"ฝุ่น PM 2.5-น้ำเสีย" แชมป์ปัญหามลพิษเมืองปี 62

"ฝุ่น PM 2.5-น้ำเสีย" แชมป์ปัญหามลพิษเมืองปี 62

"ฝุ่น PM 2.5-น้ำเสีย" แชมป์ปัญหามลพิษเมืองปี 62

รูปข่าว : "ฝุ่น PM 2.5-น้ำเสีย" แชมป์ปัญหามลพิษเมืองปี 62

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) สรุปสถานการณ์มลพิษของไทยปี 2562 พบปัญหาฝุ่น PM 2.5 แชมป์ปัญหามลพิษ รองลงมาปัญหาน้ำเสีย และขยะเพิ่ม เล็งขอความร่วมมือข้าราชการ 150 กรม ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวเฉลี่ยและสลับสัปดาห์ละ 1 ครั้งจับตา 16 ม.ค.ชาวกรุงเตรียมรับฝุ่นอีกระลอก

วันนี้ (14 ม.ค.2563) นายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) แถลงข่าวสรุปสถาน การณ์มลพิษของประเทศไทย ประจำปี 2562 โดยภาพรวมมลพิษที่น่ากังวลเป็นเรื่องฝุ่น PM2.5 ที่ต้องจับตาเฝ้าระวังมากที่สุดเพราะกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และรองลงมาเป็นเรื่องปัญหาน้ำเสีย และปัญหาขยะ ส่วนที่เป็นข่าวดีคือไทยประกาศเลิกการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้วแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งเมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา 

โดยคุณภาพอากาศในพื้นที่ทั่วไปมลพิษหลักที่ยังเป็นปัญหา คือฝุ่นละออง PM 2.5 ฝุ่นละออง PM10 และก๊าซโอโซน มีแนวโน้มเกินค่ามาตรฐานมากกว่าปีที่ผ่านมา ผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศใน 34 จังหวัด ที่มีสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติ มีจำนวนวันในรอบปีที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานมากกว่าร้อยละ 20 ใน 8 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ลำพูน แพร่ ขอนแก่น และสระบุรี

ถึงแม้ในช่วงเดือนม.ค.นี้ฝุ่น PM 2.5 จะเกินมาตรฐานแล้ว 8 วัน ซึ่งถือว่าดีกว่าปีก่อน แต่ช่วงวันที่ 16 ม.ค.นี้ จะมีความกดอากาศต่ำลงมา ทำให้แนวโน้มฝุ่นจะกลับมาสูงขึ้น โดยเฉพาะปัจจัยหลัก 72.5% มาจากยานพาหนะ โดยเป็นภาคขนส่ง 28% ปิกอัพ 21% รถบัส % มอเตอร์ไซด์ รถยนต์ส่วนบุคคล 10%  

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง ฝุ่นกรุงเทพฯ วิกฤตถึงระดับ 4 ชงเสนอยาแรง

ส่วนคุณภาพอากาศในพื้นที่วิกฤต 4 พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่นำไปสู่การยกระดับการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองและการจัดทำแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในกรุงเทพ มหานครและปริมณฑล โดยมีระยะเร่งด่วน ระยะปานกลาง (พ.ศ.2562-2564) และระยะยาว (พ.ศ.2565-2567) รวมถึงการติดตามตรวจสอบและแจ้งเตือนสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 โดย กทม. จะติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในทุกเขตของพื้นที่ กทม.

อยากขอความร่วมมือให้ข้าราชการ 2 ล้านคนใน 150 กรมในกระทรวงต่างๆหันมาใช้รถขนส่งสาธารณะเช่น รถไฟฟ้า รถร่วมสลับกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วันเหมือนที่ทางคพ.ทำอยู่ตอนนี้ เพราะจะเป็นตัวช่วยลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลลงไปได้มาก ซึ่งคาดว่าจะเป็นนำเสนอเป็นมติ ครม.สัปดาห์หน้า

จองเผา-แจ้ง SMS เตือนค่าฝุ่น

นายประลอง กล่าวอีกว่า สำหรับพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ มีจำนวนวันที่ฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานเพิ่มขึ้นจากปี 2561 จาก 34 วัน เป็น 59 วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 73 จุดความร้อนสะสมมีค่าเพิ่มขึ้นจากปี 2561 จาก 4,722 จุด เป็น 10,217 จุด เพิ่มขึ้นร้อยละ 54 และพบค่าปริมาณฝุ่นละออง PM10 สูงสุด เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จาก 233 มคก.ต่อลบ.ม. เป็น 394 มคก.ลบ.ม. ทั้งนี้ การแก้ไขปัญหาหมอกควันภาคเหนือ จะดำเนินการภายใต้ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 โดยกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานหลักให้ผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินการแบบเบ็ดเสร็จ (Single Command) เน้นการป้องกันและเข้าดับไฟให้รวดเร็ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนทางวิชาการ

เตรียมจะมีการแจ้งจองเผาชิงพื้นที่ตามความเหมาะสม รวมทั้งหารือกับเครือข่ายโทรศัพท์ในการใช้ SMS แจ้งเตือนปัญหามลพิษ คาดว่าอาจจะนำร่องในพื้นที่ภาคเหนือก่อน

น้ำเสียยังวิกฤตคุณภาพน้ำเกณฑ์ดีแค่ 2 

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า  ส่วนคุณภาพน้ำ 59 แม่น้ำสายหลัก พบว่า 6 แหล่งน้ำนิ่ง อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ร้อยละ 2 เกณฑ์ดี 32% เกณฑ์พอใช้ 48% และเกณฑ์เสื่อมโทรม 18% แหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก คือ แม่น้ำตาปีตอนบน คุณภาพน้ำผิวดินในแต่ละภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมลงจากปี 2561

โดยภาคกลางมีแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมากกว่าภาคอื่น เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานประเภทแหล่งน้ำผิวดินที่กำหนด มีเพียง 9 แหล่งหรือ 15% ที่เป็นไปตามมาตรฐาน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2553-2562) คุณภาพน้ำของแหล่งน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์พอใช้ถึงดี และไม่มีแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก

นายประลอง กล่าวว่า โดย  5 อันดับแรกของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำดีที่สุดในปี 2562 ได้แก่ แม่น้ำตาปีตอนบน แม่น้ำกก แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำลี้ เพชรบุรีตอนบน และ 5 อันดับแรกของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำเสื่อมโทรม ได้แก่ ลำตะคองตอนล่าง เจ้าพระยาตอนล่าง ท่าจีนตอนล่าง พังราดตอนบน ระยองตอนล่าง

ยอมรับว่าเกณฑ์น้ำดีแค่ 2% ยังถือว่าน่าเป็นห่วง เพราะเป็นแหล่งน้ำผิวดินมีความจำเป็นสำหรับใช้อุปโภคบริโภค อยากให้ปรับจากระดับสีเหลืองคือในเกณฑ์พอใช้ให้ขึ้นเป็นแหล่งน้ำดี โดยเฉพาะภาคกลางที่ไม่มีแหล่งน้ำดี ทั้งที่เป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงภาคกลาง

อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า สาเหตุหลักที่ทำให้แม่น้ำสายหลักมีความเสื่อมโทรม ตอนนี้ระบบการจัดการน้ำเสียชุมชนใน กทม.มีการต่อท่อลงระบบบำบัดเพียงแค่ 10% ส่วนที่เหลือ ตรวจจับการลักลอบปล่อยน้ำเสียจากชุมชน และต่อไปต้องบังคับให้น้ำเสียที่ปล่อยจากอาคารภาครัฐต้องมีคุณภาพดี ซึ่งนายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.อยากให้ท้องถิ่นเข้ามาบริหารจัดการที่ดี และจะเสนอต่อคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เพราะปัญหามีมาก แต่ยังไม่ได้แตะมาก ต่อไปต้องทำเกณฑ์และออกแนวปฏิบัติ

ขยะเพิ่ม 3%-ได้ผลคุมถุงพลาสติก

ส่วนปัญหาขยะมูลฝอย เกิดขึ้นประมาณ 28.7 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 3  โดยขยะมูลฝอยจะถูกคัดแยกที่ ต้นทาง และนำกลับไปใช้ประโยชน์ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ จำนวน 12.6 ล้านตัน หรือร้อยละ 44 ส่วนใหญ่เป็นขยะรีไซเคิลและทำปุ๋ยอินทรีย์  และกำจัดอย่างถูกต้อง 10.3 ล้านตัน ร้อยละ 36 โดยปริมาณขยะมูลฝอยที่ถูกจัดการมีสัดส่วนที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปี 2561 ร้อยละ 11

 

สาเหตุที่ทำให้ปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นมาจากการขยายตัวของชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรแฝงจากแรงงาน การส่งเสริมการท่องเที่ยว และพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนที่นิยมความสะดวกสบายมากขึ้น โดยเฉพาะการส่งสินค้าจากบริการสั่งซื้อออนไลน์สินค้าและบริการสั่งอาหาร ทำให้เกิดปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มมากขึ้น

ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา มีขยะพลาสติกเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 2 ล้านตัน โดยมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณ 0.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้านตัน เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง โดยไม่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งล่าสุดตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.นี้ เป็นครั้งแรกที่ขอความร่วมมือห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อ ตลาดสดในการงดแจกถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เยาวชนแสดงพลัง ทวงถามมาตรการไล่ฝุ่นภาครัฐ

"ภาคเหนือ" ค่าฝุ่น PM2.5 พุ่งสูงเกิน 2 เท่า

 

 

ข่าวล่าสุด

ข่าวล่าสุด

แนะใช้ชุดทดสอบสารหนูภาคสนาม เช็กคุณภาพน้ำ

แนะใช้ชุดทดสอบสารหนูภาคสนาม เช็กคุณภาพน้ำ
สิ่งแวดล้อม
14:30 | 8 เมษายน 2568

แนะใช้ชุดทดสอบสารหนูภาคสนาม เช็กคุณภาพน้ำ

กรมอนามัย แนะประชาชนชุดทดสอบสารหนูภาคสนาม เช็กคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านเพื่อความมั่นใจสารหนูปนเปื้อน พร้อมแนะขั้นตอนปรับปรุงคุณภาพน้ำ

ข่าวดี! รับสงกรานต์ ลูกพญาแร้งตัวที่ 2 ลืมตาดูโลกที่ห้วยขาแข้ง

ข่าวดี! รับสงกรานต์ ลูกพญาแร้งตัวที่ 2 ลืมตาดูโลกที่ห้วยขาแข้ง
สิ่งแวดล้อม
13:35 | 8 เมษายน 2568

ข่าวดี! รับสงกรานต์ ลูกพญาแร้งตัวที่ 2 ลืมตาดูโลกที่ห้วยขาแข้ง

ข่าวดีรับสงกรานต์ "ลูกพญาแร้งตัวที่ 2" ผลงานพ่อป๊อก-แม่มิ่ง ลืมตาดูโลกที่ป่าห้วยขาแข้ง ถือเป็นลูกแร้งที่เกิดในถิ่นกำเนิดหลังสูญพันธุ์นาน 30 ปี

สทนช.ลุย! ประสานเมียนมา-เตือนชาวบ้านอันตรายสารหนูน้ำกก

สทนช.ลุย! ประสานเมียนมา-เตือนชาวบ้านอันตรายสารหนูน้ำกก
สิ่งแวดล้อม
19:41 | 6 เมษายน 2568

สทนช.ลุย! ประสานเมียนมา-เตือนชาวบ้านอันตรายสารหนูน้ำกก

สทนช.ประสานไปยังเมียนมา เพื่อร่วมหาสาเหตุและแผนดำเนินการ หลังพบการปนเปื้อนสารหนูในแม่น้ำกก อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ และเชียงราย ขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจกับชาวบ้าน และงดการใช้น้ำเพื่อความปลอดภัย

แกะรอย "สารหนู-แม่น้ำกก" กรมอนามัยแนะเลี่ยงดื่มใช้น้ำ

แกะรอย "สารหนู-แม่น้ำกก" กรมอนามัยแนะเลี่ยงดื่มใช้น้ำ
สิ่งแวดล้อม
19:25 | 5 เมษายน 2568

แกะรอย "สารหนู-แม่น้ำกก" กรมอนามัยแนะเลี่ยงดื่มใช้น้ำ

แกะรอย "สารหนู-แม่น้ำกก" คาดต้นตอจากเหมืองแร่ทองคำ จากประเทศเมียนมา เทียบภาพถ่ายย้อนหลัง 3 ปีพบเปิดหน้าดินทำเหมืองทอง กรมอนามัย แนะเลี่ยงดื่มใช้น้ำ เสี่ยงสะสมสารหนู-ตะกั่วเป็นโรค มะเร็งผิวหนัง โรคทางระบบประสาท

ฝุ่นเหนืออ่วม PM 2.5 เกินมาตรฐาน 2-3 เท่า 7 วันติด

ฝุ่นเหนืออ่วม PM 2.5 เกินมาตรฐาน 2-3 เท่า 7 วันติด
สิ่งแวดล้อม
14:11 | 5 เมษายน 2568

ฝุ่นเหนืออ่วม PM 2.5 เกินมาตรฐาน 2-3 เท่า 7 วันติด

กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) รายงานฝุ่นเหนืออ่วม PM 2.5 เกินมาตรฐาน 2-3 เท่า 7 วันติดโดยเฉพาะแม่ฮ่องสอนสูงสุด172.2 มคก.ลบ.ม. เชียงใหม่ ติดอันดับคุณภาพอากาศอันตรายอันดับ 9 พบหน้ากาก N95 คนใช้น้อย

แกะรอย! "นายพล" ถือครองที่ดิน ภ.บ.ท.5 ในป่าสงวน 315 ไร่

แกะรอย! "นายพล" ถือครองที่ดิน ภ.บ.ท.5 ในป่าสงวน 315 ไร่
สิ่งแวดล้อม
15:34 | 4 เมษายน 2568

แกะรอย! "นายพล" ถือครองที่ดิน ภ.บ.ท.5 ในป่าสงวน 315 ไร่

เปิดหลักฐานเจอชื่อทหารระดับนายพล ถือครองที่ดิน ภ.บ.ท.5 ในป่าสองข้างทางสายชัยวิบูลย์ 315 ไร่ หลังกรมป่าไม้ล่อซื้อที่ดินจากอดีตผู้ใหญ่บ้าน

หมอสุดยื้อ "ลูกช้างวาสนา" ป่วยเฮอร์ปีส์ไวรัสตาย

หมอสุดยื้อ "ลูกช้างวาสนา" ป่วยเฮอร์ปีส์ไวรัสตาย
สิ่งแวดล้อม
13:52 | 4 เมษายน 2568

หมอสุดยื้อ "ลูกช้างวาสนา" ป่วยเฮอร์ปีส์ไวรัสตาย

"กัญจนา" แจ้งข่าวเศร้า "ลูกช้างวาสนา" ป่วยเฮอร์ปีส์ไวรัสตายแล้ว หลังสัตวแพทย์ รพ.ช้างลำปาง ช่วยกันรักษาอย่างเต็มที่และใช้สเต็มเซลล์ร่วมรักษาเป็นเคสแรกในไทย

ไขคำตอบ 6 หลุมยุบขุนยวม บนแนวรอยเลื่อนมีพลัง

ไขคำตอบ 6 หลุมยุบขุนยวม บนแนวรอยเลื่อนมีพลัง
สิ่งแวดล้อม
13:49 | 4 เมษายน 2568

ไขคำตอบ 6 หลุมยุบขุนยวม บนแนวรอยเลื่อนมีพลัง

นักธรณีวิทยา ลงสำรวจหลุมยุบ 6 หลุมใน อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน หลังแผ่นดินไหวใหญ่ 8.2 เมื่อ 7 วันก่อน ชาวบ้านกังวลไม่กล้าเข้าพื้นที่ เหตุพบอยู่บนแนวรอยเลื่อนมีพลัง

กลับขึ้นด้านบน