที่ที่ระบบสาธารสุขของแอฟริกาใต้สามารถควบคุมและดูแลได้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

โควิดวันนี้ป่วยรายใหม่ 17,349 คน - ATK เป็นบวกอีก 11,969 คน

"หมอธีระ" ระบุวัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันโอมิครอน 2 สายพันธุ์ไม่แตกต่างกัน

 

 

กลับขึ้นด้านบน